ภาษาไทยยวน คือ คำที่ใช้เรียกภาษาที่ใช้พูดกันในหมู่ ผู้คนที่อยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เดียวกัน โดยภาษาถิ่นยังคงใช้ศัพท์ ไวยากรณ์ ที่สอดคล้องกัน ภาษาถิ่นที่หลากหลาย และจะมีเอกลักษณ์ทางภาษาของตนด้วย ภาษาถิ่นนั้นเป็นเรื่องของภาษาพูด หรือภาษาท่าทางมากกว่า เสน่ห์ที่สำคัญของภาษาถิ่น นอกจากจะใช้สื่อความหมายกับบุคลที่อยู่ในท้องถิ่นกันให้เข้าใจ ภาษาถิ่นยังมีความโดดเด่นในการช่วยรักษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ของท้องถิ่นนั้นด้วย
เป็นภาษาถิ่นของคนในอาณาจักรลานนากลุ่มหนึ่ง เทียบได้กับภาษาคนเมือง(คำเมือง) หรือภาษาพายัพ แต่เนื่องจากกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยยวนราชบุรี ได้อพยพจากถิ่นฐานเดิมทางภาคเหนือ มานานกว่า 200 ปี
มีลูกหลานสืบตระกูลมาหลายชั่วอายุคน ภาษาที่เคยใช้แต่เดิม และสภาพแวดล้อมใหม่ๆ รวมทั้งระบบการศึกษาทำให้ลูกหลานไทยยวนรุ่นใหม่ ใช้ภาษาแบบของบรรพบุรุษน้อยลง แต่ผู้สูงอายุชาวไทยยวนราชบุรี ในหลายชุมชนยังสื่อสารกันด้วยภาษาไทยยวนเป็นปรกติวิสัย เมื่อมีแขกต่างท้องถิ่นเข้าไปในชุมชน หรือหมู่บ้านจะสื่อสารภาษากลาง แต่ก็ยังมีสำเนียงน้ำเสียงแบบไทยยวนปะปนอยู่ ถือเป็นเสน่ห์สีสันของชาวท้องถิ่น ส่วนตัวหนังสือแบบไทยยวน ก็จะพบเห็นได้ตามคัมภีร์ใบลานเก่าที่อยู่ตามวัดในชุมชนไทยยวน