ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 7° 5' 40.7458"
7.0946516
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 28' 12.4594"
100.4701276
เลขที่ : 142113
อุโบสถวัดนารังนก
เสนอโดย สงขลา วันที่ 29 มิถุนายน 2555
อนุมัติโดย สงขลา วันที่ 12 กรกฎาคม 2555
จังหวัด : สงขลา
1 600
รายละเอียด

อุโบสถ (วัดนารังนก) สร้างเมื่อใดไม่ปรากฏ แต่ในอดีตพระอุโบสถวัดนารังนก สร้างโดยใช้หลังคามุงด้วยสังกะสี ต่อมามุงด้วยกระเบื้องดินเผาต่างบางๆ ตามลำดับมาสมัยหลวงพ่อยก ธมมฺทินโน ได้เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัด ได้เริ่มสร้างอุโบสถหลังปัจจุบัน กว้าง 9เมตร ยาว18เมตร สูง21เมตร หลังคา2ชั้น สถาปัตยกรรมอลังการ และงดงามแบบศิลปวัฒนธรรมแถวตะวันตก (ยุโรป) ถ้าเทียบเท่าในสมัยปัจจุบันของไทย เทียบได้ในสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้ลงรากฐานด้วยก้อนหินแท่งเกาะยอ แท่งใหญ่ ๆ สมัยนั้นยังไม่มีรถและสะพานพลเอกเปรมที่ต้องใช้เรือเป็นพาหนะ ด้วยแรงกายของพระเณร พายเรือไปเอาเป็นแรมเดือนพอเต็มลำเรือ จึงกลับมาก่อสร้างโบสถ์ต่อ ด้วยความลำบากยากเย็นด้วยความเพียร มีวิริยะ อุตส่าห์ด้วยแรงคนจึงได้สำเร็จเป็นรูปร่างโบสถ์ให้เห็นถึงปัจจุบันนี้ หล่อด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหลังไม่เคยก่ออิฐแม้แต่ก้อนเดียว ไม่เคยใช้สายล่อฟ้า แต่ฟ้าไม่เคยผ่า เพราะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อาถรรพณ์ และมหัศจรรย์ เพราะมีบารมีหลวงพ่อลิ้นดำคอยปกป้องรักษาตลอดเวลา และคุ้มครองภัยอันตรายต่างๆ บางคืนมีประชาชนขี่รถผ่านไปผ่านมา มองเห็นเป็นมังกรไฟพาดหลังคาโบสถ์เป็นแสงสว่างไสวเท่าต้นตาล ในสมัย พระอธิการแก้ว เป็นเจ้าอาวาสได้ทำไว้บางส่วน เช่น ตัวอาคาร มุงหลังคา เทพื้น หล่อฝาผนัง สมัยพระครูสิริเขมากร เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ได้ทำช่อฟ้าใบระกาหน้าบันฐานพระประธาน ฉาบผิวด้านใน เขียนภาพพุทธประวัติบนฝาผนัง ทำสี ติดตั้งไฟฟ้า ใส่ประตู หน้าต่าง อุโบสถวัดนารังนกมีจุดเด่น คือ มีลวดลายประดับปูนปั้นรูปเทพพนมล้อมรอบด้วยลายกนก อยู่บริเวณหน้าบัน ผนังอุโบสถ วาดภาพจิตรกรรมชุดพุทธประวัติ ปัจจุบันยังมีการบูรูณะปฏิสังขรณ์อยู่อีกจำนวนมาก วัดนารังนก ได้รับวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.2387

หมวดหมู่
โบราณสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดนารังนก
เลขที่ 46 หมู่ที่/หมู่บ้าน 6
ตำบล แม่ทอม อำเภอ บางกล่ำ จังหวัด สงขลา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
พระชายโชติโก
บุคคลอ้างอิง นางบุญญา โสพิกุล
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา
เลขที่ 10/1 ถนน สุขุม
ตำบล บ่อยาง อำเภอ เมืองสงขลา จังหวัด สงขลา รหัสไปรษณีย์ 90000
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่