ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 7° 2' 27.4852"
7.0409681
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 34' 25.4827"
100.5737452
เลขที่ : 146607
ขนมม่อฉี่
เสนอโดย สงขลา วันที่ 17 กรกฎาคม 2555
อนุมัติโดย สงขลา วันที่ 20 กรกฎาคม 2555
จังหวัด : สงขลา
3 3771
รายละเอียด

“ขนมม่อฉี่”กำลังจะสูญหายไปจากอำเภอหาดใหญ่ เด็กหรือผู้ใหญ่ในปัจจุบันหากได้ยินชื่อ“การทำขนมม่อฉี่”ส่วนมากจะไม่ค่อยจะรู้จัก หรือบางคนอาจจะหัวเราะกับชื่อที่แปลก แต่หากได้ชิมรสชาติดูแล้วมักจะติดใจเพราะอร่อยหอมหวาน เป็นขนมโบราณที่คู่ควรแก่การอนุรักษ์ไว้เป็นยิ่งนัก เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ทำกันมาตั้งนานนม และที่สำคัญยังสร้างรายได้ได้ดีทีเดียว

คุณซ่อนกลิ่นเล่าให้ฟังว่า ได้ฝึกทำมาจากบรรพบุรุษ เพราะในอดีตตั้งแต่รุ่นยาย รุ่นแม่ มี“การทำขนมม่อฉี่”ขายในระแวกตำบท่าข้าม จนมาถึงรุ่นตนเอง ก็ยังยึดอาชีพ“การทำขนมม่อฉี่”ขายเป็นรายได้ให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่ง จะขายในระแวกตำบลท่าข้าม และหากมีหน่วยงานไหนเชิญไปสาธิตหากไม่ไกลเกินก็จะไป สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำเหมือนกับอาชีพอื่นเช่นกัน

ขนมม่อฉี่ เป็นขนมไทยโบราณที่นับวันหาซื้อกินยาก เพราะมีคนทำเป็น หรือมีคนทำขนมนี้ที่มีรสชาติอร่อยหายากขึ้น สืบสาวราวเรื่องที่มาที่ไปของ“ขนมม่อฉี่”ก็ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด แต่ที่แน่ๆเป็นขนมที่มีแต่ในจังหวัดสงขลาเท่านั้น และคำว่ามอฉี่(สำเนียงกลาง)ม่อชี่(สำเนียงใต้)เข้าใจว่าเพี้ยนมาจากคำว่า"โมจิ"ขนมของญี่ปุ่น มีคนเฒ่าคนแก่ในอำเภอสิงหนคร ของสงขลา เล่าให้ฟังว่า “เมื่อตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นมาตั้งฐานทัพอยู่ที่ฝั่งสิงหนคร ได้มีการหาคนไทยมาทำอาหารให้คนทหารญี่ปุ่นกิน และคนญี่ปุ่นก็ได้สอนวิธีทำ“ขนมโมจิ”ให้กับคนไทยในครั้งกระนั้น โดยประยุกต์ใช้วัตถุดิบที่พอหาได้ในท้องถิ่นมาทำ เช่น แป้งข้าวเหนียว น้ำผึ้งแว่น ถั่วใต้ดิน(ลิสง) และงา ชาวบ้านเห็นเป็นขนมแปลกแต่ทำง่าย ใช้วัสดุในท้องถิ่น ก็ทำกินกันมานับตั้งแต่นั้นมา โดยเรียกชื่อ ขนมโมจิ ตามสำเนียงใต้ เพี้ยนมาเป็น“ขนมม่อฉี่”ถึงทุกวันนี้ ในอำเภอหาดใหญ่ เนื่องจากมีขนมที่มีชื่อเรียกว่า “ม่อฉี่” เหมือนกันทั้งขนมของไทย และขนมของจีน ขนมพื้นบ้านของไทยเรียกว่า“ขนมม่อชี่ไทย”เป็นขนมมีไส้ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวนึ่งสุกห่อไส้เป็นลูกกลมๆขนาดพอคำ“ขนมม่อชี่จีน”หรือ“กะลอจี๊”เป็นขนมไม่มีไส้ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวนึ่งสุกนำมาทอดบนกระทะแบนด้วยน้ำมันน้อยๆพอผิวด้านนอกสุกกรอบตัดเป็นชิ้นเล็กๆขนาดพอคำ นำไปคลุกเครื่องปรุงซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลทราย-งาคั่ว-ถั่วคั่วบด เหมือนไส้ขนมม่อฉี่ไทย ปัจจุบันถึงแม้ว่า ขนมม่อฉี่ จะหาซื้อกินยากแต่ก็ยังมีขายอยู่ตาม(ตลาด)นัดเช้าในหมู่บ้านต่างๆของอำเภอหาดใหญ่

