ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 19° 9' 6.0368"
19.1516769
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 55' 10.4732"
98.9195759
เลขที่ : 143006
ประเพณีปอยล้อ
เสนอโดย PISSAAMAI วันที่ 3 กรกฎาคม 2555
อนุมัติโดย เชียงใหม่ วันที่ 5 กรกฎาคม 2555
จังหวัด : เชียงใหม่
0 922
รายละเอียด

เดิมคำว่าปอยคืองานทำบุญใหญ่ของวัด ล้อ คือการนำขอนไม้ที่ตัดมาไว้สำหรับหนุนเพื่อเคลื่อนย้ายศพพระสงฆ์ นิยมนำต้นตาล หรือต้นมะพร้าวที่มีในชุมชน เพื่อให้อุบาสก อุบาสิกา ประชาชนได้ชักลาก ดังนั้น ปอยล้อ จึงเป็นภาษาถิ่นของเมืองเหนือ ซึ่งอำเภอแม่แตงมีจำนวน ๑๓ ตำบล ๑๒๐ หมู่บ้าน มีวัดที่ถูกต้องรวมทุกตำบล๑๓๐ แห่ง และประชากร ๘ หมื่นกว่าคน นับถือศาสนาพุทธมากกว่าร้อยละ ๘๐ นอกนั้นเป็นศาสนาคริสต์จึงยังยึดถือประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่นมาแต่เดิม ปอยล้อ คือภาษาถิ่นที่คนเชียงใหม่ใช้พูดกัน ถ้าจะมีงานประชุมเพลิงศพพระสงฆ์หรือพระสังฆาธิการของวัดในพื้นที่ ซึ่งมักจะจัดหลังจากหมดฤดูฝน หรือก่อนถึงประเพณีปอยหลวง (เป็นภาษาถิ่น หมายถึงงานประเพณีสมโภชเสนาสนะของวัด) ซึ่งคนล้านนาถือว่า ถ้าได้ไปทำบุญและร่วมงานปอยล้อแล้ว จะได้รับผลบุญในภายภาคหน้ามาก จะได้เกาะชายผ้าเหลือง เพราะก่อนถึงการประกอบพิธีสงฆ์ของงานจะมีการทำบุญตานหลัว (ฟืนเป็นท่อนๆขนาดไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป) สำหรับสุมเป็นกองเพลิงก่อนประชุมเพลิง จะมีคนร่วมงานแต่ละงานไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ -๒,๐๐๐ คน

สถานที่ตั้ง
วัดในอำเภอแม่แตง
ตำบล แม่แตง อำเภอ แม่แตง จังหวัด เชียงใหม่
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นาง พิสมัย มงคล
บุคคลอ้างอิง นางพิสมัย มงคล
ชื่อที่ทำงาน สนง.วัฒนธรรม อ.แม่แตง
เลขที่ ที่ว่าการ ถนน เชียงใหม่-ฝาง
ตำบล สันมหาพน อำเภอ แม่แตง จังหวัด เชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50150
โทรศัพท์ 0818741261
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่