ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 14° 31' 5.4624"
14.5181840
Longitude : E 100° 33' 41.1538"
100.5614316
No. : 139552
ศูนย์ปฏฺิบัติธรรมวัดตาลเอน
Proposed by. RaNiDa Date 16 June 2012
Approved by. พระนครศรีอยุธยา Date 15 August 2012
Province : Phra Nakhon Si Ayutthaya
0 557
Description

ศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดตาลเอน

อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

วัดตาลเอน ตำบลตาลเอน อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวัด

มหานิกาย ประเภทวัดราษฎร์ ก่อตั้งวัดเมื่อ พ.ศ ๒๓๖๐ และได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๑ เป็นวัดที่สร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีโดยดูจากองค์พระประธานในอุโบสถ วัดตาลเอนเป็นศูนย์กลางในการทำกิจกรรมร่วมกันของชาวบ้าน ปัจจุบันมีพระครูสมุห์ จิรยุทธ์ อธิฉนฺโท เป็นเจ้าอาวาส และมีสำนักปฏิบัติธรรมตามแนวสติปัฎฐาน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้คนหันมาเข้าวัดปฏิบัติธรรมโดยยึดหลักคำสอนของพระ พุทธเจ้า ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่ได้มาปฎิบัติธรรมได้กล่าวว่า "ไม่คิดว่าการปฎิบัติธรรมจะทำให้ชีวิตเปลี่ยนไป และพบกับความสุขทางใจได้ขนาดนี้" ซึ่งทางวัดมีตารางปฏิบัติธรรมดังนี้

ตาราง ปฏิบัติธรรมสำหรับฆราวาส ผู้ปฏิบัติธรรม ณ วัดตาลเอน

๐๓.๓๐ น. ตื่นนอนทำกิจส่วนตัวด้วยสติ
๐๔.๐๐ น. สวดมนต์ทำวัตรเช้า - ปฏิบัติธรรม
๐๖.๔๕ น. รับประทานอาหารเช้าด้วยสติ
๐๘.๐๐ น. พักผ่อนด้วยสติ
๐๘.๓๐ น. ปฏิบัติธรรม
๑๑.๐๐ น. รับประทานอาหาร
๑๒.๓๐ น. ปฏิบัติธรรม
๑๕.๓๐ น. ชำระหนี้สงฆ์ ทำความสะอาดและปัดกวาดลานวัดด้วยสติ
๑๗.๓๐ น. พักดื่มน้ำปานะ
๑๘.๐๐ น. สวดมนต์ทำวัตรเย็น
๑๙.๐๐ น. สอบอารมณ์ - ปฏิบัติธรรม
๒๑.๐๐ น. พักผ่อนในที่พักด้วยสติ

การปฏิบัติธรรมแบ่งออกเป็น ๔ ช่วงในแต่ละวัน ดังนี้

ช่วงแรก ๐๔.๐๐ น. - ๐๖.๓๐ น.
ช่วงที่สอง ๐๘.๓๐ น. - ๑๑.๐๐ น.
ช่วงที่สาม ๑๒.๓๐ น. - ๑๖.๓๐ น .
ช่วงที่สี่ ๑๘.๐๐ น. - ๒๑.๐๐ น.

ขั้นตอนการปฏิบัติ

ให้ผู้ปฏิบัติมาพร้อมกันตามเวลาในการปฏิบัติช่วงแรก ณ สถานที่ปฏิบัติแล้ว หัวหน้า

จุดเทียนธูปบูชาพระรัตนตรัย นำสวดมนต์ กราบพระประธานแล้ว จึงเริ่มปฏิบัติธรรม โดยการเดินจงกรมก่อน ๓๐ นาที แล้วเปลี่ยนอิริยาบถ เข้ามานั่งกรรมฐาน ๓๐ นาที สลับกันไปจนครบเวลาปฏิบัติที่กำหนด ส่วนเวลาในการปฏิบัติ ๓๐ นาทีที่กำหนดให้นี้ ผู้ปฏิบัติอาจปรับให้มากหรือน้อยกว่า ๓๐ นาทีตามความเหมาะสมของสภาวะอารมณ์

• ก่อนถึงเวลาพักทุกช่วงผู้ปฏิบัติธรรมควรอยู่ในอิริยาบถของการนั่งพับเพียบประนม

มือ ทั้งนี้เพราะเมื่อสิ้นสุดการปฏิบัติในแต่ละช่วง จะได้แผ่เมตตาต่อไปได้ โดยไม่เสียสมาธิจิต

