ผักก้านตรง
ลักษณะทั่วไป
หน้าตาคล้ายๆ ผักหวานบ้าน มีหลายชื่อแล้วแต่ละท้องถิ่นจะเรียกผักคันทรง ผักก้านตรง ผักก้านถึง เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูงประมาณ 2-3 เมตร กิ่งก้านเล็กกลม สีเขียวใบเดี่ยวเรียงสลับกัน รูปหอกกว้าง 1.5- 2 ซม. 3-4 ซม. ปลายและฐานใบแหลม ขอบใบหยัก เส้นใบมี 3 คู่ ก้านใบยาว 0.5-1 ซม. ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มกว่าด้านล่างดอกขนาดเล็กสีเหลืองปนเขียว กลิ่นหอมอ่อนๆออกตามซอกใบตามกิ่งก้านเรียงเป็นแถว เป็นช่อเล็กๆ ดอกย่อย 8-14 ดอกดอกรูปจาน ดอกบานกว้างประมาณ 0.2-0.3 ซม. ก้านดอกสั้นยาว0.3-0.4 ซม.รูปกลมแป้นสีเขียวเข้ม เส้นผ่าศูนย์กลาง
0.5-0.6 ซม.
การขยายพันธุ์
เมล็ดและปักชำลำต้น ฤดูกาลเก็บส่วนขยายพันธุ์ฤดูหนาว สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต
ขึ้นทั่วไปในป่าดงดิบ ป่าละเมาะตามที่รกร้างและข้างถนนหรือปลูกในบริเวณบ้าน เพื่อใช้รับประทานเป็นผัก
การใช้ประโยชน์
รากผักก้านตงเป็นสมุนไพรที่หมอยาอีสานใช้มากตัวหนึ่ง มีสรรพคุณเย็นแก้พิษร้อนถอนพิษไข้ นิยมใช้ร่วมกันสามสหาย คือ รากย่านาง รากผักหวานบ้านรากผักก้านตง เป็นยาหลักในตำรับยาแก้ไข้ แก้ไข้พิษ ไข้ออกตุ่มต่างๆ
ทางอาหารและทางยาใบอ่อน และยอดอ่อน นำมาต้มให้สุกรับ ประทานเป็นผักจิ้มร่วมกับน้ำพริกปลาร้าหรือน้ำพริกแดง แกงแคร่วมกับผักอื่นๆ แกงกับปลาย่าง
ใบและเปลือกต้มอาบแก้บวมเนื่องจากไตและ หัวใจพิการ แก้น้ำเหลืองเสียแก้เหน็บชา