วัดพระธาตุสองพี่น้อง
ตำบลเวียงเขต ๒อำเภอเชียงแสนจังหวัดเชียงราย
************
๑.ที่ตั้ง
ตั้งอยู่ที่บ้าน เชียงแสนน้อย หมู่ที่ ๗ ตำบลวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
อาณาเขตทิศเหนือ จดแม่น้ำโขง ทิศใต้ จดถนนสายเชียงแสน - เชียงของ
ทิศตะวันออก จดถนนสาธารณะ ทิศตะวันตก จดที่เอกชน
เอกสารสิทธิ์โฉนดที่ดิน (น.ส.๔ จ.) เลขที่ ๑๖๒๖๒ เล่ม ๑๖๓ หน้าที่ ๖๒
และหนังสือรับรองสภาพวัด ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๔๕
๒.ประวัติย่อ
วัดพระธาตุสองพี่น้อง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๑๓๐๑ อยู่เลขที่ ๗๐ ถนน เชียงแสน – เชียงของ หมู่ที่ ๗ ชื่อหมู่บ้าน บ้านเชียงแสนน้อย มีเนื้อที่ทั้งหมด ๑๕ ไร่ - งาน ๒ ตารางวา สิ่งที่สำคัญภายในวัด ได้แก่ พระพุทธรูปปูนปั้น ๑ องค์ พระเจดีย์ที่เก่าแก่ ๒ องค์ ทิศตะวันแกติดซอยหมู่บ้าน ทิศตะวันตกติดที่เอกชน ทิศเหนือจดแม่น้ำโขง ทิศใต้จดถนนสายเชียงแสน – เชียงของ วัดพระธาตุสองพี่น้อง วัดพระธาตุสองพี่น้อง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและโบราณสถานสำคัญของ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ปัจจุบันอยู่ภายในวัดพระธาตุสองพี่น้องนอกเมืองเชียงแสน จ.เชียงราย บริเวณนี้เรียกว่าเชียงแสนน้อย ซึ่งเป็นกลุ่มโบราณสถานนอกกำแพงเมืองเก่า ที่ตั้งของวัดพระธาตุสองพี่น้อง บ้านเชียงแสนน้อย ต.เวียง อ.เชียงแสน ห่างตัวเมืองเชียงแสน ๗ กม.สถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจพระธาตุเจดีย์หมายเลขหนึ่ง มีเจดีย์ทรงปราสาทสององค์อยู่คู่กัน เรือนธาตุมีซุ้มจระนำสี่ด้านประดับลายปูนปั้นบนฐานปัทม์ มีชั้นมาลัยเถาแปดเหลี่ยม เจดีย์ทั้งสี่มุมด้านบนเป็นระฆังทรงกลม ได้รับแบบแผนจากเจดีย์เชียงใหม่ยัน จ.ลำพูน ทิศตะวันออกของเจดีย์เป็นวิหารแบบล้านนา กว้าง ๑๓ ม.ยาว ๑๖ ม. ตามตำนานกล่าวว่า พระเจดีย์องค์ที่สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิของพระยาคำฟู (พ.ศ.๑๘๘๑ – ๑๘๘๘)ส่วนพื้นที่นี้พญาแสนภูทรงให้สร้างเมืองเวียง ปรึกษาเพื่อหาทำเลที่สร้างเมืองแห่งใหม่ (เมืองเชียงแสน) ยังปรากฏร่องรอยกำแพงเมืองคูเมือง และวัดร้างอยู่จำนวนหนึ่ง ภายในเมืองพบโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่ง แต่เดิมเคยเรียกกันว่า เจดีย์พระธาตุบำเหมือดเชียงแสนน้อย ต่อมาเปลี่ยนเป็นเรียกเจดีย์พระธาตุสองพี่น้อง คงเนื่องมาจากมีเจดีย์สององค์ตั้งอยู่ใกล้กัน โบราณสถานแห่งนี้ไม่ปรากฏหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรทางด้านประวัติการก่อสร้างโดยตรงรูปแบบของสถาปัตยกรรมองค์พี่เป็นเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอด อันมีแบบแผนเดียวกันกับเจดีย์ประธานวัดป่าสัก เมืองเชียงแสน เจดีย์องค์นี้ถูกกำหนดอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ หลักฐานทางด้านศิลปกรรมและด้านโบราณคดี แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับการตั้งเมืองเชียงแสน อันสอดคล้องกับเรื่องราวในพงศาวดารที่กล่าวถึงพญาแสนภูได้เดินทางล่องมาตามลำน้ำกก ถึงลำน้ำโขงและตั้งมั่นเอาชัยที่เวียงเปิกสา ก่อนเดินทางเข้าเมืองเชียงแสน รวมถึงเรื่องเล่าที่ว่าเจดีย์องค์นี้อาจเป็นเจดีย์ที่บรรจุอัฐิของพญาคำฟูและพระยาแสนภู จึงได้กลายเป็นพระธาตุสองพี่น้องหรือเจดีย์สองพี่น้อง
๓. สิ่งก่อสร้างภายในวัด
- พระวิหาร - ศาลาการเปรียญ - กุฎีสงฆ์ - ห้องน้ำ-ห้องสุขา
- โรงครัว - ห้องพัสดุ
๔.โบราณสถาน/ โบราณวัตถุที่สำคัญของวัด
มีโบราณวัตถุพระพุทธรูปปูนปั้น ๑ องค์ และเจดีย์ที่เก่าแก่ ๒ องค์ ศิลปล้านนา
๕. ลำดับเจ้าอาวาส
๑. พระคำฟู ๒. พระสวัสดิ์
๓. พระสมัย ๔. พระสมเพชร
๕. พระอธิการเกษม โพธิสาโร ๖. พระสมเพชร
๗. พระครูสุนทรวุฒิกิจ จ.ต.เป็นรักษาการ
๘. พระภักดี คุณวีโร ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ จนถึงปัจจุบัน