ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 43' 55.1748"
6.7319930
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 22' 51.5384"
101.3809829
เลขที่ : 14590
นายการียา เด็งซะ
เสนอโดย kanungnid salo วันที่ 13 มกราคม 2554
อนุมัติโดย ahtaniti.a@gmail.com วันที่ 9 กันยายน 2554
จังหวัด : ปัตตานี
0 349
รายละเอียด
การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น การแสดงดีเกร์ฮูลู ๒.ประวัติครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ๒.๑ ประวัติส่วนตัว ชื่อ นายการียา นามสกุล เด็งซะ เชื้อชาติ ไทย สัญชาติ ไทย หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน ๓-๙๖๐๓-๐๐๐๑๐-๕๑๒ วัน เดือน ปีเกิด ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๓ อายุ ๔๐ ปี ภูมิลำเนาเดิม (บ้านเกิด) - ที่อยู่ปัจจุบัน ๕๔ หมู่ที่ ๒ ตำบลเกาะจัน อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี โทรศัพท์มือถือ - ๐๘๗-๒๙๓๓๙๖๑ วุฒิการศึกษา/ระดับการศึกษา - มัธยมศึกษาปีที่ ๖ ๒.๒ ประวัติการรับรางวัล - ไม่มี ๒.๓ ประวัติการถ่ายทอด - เป็นวิทยากรให้กับเยาวชนและประชาชนที่สนใจในตำบล ๓. เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบในการแสดงดีเกฮูลู ๑. รำมะนาใหญ่ ๑ ลูก ๒. รำมะนาเล็ก ๑ ลูก ๓. ฆ้อง ๑ ใบ ๔. ฉิ่ง ๑ คู่ ๕. โม่ง ๑ วง ๖. ลูกแซด ๑ คู่ เวทีแสดง การตั้งวงคล้ายกับการตั้งวงลำตัดหรือเพลงฉ่อยของภาคกลาง คณะหนึ่งมีลูกคู่ประมาณ ๑๐ กว่าคน ผู้ร้องเพลงและขับร้องมีประจำคณะมีอย่างน้อย ๒-๓ คน และอาจมีนักร้องภายนอกวงมาสมทบร่วมสนุกอีกก็ได้ กล่าวคือ คนใดนึกสนุกอยากร่วมวงก็จะได้รับอนุญาตจากคณะลิเกคล้ายๆกับการเล่นเพลงบอกภาคใต้ เวทีแสดงยกสูงไม่เกิน ๑ เมตร โล่งๆ ไม่มีม่านหรือฉาก ลูกคู่ขึ้นไปนั่งล้อมวงร้องรับและตบมือ โยกตัวเข้ากับจังหวะดนตรี ส่วนผู้ร้องหรือผู้โต้กลอนจะลุกขึ้นยืนข้างๆวงลูกคู่ ถ้ากรณีมีการประชันกันแต่ละคณะจะขึ้นนั่งบนเวทีด้วยกัน แต่แยกวงล้อมกัน การแสดงก็ผลัดกันร้องที่ละรอบ ทั้งรุกทั้งรับเป็นที่ครึกครื้นสบอารมณ์ผู้ชม การแต่งกาย การแต่งกายของผู้เล่นดิเกฮูลู สมัยก่อนมักแต่งชุดอย่างชาวบ้านทั่วไปคือ โพกหัว สวมเสื้อคอกลม นุ่งโสร่ง บางครั้งเหน็บขวานไว้ข่มขวัญคู่ต่อสู้ ต่อมามีการแต่งกายแบบเล่นสิละ (ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของชาวใต้) คือนอกจากจะนุ่งกางเกงขายาวธรรมดาเหมือนแต่เดิม ก็นุ่งผ้าโสร่งซอเกตลายสวยสดทับข้างนอกสั้นเหนือเข่าเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง พร้อมกับมีผ้าลือปักคาดสะเอว นอกนั้นก็สวมเสื้อคอกลมมีผ้าโพกศีรษะเหมือนเดิม ปัจจุบันนิยมแต่งกายแบบสมัยนิยม หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละคณะให้มีสีสันสดใสสะดุดตา ๔. วิธีการแสดง การแสดงจะเริ่มต้นการแสดงด้วยดนตรีโหมโรงเป็นการเรียกผู้ชมและเร้าอารมณ์คนดู สมัยก่อนมีการไหว้ครูในกรณีที่มีการประชันกันระหว่างหมู่บ้าน (หรืออาจมีหมอผีของแต่ละฝ่ายปัดรังควานไล่ผีคู่ต่อสู้ก็มี) ปัจจุบันสู้กันด้วยศิลปะหรือคารมอย่างเดียว เมื่อลูกคู่โหมโรงเสร็จ ต่อจากนั้นนักร้องต้นเสียงจะออกมาวาดลวดลายด้วยเพลงในจังหวะต่างๆ ทีละคน เริ่มต้นเนื้อร้องกล่าวถึงความประสงค์ในการเล่น แล้วจึงเข้าสู่เรื่องราวแสดง ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องราวจากเหตุการณ์บ้านเมือง ปัญหาท้องถิ่น ความรักของหนุ่มสาว หรือเรื่องตลกโปกฮา กรณีที่มีการประชัน หรือบางครั้งก็เป็นเรื่องราวกระทบกระแทกเสียดสีกัน หรือหยิบยกปัญหาต่างๆ มากล่าวเพื่อให้ผู้ชมชื่นชอบในการใช้คารมและปฏิภาณของผู้แสดง นับว่าเป็นการให้ความบันเทิง พร้อมทั้งให้ความรู้ สั่งสอนชาวบ้านผู้ชมไปในตัว เอกลักษณ์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการแสดงลิเกฮูลูก็คือ การขับร้องพร้อมแสดงท่วงท่าประกอบ และการตบมือ เช่น "ท่าร่ายรำจะบ่งบอกถึงธรรมชาติ และการห่วงหาอาทรต่อกัน การทำมือเป็นลูกคลื่น ท่ากวักมือเพื่อชักชวนพี่น้องที่ไปอยู่ในมาเลเซียให้กลับมายังบ้านเกิด ท่าปลาแหวกว่าย ท่าชักอวน การใช้มือแสดงท่าทาง โดยการโบกมือกวักมือ หมายถึงเรียกให้กลับบ้านให้มาดูแลทะเลบ้านเรา คือจะประกอบ กับการตบมือเป็นจังหวะให้เกิดความสนุกสนาน" เนื้อเพลง เนื้อหาที่เอามาร้องโต้กันจะเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชุมชนประมงชายฝั่ง เช่น ปัญหาเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การแก้ปัญหาต่างๆ ของประมงพื้นบ้านและวิถีชีวิตแต่ละวัน ปัจจุบันได้มีการปรับรูปแบบการแสดง ดิเกฮูลูโดยการนำเพลงลูกทุ่งเข้ามาผสมผสานในการร้อง มิได้มีไว้เพื่อความบันเทิงเท่านั้น หากมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการรณรงค์ โดยเนื้อหาในเพลงจะเกี่ยวข้องกับศาสนา สถานการณ์ปัจจุบัน และสอดแทรกข่าวสารจากรัฐบาล เช่น เรื่องคุณธรรมจริยธรรม ความสะอาด โรคเอดส์ ความรักชาติ ความสามัคคี เศรษฐกิจพอเพียง การเลือกตั้ง และภัยร้ายของยาเสพติด เข้าไปในเนื้อหาที่ใช้แสดง โอกาสในการเล่น การแสดงดิเกฮูลู แต่เดิมนิยมแสดงในงานพิธีต่างๆ เช่น มาแกปูโล๊ะ (งานแต่งงาน) พิธีเข้าสุหนัต งานเมาลิด งานฮารีรายอ งานบุญ และแสดงเพื่อแก้บน ปัจจุบันยังแสดงในงานเทศกาลต่างๆ ร่วมกับมหรสพอื่นๆ เช่น ในงานพิธีถวายพระพรวันเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น หรือเป็นการแสดงเพื่อมีวัตถุประสงค์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ๕. การต่อยอดเพื่อให้เกิดรายได้ - เป็นวิทยากรให้กับโรงเรียนในระบบการศึกษา/นอกระบบการศึกษา - รับจ้างแสดงตามงานต่างๆ "ฮูลู” หมายถึง คนที่อยู่ห่างไกลความเจริญ เช่น อยู่เชิงเขา อยู่ห่างทะเล นี่คือฮูลู เพราะฉะนั้นลิเกฮูลู จึงเป็นการละเล่นของคนที่อยู่ห่างไกล แต่ในมาเลย์เรียกลิเกปารัต ซึ่งปารัตแปลว่า ทิศตะวันตก คือคนมาเลย์รับศิลปะนี้ไปจากปัตตานี ที่อยู่ทางทิศตะวันตกของเขา ที่มาเลย์เลยเรียกว่า ลิเกปารัต แต่รูปแบบไม่ต่างกัน" ลิเกฮูลู เป็นการละเล่นพื้นบ้านแถบจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับความนิยมมากของชาวไทยมุสลิม มักจะใช้แสดงในงานมาแกปูโละ งานสุหนัด งานเมาลิด งานฮารีรายอแล้ว คำว่า "ลิเก" หรือ "ดิเกร์" เป็นศัพท์เปอร์เซีย มีความหมาย ๒ ประการ คือ ๑. เพลงสวดสรรเสริญพระเจ้า ซึ่งเรียกการสวดดังกล่าวนี้ว่า "ดิเกร์เมาลิด" ๒. กลอนเพลงโต้ตอบ นิยมเล่นกันเป็นกลุ่มคณะ เรียกว่า "ลิเกฮูลู" บ้างก็ว่าได้รับแบบอย่างมาจากคนพื้นเมืองเผ่าซาไก เรียกว่า มโนห์ราคนซาไก บ้างก็ว่าเอาแบบอย่างการเล่นลำตัดของไทยผสมเข้าไปด้วย การแสดงลิเกฮูลู มีต้นเค้ามาจากการละเล่นของชาวบ้านที่เหน็ดเหนื่อยจากการทำงานในแต่ละวัน และมีกิจกรรมร่วมกันคือการร้องเพลงในตอนเย็น อุปกรณ์ให้จังหวะคือภาชนะที่หาได้ใกล้มือ จำพวก หม้อ กระทะ คนหนึ่งร้อง คนหนึ่งเคาะ อีกหลายๆ คนช่วยกันประสานเสียง ต่อมาก็พัฒนาให้มีเครื่องดนตรี ที่ใช้กันทั่วไปคือ แซ็ก ฆ้อง ขลุ่ย และรำมะนา
คำสำคัญ
ครูภูมิปัญญา
สถานที่ตั้ง
นายการียา เด็งซะ
เลขที่ ๕๔ หมู่ที่/หมู่บ้าน
ตำบล เกาะจัน อำเภอ มายอ จังหวัด ปัตตานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่