ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 48' 56.9999"
15.8158333
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 35' 55"
102.5986111
เลขที่ : 140788
ความเชื่อเกี่ยวกับต้นทับทิม
เสนอโดย suwanna_ood วันที่ 25 มิถุนายน 2555
อนุมัติโดย วันที่ 25 มิถุนายน 2555
จังหวัด : ขอนแก่น
1 574
รายละเอียด

ทับทิมชื่ออื่น ๆ: พิลา (หนองคาย) พิลาขาว มะก่องแก้ว (น่าน) มะเก๊าะ (เหนือ) หมากจัง (แม่ฮ่องสอน) ทับทิมมีถิ่นกำเนิดจากตะวันออกของประเทศอิหร่านทางตอนใต้ของอัฟกานิสถานและทางตอนเหนือของเทือกเขาหิมาลัยทับทิมจึงชอบอากาศหนาวเย็นและอยู่บนพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะอย่างน้อย 300 เมตรยิ่งอากาศหนาวเนื้อทับทิมจะมีสีแดงเข้มมากขึ้น เป็นไม้ยืนต้น หรือพรรณไม้พุ่ม ขนาดเล็ก ลักษณะผิวเปลือกลำต้นเป็นสีเทา ส่วนที่เป็นกิ่งหรือยอดอ่อนจะเป็นเหลี่ยม หรือ มีหนามแหลมยาวขึ้นใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปยาวรี โคนใบมน แคบ ส่วนปลายใบเรียวแหลมสั้น ผิวหลังใบ เกลี้ยงเป็นมัน ใต้ท้องใบจะเห็นเส้นใบได้ชัด ขนาดของใบกว้างประมาณ 1 - 1.8 ซม.ยาว ประมาณ 2.5 - 6 ซม.ดอก ดอกออกเป็นช่อ หรืออาจจะเป็น ดอกเดียว ในบริเวณปลายยอด หรือง่ามกิ่ง ลักษณะของดอกมีเป็น สีส้ม สีขาว หรือสีแดง ดอกหนึ่งมีกลีบดอกประมาณ 6 กลีบ ปลายกลีบ ดอกจะแยกออกจากกัน ตรงกลางดอกมีเกสร ตัวเมีย และตัวผู้ซึ่งมีอับเรณูเป็นสีเหลือง ขนาดของดอกบานเต็มที่มีเส้นผ้าศูนย์กลางประมาณ 2 - 3 ซม.ผลมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้าง กลม ผิวเปลือกนอกหนาเกลี้ยง ผลเมื่อแก่หรือ สุกเต็มที่มีสีเหลืองปนแดง และลักษณะของผล จะแตก หรืออ้างออก ข้างในผลก็จะมีเมล็ดเป็น จำนวนมาก เป็นรูปเหลี่ยม มีสีชมพูสด ดอก ดอกออกเป็นช่อ หรืออาจจะเป็น ดอกเดียว ในบริเวณปลายยอด หรือง่ามกิ่ง ลักษณะของดอกมีเป็น สีส้ม สีขาว หรือสีแดง ดอกหนึ่งมีกลีบดอกประมาณ 6 กลีบ ปลายกลีบ ดอกจะแยกออกจากกัน ตรงกลางดอกมีเกสร ตัวเมีย และตัวผู้ซึ่งมีอับเรณูเป็นสีเหลือง ขนาดของดอกบานเต็มที่มีเส้นผ้าศูนย์กลางประมาณ 2 - 3 ซม.ผลมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้าง กลม ผิวเปลือกนอกหนาเกลี้ยง ผลเมื่อแก่หรือ สุกเต็มที่มีสีเหลืองปนแดง และลักษณะของผล จะแตก หรืออ้างออก ข้างในผลก็จะมีเมล็ดเป็น จำนวนมาก เป็นรูปเหลี่ยม มีสีชมพูสด

ประโยชน์ผลทับทิมใช้รับประทานเป็นผลไม้มีรสหวานหรือเปรี้ยวอมหวาน ทับทิมเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ น้ำทับทิมมีวิตามินซีสูงและยังมีสารเกลือแร่ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายในปริมาณที่สูงเหมาะสำหรับการดื่มเพื่อเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย สารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดและมีประสิทธิภาพสูงมากสามารถลดภาวะการแข็งตัวของเลือดจากไขมันในเลือดสูง บรรเทาโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง ช่วยเพิ่มพลังและความงาม ดื่มน้ำทับทิมคั้นวันละแก้วจะช่วยส่งเสริมการทำงานของหลอดเลือด ลดการแข็งตัวของหลอดเลือดแดงและช่วยเสริมสุขภาพของหัวใจให้ดีขึ้น เปลือกทับทิมรักษาโรคท้องเดินและโรคบิด จากการศึกษาวิจัยพบว่าในเปลือกทับทิมมีสารในกลุ่มแทนนินสูง 22 - 25 % โดยประกอบด้วยสารแทนนินในกลุ่ม มี Gallotannin เปลือกทับทิมตากแห้งใช้เป็นยาแก้ท้องเดินและโรคบิดได้ นอกจากนี้ยังพบสารแทนนินในกลุ่ม Ellagictannin ในปริมาณสูง สารในกลุ่มนี้มีคุณสมบัติเป็นตัวต้านอนุมูลอิสระที่ดี โดยมีสรรพคุณลดอาการอักเสบ ทั้งยังมีฤทธิ์ต่อต้านมะเร็งกว่า 13 ชนิด ไม่ให้เพิ่มจำนวนขึ้น เช่นมะเร็งผิวหนังมะเร็งลำไส้มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งตับ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่ามีคุณสมบัติในการทำลายเซลล์มะเร็งหลอดอาหาร และลำไส้ใหญ่ ซึ่งพบว่าการให้กรดเอลลาจิกกับสัตว์ทดลอง สารดังกล่าวจะไปเร่งการเจริญของเซลล์มะเร็งแบบอะมอพโดซีส (Amoptosis) ทำให้เซลล์มะเร็งถูกทำลายโดยกลไกการแตกตัวของตัวมันเองได้

ความเชื่อทับทิมเป็นผลไม้มงคลของจีน กิ่งใบทับทิมเป็นใบไม้สิริมงคลที่ใช้ทุกงานที่มีน้ำมนต์ประกอบพิธี โดยจะใช้พรมน้ำมนต์และ มีไว้ติดตัวเพื่อคุ้มครองกันภัย มีเรื่องเล่าว่า เพราะเป็นพันธุ์ไม้ที่ถูกนำมาเผยแพร่ในเมืองจีนพร้อมกับพระพุทธศาสนา ซึ่งประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า "พระถังซัมจั๋ง" ได้ไปอาราธนาพระไตรปิฎกที่อินเดีย ท่านได้นำพันธุ์ไม้ต่างๆ มาด้วย และหนึ่งในนั้นก็คือทับทิม ด้วยความที่ทับทิมมีเมล็ดมาก จึงสื่อความหมายถึงการ ให้มีลูกชายมาก ๆ

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
เลขที่ 1/69 หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน ศุภสิทธิ์อุทิศ
ตำบล เมืองพล อำเภอ พล จังหวัด ขอนแก่น
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอพล
บุคคลอ้างอิง สุวรรณา มานิตย์ศิริกุล อีเมล์ thiraphat2546@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สนง.วธ.อำเภอพล
เลขที่ - ซอย - ถนน พลรัตน์
ตำบล เมืองพล อำเภอ พล จังหวัด ขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40120
โทรศัพท์ 081-8719462
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่