ตะบันหมาก หรือที่ตำหมากเป็นอุปกรณ์หลักในการกินหมากของผู้เฒ่าในสมัยโบราญ ที่นิยมกินหมากกับพลู (และปูนแดง) โดยจะนำใบพลูที่ไม่แก่ หรืออ่อนจนเกินไป มาทาด้วยปูนแดง แล้วกินกับหมากที่หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เคี้ยวด้วยกัน แต่ผู้เฒ่าที่ไม่มีฟันสำหรับเคี้ยวหมาก แต่อยากจะกิน ก็จะใช้ตะบันหมาก หรือที่ตำหมาก ที่เป็นกระบอกทองเหลือง มีวัสดุด้ามยาว ปลายแบนทำหน้าที่คล้ายสิ่ว เอาไว้สำหรับตำลงไปในกระบอกให้แหลกซึ่งภาษาถิ่นใต้เรียกตะบันหมาก ว่า ยอนหมากหรือ ยอนสำหรับวิธีในการยอนหมากของผู้เฒ่านั้น มีสองวิธีคือ ใช้ให้ลูกหลานที่อยู่ใกล้ๆยอนให้ และ วิธีที่สองคือ นั่งขาดสมาธิแล้วหงายฝ่าเท้าซ้ายขึ้น นำยอนที่ใส่หมากพลู เรียบร้อยแล้ว มาวางบนฝ่าเท้าตำจนแหลก ทุกครั้งที่ผู้เฒ่ายอนหมาก(ตำหมาก) จะมีเสียงดัง กุก กุก กุก