ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 48' 2.9999"
16.8008333
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 20' 28"
102.3411111
เลขที่ : 146622
หีบโบราณ
เสนอโดย premkhwan วันที่ 17 กรกฎาคม 2555
อนุมัติโดย วันที่ 17 กรกฎาคม 2555
จังหวัด : ขอนแก่น
0 442
รายละเอียด

หีบโบราณอยู่ในความดูแลรักษาของกลุ่มพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตำบลบ้านโคก ภายในศูนย์วัฒนธรรมสายใยชุมชนและส่งเสริมอาชีพอำเภอหนองนาคำ บ้านหนองนาคำ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านโคก อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น

หีบโบราณเป็นเครื่องใช้สมัยโบราณ ใช้สำหรับใส่เสื้อผ้าหรือเก็บสิ่งของที่สำคัญ ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ววัสดุที่นำมาทำหีบใส่ผ้าดังที่ปรากฏในภาพ จักสานโดยใช้ไม้ไผ่ขึ้นรูปเป็นลวดลาย ทาด้วยชัน มีฝาปิดมิดชิด รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแต่ขยายความกว้างด้านข้างออก ให้มีลักษณะป่องตรงกลาง เพื่อให้ใส่ของได้จำนวนเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นการเก็บผ้าโบราณไว้ในหีบ จึงเป็นวิธีการหนึ่งในการที่จะป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองสะสมบนผ้า ปัจจุบันนิยมใช้กระเป๋าผ้า แบบมีสายสะพาย หรือกระเป๋าล้อลาก เพื่อความสะดวกในการเดินทาง

การได้มานายทองคำ คำทอก บ้านเลขที่ 90 หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านโคก อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า หีบโบราณนี้เป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษ เมื่อสภาวัฒนธรรมขอรับบริจาคเครื่องมือเครื่องใช้โบราณเพื่อเก็บรวบรวมไว้ให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษา จึงได้บริจาคหีบโบราณ เมื่อวันที่ 27สิงหาคม 2551 สำหรับจัดแสดงไว้ที่ให้กลุ่มพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตำบลบ้านโคก อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น

สถานที่ตั้ง
ศูนย์วัฒนธรรมสายใยชุมชนและส่งเสริมอาชีพ
หมู่ที่/หมู่บ้าน 1/บ้านหนองนาคำ
ตำบล บ้านโคก อำเภอ หนองนาคำ จังหวัด ขอนแก่น
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ทะเบียนพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตำบลบ้านโคก
บุคคลอ้างอิง นายวิลาศ วันชัย
ชื่อที่ทำงาน สภาวัฒนธรรมอำเภอหนองนาคำ
เลขที่ 34 หมู่ที่/หมู่บ้าน 1/บ้านหนองนาคำ
ตำบล บ้านโคก อำเภอ หนองนาคำ จังหวัด ขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40150
โทรศัพท์ 08-1577-3428
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่