บ้านซรายอ
หมู่ที่ ๑ ตำบลปาเสมัส
อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
ความหมายของชื่อหมู่บ้านซรายอ
เป็นอาคารบ้านเรือน ซึงมีอยู่ 2ชนิด ได้แก่ ไม้สยาขาว และไม้สยาแดงในอดีตมีต้นไม้ชนิดหนึ่ง เรียกว่า “ต้น สยา” หรือชาวเรียกกันว่า “ ต้นซรายอ ”เป็นพืช ประเภทไม้ยืนต้น อาศัยอยู่ในป่าดงดิบ มีลักษณะทนทาน คนในอดีตจึงนิยมนำมาสร้างเป็นอาคารบ้านเรือน ซึงมีอยู่ 2ชนิด ได้แก่ ไม้สยาขาว และไม้สยาแดง
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน/ชุมชน
ในสมัยก่อนหมู่บ้านแห่งนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ “บือลูการซาไก”สมัยก่อนที่หมู่บ้านแห่งนี้มีชนเผ่า “ซาไก” หรือที่รู้จักกันในชื่อ “เผ่าอัสลี” ได้รวมตัวอาศัยอยู่เพียงไม่กีหลังคาเรือนและชนเผ่าเหล่านี้ก็ได้เปลี่ยนชื่อให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศที่อาศัยอยู่โดยตั้งชื่อว่า “บาโง” (ควน) ผู้ตั้งชื่อหมู่บ้านแห่งนี้คือ “ดาโต๊ะมีนา” บางคนเรียกชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่า “หมู่บ้านมีนา”
โต๊ะมีนาเป็นผู้ช่วยกำนันและมีนายด่างเป็นกำนันของหมู่บ้านนี้ โต๊ะนีนาเป็นผู้ช่วยกำนันไม่กีปีก็หมดวาระและแต่งตั้ง นายอาแว หามะ เป็นผู้ช่วยกำนันแทน
นายอาแว หามะ ก็ได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านนี้อีกครั้ง มีชื่อว่า “บาโงซรายอ” เพราะในสมัยก่อนมีต้นสยาขนาดใหญ่หลายต้นอยู่บนควน นับตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านก็เรียกหมู่บ้านแห่งนี้ว่า “บาโงซรายอ”
ต่อมาทางราชการ ให้มีเขตการปกครองโดยเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านจาก “ บาโงซรายอ “ เป็นหมู่บ้านซรายอ จนถึงปัจจุบัน
ในปัจจุบันบ้านซรายอได้แยกออกเป็น ๓ ชุมชนใหญ่ ได้แก่
- ซรายอใน
- ซรายอใต้
- ซรายอนอก แบ่ง ๓ ชุมชนย่อย คือ ซูรอกูเวาะอรกานต์ และการเคหะ ซึ่งอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน
อาณาเขตติดต่อ
มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ ๖ บ้านซรายอออก ตำบลปาเสมัส
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านโคกสยา อำเภอสุไหงปาดี
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ป่าพรุโต๊ะแดง ตำบลปูโยะ
ทิศใต้ ติดต่อกับ เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
ลักษณะภูมิประเทศ
ภูมิอากาศ
มี ๒ ฤดู คือ ฤดูฝน มี ๒ ระยะ คือ ระยะรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคมเป็นช่วงเกิดฝนฟ้าคะนอง และระยะรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือฝนจะตกชุกในเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือน มกราคม ของทุกปี
ภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบและราบลุ่ม
จำนวนประชากร
จำนวนครัวเรือน ๘๘๐ ครัวเรือน
จำนวนประชากร(สิ้นปี ๒๕๕๔) ๒,๗๓๓ คน
โดยแบ่งเป็น ชาย ๑,๓๐๙ คน หญิง ๑,๔๒๔ คน