ประวัติหมู่บ้าน
ปันใต้เป็นหมู่บ้านเก่าแก่อายุกว่า 100ปีมาแล้ว คำว่าปัน ในภาษาภาคเหนือแปลว่า ควรแบ่งสิ่งของให้แก่กันและกันจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ว่ากันว่า บริเวณพื้นที่ระหว่างบ้านปันใต้และบ้านปันเหนือมีหนองน้ำหรือห้วยที่มีชื่อว่าห้วยปั๋น และบ้านปันใต้อยู่ทางทิศใต้ของห้วย จึงใช้ชื่อหมู่บ้านว่า บ้านปันใต้ สภาพทางภูมิศาสตร์ของหมู่บ้านส่วนมากจะเป็นป่าละเมาะมีแม่น้ำไหลผ่าน แต่ปัจจุบันจำนวนพื้นที่ป่าลดน้อยลงเนื่องจากชาวบ้านมาถางป่าเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยและทำการเกษตร คนกลุ่มแรกที่เข้ามาก่อตั้งหมู่บ้านคือ ชาวบ้านส่วนหนึ่งของบ้านคุ้ม ได้นำสัตว์ เช่น โค กระบือ มาเลี้ยงในบริเวณนี้และจัดทำเพิงพักชั่วคราวขึ้น เพื่อสะดวกในการดูแลสัตว์ ต่อมาได้ทำการบุกเบิกป่าละเมาะทำเป็นทุ่งนา ทำไร่ ทำสวน และก่อสร้างบ้านเรือนอย่างถาวรขึ้นบริเวณสองฝั่งของแม่น้ำงาว ในปีพ.ศ.2457 ได้มีการจัดตั้งหมู่บ้านขึ้นอย่างเป็นทางการเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการปกครองท้องถิ่น เมื่อเริ่มตั้งหมู่บ้านครั้งแรกมีประมาณ 10-15 หลังคาเรือน โดยสมัยนั้นมีขุนประสานสุขประชาเริ่มจงรักษาเป็นนายอำเภองาว และแต่งตั้ง
1.ท้าวต๊ะนนทมาลย์
2.นายวงค์เทียนแก้ว
3.นายอ้นดายันต์
4.นายกู้อุ่นเมือง
5.นายขานไชยวงค์
6.นายแก้วทองพระไพร
7.นายไพโรจน์ธิชูโตผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน
สภาพทั่วไปของบ้านปันใต้ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภองาวจังหวัดลำปาง อยู่ห่างจาก
อำเภองาว 5 กิโลเมตรพื้นที่ของบ้านปันใต้เป็นพื้นที่ป่าประมาณ 2,900 ไร่ เป็นพื้นที่ราบประมาณ 1,500 ไร่ มีน้ำไหลผ่านสองสาย แม่น้ำงาวและลำเหมืองเหมาะสำหรับทำการเกษตรและที่อยู่อาศัย
ทิศเหนือจดบ้านปันเหนือ หมู่ที่4บ้านปันพัฒนา หมู่ที่ 9 ตำบลปงเตา
ทิศใต้จดบ้านหองเหียงหมู่ที่ 2 ตำบลนาแก อำเภองาว
ทิศตะวันออกจด บ้านแหงเหนือหมู่ที่ 1 ตำบลบ้านแหง อำเภองาว
ทิศตะวันตกจด บ้านแม่แป้นหมู่ที่ 5 ตำบลนาแก อำเภองาว
ประเพณีวัฒนธรรมของหมู่บ้าน
1. ประเพณีถวายเจ้าพ่อองค์คำเดือน 4 แรม 3 ค่ำ2. ประเพณีสลากภัตร์เดือน 12 แรม 15 ค่ำ
3. ประเพณีสงกรานต์เดือน เมษายน4. ประเพณียี่เป็งเดือน ยี่ขึ้น 15 ค่ำ
5. ประเพณีตานข้าวใหม่เดือน 4 ขึ้น 15 ค่ำ6. ประเพณีตี๋ก๋องปู่จาเดือน เมษายน
7. เลี้ยงฝีขุนน้ำเดือน 10เหนือ8. ประเพณีเลี้ยงฝีปู่ ฝีย่าเดือน 4 แรม 15 ค่ำ
9.ประเพณีรดน้ำดำหัวเดือน เมษายน10.ประเพณีเข้าพรรษาเดือน 10 ขึ้น 15 ค่ำ
11. ประเพณีออกพรรษาเดือน 1 ขึ้น 15 ค่ำ