ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 14° 12' 13"
14.2036111
Longitude : E 101° 13' 1.9999"
101.2172222
No. : 143746
วัดใหญ่ทักขิณาราม อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
Proposed by. นครนายก Date 6 July 2012
Approved by. นครนายก Date 6 July 2012
Province : Nakhon Nayok
1 5265
Description

ประวัติความเป็นมา(เช่นความเป็นมา,สถานที่ค้นพบ,ตำนานที่ค้นพบ) เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในจังหวัดนครนายก (จากหนังสืออ้างอิงพระพุทธศาสนาในเอเชียโดยพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตโต) และบันทึกสยามท้าวสุรนารี โดยพลาดิสัย สิทธิธัญกิจ) กล่าวไว้ว่า กรุงศรีสัตนาคนหุตหรืออาณาจักรล้านช้างได้แก่ประเทศลาวขณะนั้นมีนครหลวงพระบางเป็นเมืองหลวง ต่อมาได้ย้ายเมืองหลวงมาสร้างใหม่อยู่ที่นครเวียงจันทน์ ทั้งสองเมืองมีกษัตริย์เป็นผู้ปกครอง เมืองหลวงพระบางได้แก่พระเจ้าสุริยวงศาเป็นผู้ปกครอง ส่วนนครเวียงจันทน์นั้นได้แก่พระเจ้าศิริบุญสารเป็นผู้ปกครอง ทั้งสองเมืองนี้ต่างก็ระแวงซึ่งกันและกันและคอยจ้องหาโอกาสแย่งชิงอำนาจกัน ต่อมาพระเจ้าสุริยวงศาได้ยกกองทัพมาตีนครเวียงจันทน์และล้อมเมืองอยู่ประมาณ ๒ เดือนเศษ กองทัพนครเวียงจันทน์ไม่สามารถต้านทานได้พระเจ้าศิริบุญสารจึงมีหนังสือไปขอพม่ามาช่วยรบ กองทัพหลวงพระบางไม่สามารถตีนครเวียงจันทน์ให้สำเร็จได้ จึงถอยทัพกลับไปยังหลวงพระบาง ต่อมาความนี้ได้ทราบถึงพระเจ้ากรุงธนบุรี พ.ศ.๒๓๒๐ พระองค์ทรงพิโรธพระเจ้าศิริบุญสารโดยถือว่าเป็นการดูหมิ่นไม่ปฏิบัติตามราชประเพณีจึงรับสั่งให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพใหญ่พร้อมด้วยเจ้าพระยาสุรสีห์ นำกองทัพขึ้นไปชุมพลอยู่ที่เมืองนครราชสีมา แล้วให้พระยาสุรสีห์แยกไปทางกัมพูชาเพื่อเกณฑ์พลเขมรให้ช่วยกันต่อเรือรบเพื่อให้ล่องไปตามลำน้ำโขงแล้วเกณฑ์พลลาวพลเขมรช่วยกันขุดคลองอ้อมแก่งลี่ผี เสร็จแล้วยกทัพเรือมาตามลำคลองมาถึงนครจำปาศักดิ์ แล้วทำการตีเอาเมืองนครพนมและเมืองหนองคายได้ทั้งสองเมืองแล้วมุ่งหน้าสู่นครเวียงจันทน์

ขณะนั้นเจ้าสุริยวงศาเมื่อรู้ข่าวว่ากองทัพไทยยกมาตีนครเวียงจันทน์จึงให้แม่ทัพยกกำลังมาช่วยไทยตีนครเวียงจันทน์โดยเข้าตีทางด้านเหนือเจ้าพระยาสุรสีห์เข้าตีเอาเมืองพะโคและเมืองเวียงคุกได้ในที่สุดสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกกองทัพใหญ่มาตีเอาเมืองพรานพร้าวได้แล้วตั้งค่ายล้อมนครเวียงจันทน์เอาไว้ ๔ เดือนเศษ จึงตีเอานครเวียงจันทน์ไว้ในอำนาจได้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๑

สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกจึงมีหนังสือกราบทูลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีว่า ได้ตีเอากรุงศรีสัตนาคนหุตได้แล้ว และได้อันเชิญพระแก้วมรกตและพระบางพระพุทธรูปสำคัญกลับคืนมา ส่วนพระเจ้าศิริบุญสารนั้นหนีรอดการจับกุมไปได้โดยนำเจ้าพรหมวงศ์โอรสองค์ที่สี่หนีไปยังเมืองคำเกิด สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้กองทัพไทยรีบกลับพระนคร

การชนะศึกครั้งนี้กองทัพไทยได้ยึดเอาทรัพย์สมบัติ ศัสตราวุธช้างม้าได้เป็นอย่างมาก ตลอดจนครอบครัวชาวเมืองและพระวงศานุวงศ์ได้แก่พระโอรสพระธิดาของพระเจ้าศิริบุญสาร คือ เจ้านันทเสน เจ้าอินทร์วงศ์ เจ้าอนุวงศ์ เจ้าแก้วยอดฟ้าหรือเจ้าหญิงเขียวค่อม ได้ถูกนำตัวมายังกรุงเทพพร้อมกับเชลยศึก

เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้กวาดต้อนประชาชนชาวลาวมายังประเทศไทยแล้วส่วนหนึ่งได้นำมาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่จังหวัดนครนายกเรียกว่า “บ้านใหญ่ลาว”ประมาณ ๓ – ๔ ร้อยหลังคาเรือน เมื่อตั้งหลักแหล่งแล้วก็ช่วยกันสร้างวัด เรียกว่า “วัดใหญ่ลาว”(จากหนังสือรับรองสภาพการสร้างวัดของกรมการศาสนา) เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๓

พ.ศ. ๒๔๘๔ วัดได้เปลี่ยนชื่อเป็นทางราชการว่า “วัดใหญ่ทักขิณาราม” ตำบลบ้านใหญ่ วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๓๙ กรมศิลปากรได้จดทะเบียนให้เป็นโบราณสถานและกรมศิลปากรร่วมกับทางวัดได้ทำการบูรณะอุโบสถให้มีสภาพเหมือนเดิม เมื่อวันที่ ๘ เมษายน แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๖

ความสำคัญ เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในจังหวัดนครนายก

เอกสารอ้างอิง

บูรณะและพัฒนาวัด กองพุทธศาสนสถาน กรมการศาสนา, ฝ่ายการประชุมเจ้าอาวาสที่จัดอุธยานการศึกษาในวัด

วัดพัฒนาตัวอย่าง วัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่นประจำปี ๒๕๔๕ , ๒๕๔๕ (เอกสารอัดสำเนา)

พระธรรมปิฏก (ประยุทธ์ ปยุตโต) พระพุทธศาสนาในอาเซีย กรุงเทพ : ธรรมสภา ๒๕๔๐

พลาดิสัย สิทธิธัญกิจ. ท้าวสุรนารีวีรสตีโคราช. กรุงเทพ :บันทึกสยาม, ๒๕๔๕

Category
Religious place
Location
วัดใหญ่ทักขินาราม
No. ๓๙๕ Moo บ้านใหญ่
Tambon บ้านใหญ่ Amphoe Mueang Nakhon Nayok Province Nakhon Nayok
Details of access
Reference พระครูโอภาสญาณคุณ
Organization วัดใหญ่ทักขินาราม
No. ๓๙๕ Moo บ้านใหญ่
Tambon บ้านใหญ่ Amphoe Mueang Nakhon Nayok Province Nakhon Nayok ZIP code 26000
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่