ส่วนผสม / อุปกรณ์
1. แป้งข้าวเหนียว
2. ถั่วลิสง
3. งา
4. นํ้าตาล
5. มะพร้าวห้าว
6. หม้อนึ่ง

วิธีทำ
นวดแป้งให้นิ่มแล้วปั้นเป็นก้อน หลังจากนั้นนำไปใส่ในรังทึงนึ่งให้แป้งแตกเป็นฟองแล้วยกลง ต่อจากนั้นนำแป้งข้าวเหนียวมาคั่วให้สุกด้วยไฟอ่อนๆแล้วนำมาคลุกเคล้ากับแป้งที่นึ่งได้ที่แล้วหลังจากนั้นนำมาปั้นเป็นแผ่นขนาดที่จะห่อไส้ได้
การทำไส้นั้นนำถั่วลิสงมาตำให้ละเอียดแล้วใส่งาลงไป(งานั้นตำพอแตก)แล้วใส่น้ำตาลลงไปคลุกเคล้ากับมะพร้าว หลังจากนั้นนำแป้งที่นึ่งได้ที่แล้วมาห่อไส้แล้วจีบเป็นลูกคลุกแป้งเพื่อไม่ให้ติดกับลูกอื่น เสร็จแล้วนำมารับประทาน หรือนำไปจำหน่าย

ไส้ขนมมอฉี่ตามสูตร และสัดส่วน ประกอบด้วย น้ำตาลทราย 1 กก. ถั่วลิสงคั่วป่น 1 กก. งาคั่วบด 1 กก. น้ำผึ้งแว่น(ทำจากน้ำตาลโตนด)บดผง 1/2 กก. คลุกผสมให้เข้ากันดี

คุณค่า / ประโยชน์
ขนมม่อฉี ให้คุณค่าทางด้านโภชนาการครบถ้วน เพราะในขนมนั้นมีทั้ง ถั่วลิสง งา แป้ง มะพร้าว น้ำตาล ซึ่งเป็นส่วนประกอบในการทำขนมม่อฉี

เคล็ดลับ

ในการทำขนมม่อชี่ให้มีรสชาติอร่อย “อยู่ที่การทำแป้งและไส้ แป้งจะต้องผสมน้ำลวกหรือนึ่งให้สุกพอดี แล้วนวดแป้งให้นิ่มเข้ากันทั้งก้อน ส่วนไส้ทุกอย่างต้องทำเองพอขายหมดเพื่อความใหม่-สดอยู่เสมอ ส่วนแป้งเชื้อสำหรับคลุกขนมใช้ข้าวเจ้าคั่วพอหอมบดแล้วร่อน” และจะต้องนำขี้ผึ้งมาทรงมือเป็นระยะ ๆ เพื่อป้องกันแป้งติดมือ

สถานที่ตั้ง
เลขที่ 9809 หมู่ที่/หมู่บ้าน 2
ตำบล ท่าข้าม อำเภอ หาดใหญ่ จังหวัด สงขลา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นางซ่อนกลิ่น ขวัญปาน
บุคคลอ้างอิง นางเจือทิพย์ อารมณ์
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา
เลขที่ 10/1 ถนน สุขุม
ตำบล บ่อยาง อำเภอ เมืองสงขลา จังหวัด สงขลา รหัสไปรษณีย์ 90000
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่