• เมื่อแผ่เมตตา (สัพเพ สัตตา....) เสร็จแล้วให้อุทิศส่วนกุศลผลบุญในการปฏิบัติ

ธรรมแก่มารดา บิดา ญาติพี่น้อง เทวดา เปรต และสรรพสัตว์ทั้งหลาย (อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ....) จากนั้นลุกขึ้นนั่งคุกเข่าสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย (อรหัง สัมมาสัมพุทโธ ภควา...) กราบพระประธาน

ขั้นตอนในการปฏิบัติจะเป็นเช่นเดียวกันในทุกช่วง เว้นแต่การจุดเทียนธูปบูชาพระรัตนตรัยในช่วงที่ ๒-๓-๔ ไม่มีเพราะได้บูชาแล้วในช่วงแรก

• การให้ความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติที่มาใหม่ อาจารย์หรือหัวหน้าผู้ได้รับมอบหมาย จะ

เป็นผู้ให้คำแนะนำการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเบื้องต้น ส่วนการทดสอบอารมณ์ตลอดจนความรู้ที่ละเอียดขึ้นพระอาจารย์และพระคุณเจ้าจะเป็นผู้ให้ความรู้หลังจากปฏิบัติธรรม ผู้ปฏิบัติธรรมที่ไม่เข้าใจ หากมีข้อสงสัยใดๆ อาจใช้ช่วงเวลานี้สอบถามขอความรู้ได้

ห้ามคุย บอก หรือถามสภาวะกับผู้ปฏิบัติเพราะจะเป็นภัย แก่ผู้ที่กำลัง

ปฏิบัติทั้งต่อตนเองและผู้อื่น โดยจะทำให้อารมณ์ฟุ้งซ่าน และเพ้อเจ้อ หากมีความสงสัยในข้อวัตรปฏิบัติอย่างไรแล้ว ให้เก็บไว้สอบถามครูผู้สอน ห้ามสอบถามผู้ปฏิบัติด้วยกันเป็นอันขาด

• ถ้ามีความจำเป็นจริง ๆ ก็ให้พูดเบา ๆ ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ แต่ไม่ควรพูด

นาน เพราะจะทำให้ฟุ้งซ่านทั้งผู้พูดและผู้ฟัง และทำให้การปฏิบัติไม่ก้าวหน้า

• ถ้ามีเรื่องจะพูดกันนาน ต้องออกจากห้องกรรมฐานไปพูดในสถานที่อื่น ห้ามใช้

ห้องปฏิบัติรับแขก

• ขณะที่ยังอยู่ในระหว่างการปฏิบัติ ห้ามอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ เรียนหนังสือ

ฟังวิทยุ ดูทีวี ตลอดจนสูบบุหรี่ เคี้ยว หมาก และควรปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด

• ผู้ปฏิบัติฯ จะต้องไม่เสพเครื่องดองของมึนเมา หรือนำยาเสพติดทุกชนิด เข้ามาใน

บริเวณสำนักเป็นอันขาค

นักปฏิบัติต้องระลึกเสมอว่า เรามาปฏิบัติเพื่อยกระดับจิตใจ ขัดเกลากิเลส

ตัณหาให้เบาบางลง มิใช่มาเพื่อหาความสุข ในการอยู่ดี กินดี จึงต้องใช้ความอดทนเป็นพิเศษต่อความไม่สะดวก และสิ่งที่กระทบกระทั่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องทดสอบความอดทนและคุณธรรมของนักปฏิบัติว่ามีอยู่มากน้อยเพียงใด

• นักปฏิบัติต้องเข้าอบรม รับศีล ประชุมพร้อมกันในอุโบสถหรือศาลาที่จัดไว้

ตามความเหมาะสมกับจำนวนนักปฏิบัติในวันพระ

• หากผู้ปฏิบัติเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นให้รีบแจ้งแก่เจ้าหน้าที่โดยเร็ว เพื่อหา

