การแสดงรายการสุขนาฏกรรม
วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
1. ชุมนุมฉุยฉาย
เป็นการแสดงที่นำตัวละครในการแสดงนาฏศิลป์ไทย ได้แก่ พระ นาง ยักษ์ ลิง และพราหมณ์ ซึ่งเป็น ศิลปะการร่ายรำที่อวดลีลาท่าทางของตัวละครทั้ง 5 และเป็นการเชื้อเชิญอำนวยพรแก่ผู้ที่มาชมงานในครั้งนี้
2. ละครเทพนิยาย เรื่อง พระไพศรพณ์เทพเจ้าแห่งธัญญชาติ
พระไพศรพณ์เทพเจ้าแห่งธัญญชาติ ได้รับบัญชาจากพระอิศวรให้อวตารลงมายังโลกมนุษย์ เพื่ออำนวยผล ให้ปวงเหล่าเกษตรกรผ่อนคลายความทุกข์ มีความอุดมสมบูรณ์ โดยได้จุติเป็นแม่พระโพสพเทพธิดาแห่งข้าว
3. เมขลา-รามสูร
นางเมขลา เทพธิดารักษามหาสมุทร มีแก้วมณีประจำกาย ครั้นถึง วสันตฤดูก็ออกจากวิมานไปร่วมร้อง อย่างสำราญกับเทพบุตรเทพธิดา ฝ่ายรามสูรซึ่งเป็นอสูรเทพบุตรเหาะผ่านมาพบเข้า เห็นแก้วมณีมีความสวยงาม ก็เข้าขอ แต่เมขลาไม่ให้ รามสูรโกรธจึงขว้างขวานเพชรทำให้เกิดเสียงกัมปนาทดังสนั่นหวั่นไหวไปทั่ว จนเกิดเป็นตำนาน ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่าขึ้น
4. ระบำชาวนา
เป็นการแสดงสะท้อนให้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพกสิกรรมของชาวนาผู้เป็น กระดูกสันหลังของชาติ ประดิษฐ์ท่ารำโดย ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ศิลปินแห่งชาติ และทำนองเพลง โดยนายมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ
5. การทำขวัญข้าว
เป็นประเพณีหนึ่งในการทำนา ซึ่งชาวนามีความเชื่อว่าแม่พระโพสพเป็นเทพธิดาแห่งข้าว จึงได้ทำการสักการะบูชา เพื่อให้ข้าวกล้าอุดมสมบูรณ์ ผู้ทำขวัญข้าวในวันนี้ คือ ขวัญจิต ศรีประจันต์ ศิลปินแห่งชาติ
6. เพลงเกี่ยวข้าว
เป็นเพลงปฏิพากย์ที่ใช้ร้องโต้ตอบกันระหว่างพ่อเพลง แม่เพลง โดยมีลูกคู่รับ เกี่ยวกับวิถีชีวิตของการทำนา เพื่อผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อย และสร้างความสนุกสนาน นิยมเล่นกันในแถบภาคกลาง เช่น อ่างทอง สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อยุธยา เป็นต้น
จัดแสดงที่โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี ในวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549