"พานขันหมากเบ็ง": ทำมาจากกะลามะพร้าว เป็นวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น โดยเฉพาะกะลามะพร้าวซึ่งมีอยู่ทั่วไปให้เรานำมาดัดแปลงเป็นสิ่งของหรือภาชนะ เช่น ทำเป็นพานขันหมากเบ็ง,กระบวยตักน้ำ,ไฟประดับ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถนำมาดัดแปลงโดยฝีมือของภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีความละเอียดอ่อนในตัวอยู่แล้ว และความเป็นมาของขันหมากเบ็ง หรือ ขันหมากเบญ คือ พานพุ่มดอกไม้ที่ใช้เป็นพานพุ่มบูชาในพิธีกรรม และบูชาพระรัตนตรัย ในวันอุโบสถ หรือ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งการนำไปบูชาวิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว โดยนำไปวางไว้ตามเสารั้ววัด หรือหลักเสา (ธาตุ ทำด้วยไม้แก่น แกะสลักสวยงาม เจาะให้เป็นช่องสี่เหลี่ยม ขนาดสี่นิ้วฟุต สำหรับบรรจุอัฐิ) ซึ่งนิยมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และวันสงกรานต์) จึงเป็นที่มาของ"พานขันหมากเบ็งกะลามะพร้าว"
ลักษณะของพานขันหมากเบ็งกะลามะพร้าว :เป็นภาชนะที่ทำด้วยกะลามะพร้าว โดยใช้กะลามะพร้าว เลื่อยออกเป็น 2 ซีก ใช้กระดาษทรายขัดและลงด้วยน้ำมันเคลือบเงาโดยหงายกะลามะพร้าวขึ้นด้านบน ส่วนด้านล่างให้คว่ำกะลามะพร้าวลงทำเป็นฐานของพาน พานกะลามะพร้าวด้านบน ทำเป็นฟันซี่ ๆ ห่างกันเล็กน้อย ใช้กาวลาเทกซ์ประกบเข้าหากัน เท่านี้ก็กลายเป็นพานกะลามะพร้าวขันหมากเบ็ง ขันหมากเบ็ง คือ พานพุ่มใส่ดอกไม้ หรือเครื่องบูชา 5 อย่าง ได้แก่ หมาก พลู ธูป เทียน ข้าวตอก ดอกไม้ อย่างละ 5 คู่ ใช้ใบตองทำเป็นซวย (กรวย) และบายศรีใช้ใบตองรีดซ้อนกันให้เป็นรูปคล้ายเจดีย์ ทำเป็นสี่มุม รวมทั้งตรงกลางเป็น 5 ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 นิ้ว สูง 6-8 นิ้ว ประดับประตูด้วยเครื่อง 5 อย่าง
วัสดุที่ใช้ทำพานขันหมากเบ็งกะลามะพร้าว :กะลามะพร้าว 1 ลูก ผ่าเป็น 2 ซีก,น้ำมันเคลือบเงา,ใบมีดฉลุ,กาวลาเท็กซ์
แหล่งที่มาของพานขันหมากเบ็งกะลามะพร้าว :วัดทุ่งสว่าง บ้านเซินใต้ หมู่ที่ 3 ตำบล โนนคอม อำเภอ ภูผาม่าน จังหวัด ขอนแก่น