น้ำตาลปั้น เชื่อว่าเด็กๆรุ่นใหม่อาจไม่รู้จัก..หรืออาจจะไม่เคยเห็นเลยก็เป็นได้.น้ำตาลปั้น..ทำมาจากน้ำตาลทรายเคี่ยวผสมแบะแซ..ใส่สีผสมอาหาร...ปั้นขึ้นรูปด้วยมือเป็นตัวสัตว์..ผลไม้...ตัวการ์ตูนต่างๆมากมาย...บ้างก็ใช้กดจากแม่พิมพ์รูปต่างๆมีทั้งแบบเป่าลมและไม่เป่าลมเริ่มง่ายๆจากนำน้ำตาลทราย ½กิโลกรัม..แบะแซ 3 กิโลกรัม..น้ำ 1 แก้ว..ใส่หม้อหรือกะทะเคี่ยวด้วยไฟแรง..พอเดือด..ให้เบาไฟลง..จากนั้นตั้งไฟไว้ให้เดือดจนข้นอีก ½ชั่วโมง..จากนั้นเทออกใส่ภาชนะที่ถูกแบ่งเป็นช่องๆ..ใส่สีผสมอาหารลงไปช่องละสี..คลุกเคล้าให้สีเข้ากัน..เพียงเท่านี้เราก็จะได้น้ำตาลปั้นสีต่างๆตามที่ต้องการ เวลาจะใช้งานต้องนำมาอังไฟให้อุ่น..น้ำตาลปั้นก็จะนิ่ม..อ่อนตัว..สามารถปั้นขึ้นรูป..นกอินทรีย์ ไก่ นกยูง นกแก้ว มังกร ลิง จรเข้ ช้าง มีแพนด้า ตั๊กแตน ต้นมะพร้าว ดอกกุหลาบ หนอนชาเขียว นางเงือก เซเว่นอัพ.
ถ้าพ่อแม่ ผู้ปกครอง ท่านใดที่เคยเป็นเด็กในยุคขนมน้ำตาลปั้น ก็จะสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับขนมนำตาลปั้นแก่เด็กรุ่นสมัยใหม่ได้อย่างถูกต้อง เด็กรุ่นใหม่ก็จะรู้จักขนมนำตาลปั้นโบราณว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร รวมไปถึงความรู้เรื่องภูมิปัญญาของคนในสมัยโบราณ ที่สามารถนำเอาน้ำตาลมาเคี่ยวจนปั้นเป็นรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลาย ใช้ความอดทน และความพยายามที่สูงมาก เพียงแค่ขนมนำตาลปั้นโบราณก็สามารถสื่อความหมาย และถ่ายทอดถึงเรื่องราววิถีชีวิต ที่แฝงด้วยแนวคิด คำสอนให้แก่เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ได้ศึกษาเรียนรู้ แม้แต่ เด็กวัยรุ่น ถือเป็นกลุ่มที่ต้องเอาใจไม่แพ้กัน โดยเฉพาะวันสำคัญอย่างวันวาเลนไทน์ ทำให้น้ำตาลปั้นรูปดอกไม้สีแดง หรือรูปหัวใจเป็นแบบที่ขายดี และมีคนสั่งทำมากเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นสื่อรักที่นิยมนำไปมอบให้แก่กัน รวมไปถึงผู้ใหญ่ที่เวลาเดินผ่านมาเห็น ก็จะย้อนนึกถึงอดีต และซื้อเก็บไปเป็นของที่ระลึกฝากลูกหลานที่บ้าน
ผู้ขายน้ำตาลปั้นโบราณบอกว่า ต้นทุนในการทำสูงขึ้น บวกกับไม่มีคนสานต่อ เนื่องจากต้องใช้ความอดทน และความพยายามที่สูง สำหรับคนรุ่นใหม่ไม่มีความอดทนกับงานชนิดนี้เท่าที่ควร ทำให้คนขายน้ำตาลปั้นโบราณที่ยังเหลืออยู่ ต้องปรับตัว และคิดใหม่ตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคม ตลอดจนสืบทอดให้คนรุ่นใหม่ได้รู้จักต่อไป อนาคตของขนมนำตาลปั้นโบราณ....อาจจะไร้ผู้สืบสาน......รอคอยเพียงการที่จะสาบสูญไป