เส้นหมี่ตะคุ "ตะคุ" เป็นชื่อตำบล อยู่ที่บ้านตะคุ ต.ตะคุ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา
เส้นหมี่ตะคุ เป็นอาหารท้องถิ่น พื้นบ้าน แปรรูปมาจากข้าวสาร มีลักษณะคล้ายเส้นก๋วยเตี๋ยว แต่เส้นบางกว่า จึงมีลักษณะพิเศษคือ เส้นเหนียว-นุ่ม-เส้นสวย เดิมที่อาชีพการทำเส้นหมี่ เป็นอาชีพของคนจีนที่ได้ย้ายเข้ามาอยุ่เมืองไทย และได้เข้ามาอยู่ที่บ้านตะคุและการนั้น ปู่พิม-ย่าจัด สาโท ได้แบ่งที่ให้เขาอยุ่ ทำมาหากิน ซึ่งเขาเองก็ทำมาหากินด้วยอาชีพทำเส้นหมี่ขายโดยมีปู่กับย่าช่วยทำ แล้วอาศัยการหาบเดินจากบ้านตะคุไปขายที่ตลาด อ.ปักธงชัย โดยทำเส้นหมี่ขายแบ่งนี้จึงมีการเอ่ย หมี่มาจากตะคุจึงมีชื่อติดปากมีชื่อเสียง "หมี่ตะคุ" ความการนั้นเขาคนจีนจึงได้หาแหล่งทำเลที่อยู่จึงได้ออกไปขายมรตัวอำเภอ จึงได้ทิ้งอาชีพนี้คือทำเส้นหมี่ตะคุไว้กับปู่พิม-ย่าจัด สาโทโดยทำค้าอาชีพเลี้ยงครอบครัวมาตลอด ครอบครับของปู่พิม-ย่าจัด สาโท มีลูด้วยกัน ๙ คน และก็ได้แยกครอบครัวออกมาก็ยึดเลี้ยงครอบครัวมาตลอดด้วยอาชีพทำเส้นหมี่กันทุดคน ๑ ใน ๙ คนได้ค้นคว้าหาเครื่องจักรและเชื้อเพลิงที่ทันสมัยกับท้องถิ่น ด้วยความที่ผ่านอุปสรรคต่าง ไ จึงนำสิ่งเหล่านั้นมาเป็นบทเรียนและประยุกต์ใช้ และได้ก่อตั้งโรงงานหมี่ตะคุปักธงชัยขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๐ สืบทอดตามภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ยังคงเหลือผสมผสานไว้ในตัวจนปัจจุบัน จังหวัดไหล้เคียงและภูมิภาครู้จัก "หมี่ตะคุ" หรือมี่โคราช ในในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้พัฒนาให้มีเส้นหมี่พร้อมน้ำผัดที่สะอาด ทันสมัย โดยใช้ตราแม่นางตุ้ย สีดาจันทร์
หมี่ตะคุแม่นางตุ้ย สายฝน สีดาจันทร์ ใบอนุญาตเลขที่ผลิดอาหาร ๓๐-๒-๐๔๔๕๔
เลขที่ อย. ๓๐-๒-๐๔๔๕๔-๒-๐๐๐๑