ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 47' 59.8967"
16.7999713
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 5' 27.0319"
102.0908422
เลขที่ : 144063
" ไซ " ไซดักปลา "
เสนอโดย Songrit วันที่ 7 กรกฎาคม 2555
อนุมัติโดย ขอนแก่น วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556
จังหวัด : ขอนแก่น
0 1836
รายละเอียด

ไซ : ไซดักปลาเป็นเครื่องมือดักสัตว์น้ำ โดยมากใช้ดักปลาในกลุ่มปลาเล็กปลาน้อย ใช้งานในแหล่งน้ำไม่ลึก มักเป็นแหล่งน้ำไหล และเป็นการเปิดช่องระบายน้ำเข้าออกตามบิ้งนาคันนา ไซมีหลายรูปแบบ ตั้งชื่อตามรูปทรงนั้น เช่น ไซปากแตรสานเป็นรูปกรวยปากไซบาน ออกเป็นรูปปากแตร ไซท่อสานคล้ายท่อดักปลา หรือเราอาจตั้งชื่อตามวัตถุประสงค์ เช่น ไซสองหน้า มีช่อง 2 ด้าน ไซลอย ใช้วางลอยในช่วงน้ำตื้น ๆ แหวกกอข้าวหรือกอหญ้า วางแช่น้ำเอาไว้ ไซปลากะดี่ ใช้ดักปลากะดี่

ความสำคัญ :ในอดีตวิถีชีวิตของชาวบ้าน เมื่อเสร็จจากฤดูเก็บเกี่ยวข้าวนาปีแล้วชาวบ้านมักมีเวลาว่าง จากการทำนาจึงใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการประกอบอาชีพต่าง ๆเพื่อเสริมรายได้ เช่น ทำไร่ทำสวนและการหาปลาโดยออกหาปลาตาม ห้วย หนอง คลอง บึง จึงต้องมีการใช้เครื่องมือดักปลา

ไซ:เป็นเครื่องจักสานใช้สำหรับดักจับปลาที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทย โดยใช้ไซซึ่งมีงาติดไว้ทั้งสองตอนปลาสามารถว่ายน้ำเข้าไปได้แต่ออกไม่ได้ ไซลูกหนึ่งจะมีงา ๒ งา คือ งาขึ้นดักปลาที่ว่ายทวนน้ำจะหันปากไปหาก้นไซ และงาลงใช้ดักปลาที่ลงมาตามน้ำ จะหันปากไปทางปากไซ งาทั้งสองจะอยู่เยื้องกัน ใส่ถัดจากไม้โขนงข้างละประมาณ ๒๐ ซม. ขนาดของงาไซจะขึ้นอยู่กับขนาดใหญ่-เล็กของไซ ที่ปากไซ จะใช้กะลามะพร้าวปิดไว้ แล้วขัดไขว่ด้วยไม้ไผ่เล็ก ๆ ๒ อัน เวลาที่เทปลาออกมาจากไซก็จะเปิดปากออก และปิดไว้อย่างเดิมนำไซไปวางดักไว้ตามห้วย หนอง หรือคลอง ที่มีการไหลของน้ำตลอดเวลาโดยวางในแนวเหนือน้ำเพราะปลาจะว่ายทวนน้ำ หาไม้มาปักให้ไซติดอยู่กับที่เพราะแรงของน้ำที่ไหลอยู่ตลอดเวลานั้นอาจจะสามารถทำให้ไซลอยน้ำไปได้เมื่อดักเสร็จแล้วก็ต้องคอยไปดูว่ามีปลาเข้ามาติดในไซหรือไม่ถ้ามีปลาอยู่ในไซก็เอาปลาออกแล้วสามารถดักต่อไปอีกได้

แหล่งที่มาของไซดักปลา :นายไพศาล เปรมประยูร บ้านเลขที่ 140 หมู่ 1 บ้านวังเพิ่ม ตำบล วังเพิ่ม อำเภอ สีชมพู จังหวัด ขอนแก่น 40220 (ประธานกลุ่ม)

สถานที่ตั้ง
นายไพศาล เปรมประยูร
เลขที่ 140 หมู่ที่/หมู่บ้าน 1 บ้านวังเพิ่ม ซอย - ถนน สีชมพู-ชุมแพ
ตำบล วังเพิ่ม อำเภอ สีชมพู จังหวัด ขอนแก่น
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
อ้างอิงบางส่วนมาจาก วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี/นายไพศาล เปรมประยูร 140 หมู่ 1 บ้านวังเพิ่ม ต.วังเพิ่ม
บุคคลอ้างอิง ทรงฤทธิ์ แซงวุฒิ อีเมล์ Songrit94@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอสีชมพู อีเมล์ songrit94@gmail.com
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน ศูนย์ราชการ
ตำบล วังเพิ่ม อำเภอ สีชมพู จังหวัด ขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40220
โทรศัพท์ 08-1874-7083 โทรสาร -
เว็บไซต์ สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอสีชมพู
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่