ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 40' 6.5968"
13.6684991
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 33' 19.3036"
100.5553621
เลขที่ : 149228
รำมอญ ๑๒ ท่า รำมอญปากลัด
เสนอโดย สมุทรปราการ วันที่ 6 สิงหาคม 2555
อนุมัติโดย สมุทรปราการ วันที่ 18 สิงหาคม 2555
จังหวัด : สมุทรปราการ
1 2306
รายละเอียด

รำมอญ หรือมอญรำ เป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นภูมิปัญญาของชนชาติมอญที่สืบทอด
ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน แสดงถึงความอ่อนช้อยงดงาม ชาวมอญจะเรียกการรำมอญว่า
"ปัวฮะเปิ้น"แปลว่ามหรสพตะโพน หรือ "หลิห์โม่นฮะเปิ้น" แปลว่ารำมอญตะโพน ซึ่งเป็นการร่ายรำที่ฟังวจรากหน้าทับตะโพนมอญเป็นหลักมากกว่าฟังทำนองเพลง

การรำมอญของชุมชนมอญปากลัดได้รับการสืบทอดมาแบบดั้งเดิม
คือเป็นการฝึกรำแบบท่องเนื้อของตะโพนประกอบการร่ายรำ โดยได้ระบการสืบทอด
มาจาก ครูรำมอญชื่อ "อะโหนกเอี่ยม ศิริพาทย์" ท่านเป็นผู้ถ่ายทอดท่ารำมอญให้กับ
ลูกหลานในหมู่บ้านตองอุ๊ ในชุมชนมอญปากลัด และได้รับการอนุรักษ์สืบทอดมาจนถึง
ปัจจุบัน

ครูธิดา เธียรวัฒนา ครูรำมอญของชุมชนมอญปากลัด
ซึ่งปัจจุบันท่านเป็นครูรำมอญของปากลัดและสอนการรำมอญอยูในชุมชนปากลัด ท่านได้ให้ความรู้ในกระบวนท่ารำ ใจความว่า ท่ารำมอญทางปากลัดนี้มีท่ารำ ๑๐ ท่า ๑๒เพลง ท่ารำในเพลงที่๑และเพลงที่ ๕ มีท่ารำที่คล้ายคลึงกัน ท่ารำในเพลงที่ ๑ และเพลงที่ ๑๒ มีท่ารำที่คล้ายคลึงกัน จึงเป็นที่มา มอญปากลัดรำมอญ ๑๐ ท่า การรำมอญนั้นประกอบด้วย วงปี่พาทย์มอญ ส่วนมากใช้เป็นวงปี่พากทย์มอญเครื่องห้า ปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ และปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ๋ แล้วแต่ในงานพิธีเป็นต้น

นาฏลักษณ์เด่นของรำมอญปากลัด คือ การย่อเข่าและเอียงศรีษะมากเป็นพิเศษ นอกจากนี้
จะไม่ค่อยมีการยกเท้าขึ้นจากพื้น แต่จะใช้การเขยิบเท้าแทนการยกเท้ามากกว่า

เอกสารอ้างอิง จากบทความ เรื่องรำมอญ ๑๒ ท่าของชุมชนมอญปากลัด

วารสาร เสียงรามัญ ฉบับที่ 30-31 พฤษจิกายน 2554-เมษายน 2555

สถานที่ตั้ง
ชุมชนมอญชาวปากลัด
ตำบล ทรงคนอง อำเภอ พระประแดง จังหวัด สมุทรปราการ
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
วารสารเสียงรามัญ ฉบับที่ 30-31 พฤษจิกายน 2554-เมษายน 2555
ตำบล ทรงคนอง อำเภอ พระประแดง จังหวัด สมุทรปราการ
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่