ประวัติมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลสนับทึบ อำเภอวังน้อย
ตั้งอยู่เลขที่ ๕๗ หมู่ที่ ๑ ตำบลสนับทึบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยาระหว่าง
กม.๗๓ ๗๔ ถนนพหลโยธิน
วันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย เป็นสถานที่ศึกษาของ
พระภิกษุ สามเณรที่มาจากทุกภาคของประเทศ เริ่มเปิดรับพระภิกษุสามเณรเข้ามาศึกษา
พระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา นักธรรมตรี โท เอก และศึกษาภาษาบาลี มาตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นต้นมา มีพระภิกษุสามเณรเข้ามาศึกษา ณ สถานที่แห่งนี้ ระยะเวลา
๓๒ ปี มีจำนวนมากกว่า ๑๐,๐๐๐ รูป พระภิกษุสามเณรเหล่านี้ ได้สำเร็จการศึกษา เป็นจำนวนมาก
ได้บำเพ็ญประโยชน์แก่พระศาสนาและประเทศชาติเป็นเอนกอนันต์ จนเป็นที่รู้จักดีในวงการ
พระศาสนาตลอดถึงต่างประเทศ
ในปี พ.ศ.๒๕๑๓ นายฉบับ นางสงวน ชูจิตารมย์ ได้ถวายที่ดินจำนวน ๕ แปลง ๆ ละ
๓๖ ไร่เศษ รวม ๑๘๕ ไร่ ตั้งอยู่ ๒ ตำบล คือตำบลชะแมบและตำบลสนับทึบ แด่ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลสังฆปรินายก (อุฎฺฐายีมหาเถร)วัดมกุฏ
กษัตริยาราม เพื่อสร้างวัดชูจิตธรรมาราม
วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๖ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหา
สังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงวางเสาเอก และเริ่มก่อสร้างสถานศึกษาก่อนตั้งเป็นวัดใน
พระพุทธศาสนา โดยจัดตั้งเป็นวิทยาลัยสงฆ์ เรียกว่า วิทยาลัยสงฆ์วังน้อย เปิดรับพระภิกษุ
สามเณรเข้าศึกษา เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นเวลา ๓๒ ปี
มาแล้วปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้ก่อสร้างหอสวดมนต์ อาคารเรียน หอพัก และโรงครัวด้วยไม้
เบญจพรรณ ฝากั้นด้วยหญ้าแฝก หลังคามุงด้วยหญ้าแฝก ได้ใช้มาเป็นระยะเวลา ๓ ปีก็
หมดสภาพ
วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสร็จ
พระราชดำเนิน ไปทรงวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนถาวร ๓ ชั้น กว้าง ๙ เมตร ยาว ๖๘ เมตร ซึ่ง
คุณชิน โสภณพนิช คุณชัยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ บริจาคทรัพย์และดำเนินการก่อสร้างและ
ก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ต่อมาก็เริ่มก่อสร้างที่พักกุฏิอาจารย์ และโรงครัวเป็นการถาวร
ตามลำดับ
วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ
ไปทรงเปิดอาคารเรียน โสภณพานิช เหลืองอมรเลิศ และในศกเดียวกันนี้ สมเด็จพระบรม
โอรสิราชฯสยามบรมราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานพระนามาภิไธย จากวิทยาลัยสงฆ์
วังน้อย ว่า “มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย” กับพระราชทานอักษรพระนามาภิไธยย่อว่า มวก. และ พุทธสุภาษิตว่า วชิรูปมจิตฺโตสิยา (พึงเป็นผู้มีจิตแกร่งประดุจเพชร)
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เริ่มสร้างหอฉัน พร้อมโรงครัว เป็นอาคารคอนกรีตชั้นเดียว กว้าง
๑๒.๐๐ เมตรยาว ๖๐.๐๐ เมตร โดยได้ทุนจากการให้บูชาพระสมเด็จนางพระยา สก.๑,๒๐๐,๐๐๐ บาทเศษ เนื่องจากมีพระภิกษุสามเณรเพิ่มขึ้นตามลำดับ ผู้บริหารหาทุนมาปรับปรุงสถานที่ และ
สิ่งก่อสร้างเป็นอาคารถาวร เพิ่มขึ้นตามลำดับเช่นเดียวกัน มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๔๘ มี
ทั้งสิ้นกว่า ๔๐ รายการ เพื่อรองรับพระภิกษุสามเณรมาจากทุกภาคของประเทศ ซึ่งมียอดสูงสุด ๑,๑๐๐ รูป ทั้งหอพัก ทั้งโรงอาหาร กุฏิพักอาจารย์ ต้องสร้างเพิ่มขึ้นตามลำดับ ส่วนค่าใช้จ่าย
ครู อาจาย์ และเจ้าหน้าที่ได้รับงบประมาณจากสภาการศึกษาฯ บ้าง จากมูลนิธิมหามกุฏราช
วิทยาลัย ทั้งจากมูลนิธิมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (กรมการศาสนาเดิม) และต่อมาทางราชการตราพระราชบัญญัติมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยนอกระบบ อยู่ในกำกับของรัฐ ประกาศใช้วันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ดังนั้น
มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย จึงเป็นวิทยาเขตแห่งที่ ๑ ใน ๗ แห่งของมหาวชิราลงกรณ
ราชวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จัดการเรียนการสอนระดับปรัญญาตรี นับแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๓