ทางช่วยเหลือตามสมควรแก่กรณี ไม่ควรละการปฏิบัติ ในเมื่อไม่มีความจำเป็น

• ห้องหรือกุฏิที่จัดไว้เป็นห้องปฏิบัติเฉพาะนักปฏิบัติที่เป็นบุรุษก็ดี สตรีก็ดี

ห้ามมิให้เพศตรงข้ามเข้าไปนอน หรือใช้ห้องน้ำ ห้องส้วมนั้นเด็ดขาด

• ผู้ปฏิบัติธรรมควรสังเกตสัญญาณการนั่งการกราบจากอาจารย์ผู้นำ ทั้งนี้เพื่อความ

พร้อมเพรียงเป็นระเบียบและเจริญตาแก่ผู้พบเห็น

• การออกนอกบริเวณสำนักโดยการพิธีทุกครั้ง อาจารย์ผู้ปกครองจะเป็นผู้นำไปทั้ง

ไปและกลับ ให้เดินเป็นแถวตอนเรียงหนึ่ง ตามลำดับอาวุโส ด้วยอาการสงบสำรวม

• นักปฏิบัติฯจะต้องอยู่ในบริเวณที่กำหนดให้เท่านั้น ถ้าไม่มีธุระจำเป็น ไม่ควรออก

นอกสถานที่ปฏิบัติ และถ้ามีธุระจำเป็นจะต้องออกนอกสำนัก ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลเสียก่อน

ขอความร่วมมือได้โปรดช่วยกันรักษาความสะอาดในห้อง หน้าห้อง ห้องน้ำ

ห้องส้วม และขอให้ใช้น้ำ-ไฟอย่างประหยัด

• ไม่ควรเปิดน้ำ ไฟฟ้าและพัดลมทิ้งไว้เมื่อไม่อยู่ในที่พักหรือศาลาปฏิบัติธรรม

• เวลาว่างตอนเช้า ตอนกลางวัน หรือตอนเย็น ผู้ปฏิบัติธรรมอาจใช้เวลาว่าง ทำ

ความสะอาดกวาดลานภายในเขตสำนักและบริเวณที่พัก เพื่อความสะอาดของสถานที่และเจริญสุขภาพของผู้ปฏิบัติ

การรับประทานอาหารมี ๒ เวลา และดื่มน้ำปานะ ๒ เวลา ดังนี้

๐๗.๐๐ น. รับประทานอาหารเช้า
๑๑.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน
๑๗.๓๐ น. ดื่มน้ำปานะ
๒๑.๐๐ น. ดื่มน้ำปานะ

• การรับประทานอาหารและดื่มน้ำปานะทุกครั้ง ผู้ปฏิบัติธรรมต้องมารับประทาน

พร้อมกันตามเวลาที่กำหนด

• เมื่อตักอาหารใส่ภาชนะแล้ว ให้เข้านั่งประจำที่ให้เป็นระเบียบ

• การนั่ง ต้องนั่งชิดด้านในก่อนเสมอ เมื่อเต็มแล้วจึงเริ่มแถวใหม่ต่อไป รอจนพร้อม

เพรียงกัน แล้วหัวหน้าจะกล่าวนำ ขออนุญาตรับประทานอาหาร

• ขณะนั่งรอและรับประทานอาหาร ผู้ปฏิบัติธรรม ไม่ควรคุยกันหรือแสดงอาการใดๆ

ที่ไม่สำรวม

• เมื่อเสร็จจากการรับประทานอาหาร ให้ผู้ปฏิบัติธรรมช่วยกันเก็บกวาดสถานที่

ทำความสะอาดภาชนะ ให้เรียบร้อย

• นักปฏิบัติจะต้องไม่นำของที่มีค่าติดตัวมาด้วย หากสูญหาย ทางสำนักจะไม่รับผิด

ชอบไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น

• นักปฏิบัติจะต้องไม่คะนองกาย วาจา หรือส่งเสียงก่อความรำคาญ หรือพูดคุยกับ

บุคคลอื่นโดยไม่มีความจำเป็น

ถ้ามีผู้มาเยี่ยมจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่เสียก่อน การเยี่ยมนั้นให้แขกคุย

ได้ไม่เกิน ๑๕ นาที ถ้าเป็นแขกต่างเพศ ให้ออกไปคุยข้างนอกสถานที่ปฏิบัติธรรม

Category
Cultural Network
Location
วัดตาลเอน
Moo 1
Tambon ตาลเอน Amphoe Bang Pahan Province Phra Nakhon Si Ayutthaya
Details of access
Reference พระครูสมุห์จิรยุทธ์ อธิฉนฺโท
Organization วัดตาลเอน
Moo 1
Tambon ตาลเอน Amphoe Bang Pahan Province Phra Nakhon Si Ayutthaya ZIP code 13220
Tel. 0 3577 8552
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่