ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 19° 17' 39.5776"
19.2943271
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 51' 15.3176"
99.8542549
เลขที่ : 153937
พระพุทธรูปหินทรายและประติมากรรมหินทราย เมืองพะเยา
เสนอโดย honey วันที่ 29 สิงหาคม 2555
อนุมัติโดย พะเยา วันที่ 5 มิถุนายน 2563
จังหวัด : พะเยา
0 626
รายละเอียด

พะเยาเป็นเมืองที่เก่าแก่แห่งหนึ่งในแผ่นดินล้านนาความเจริญรุ่งเรืองของเมืองพะเยาในอดีต กาลที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน จะเห็นได้จากมรดกทางวัฒนธรรมอันหลากหลายที่บรรพบุรุษแต่โบราณได้สั่งสม ไว้อย่างมากมาย เป็นต้นว่า โบราณสถาน โบราณวัตถุ วัดวาอาราม ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมประเพณี ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งปรากฏร่องรอยหลักฐานมาจนทุกวันนี้ ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่ของมรดกทาง วัฒนธรรมเหล่านั้น จะถูกทำลายด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของคน หรือผุพังไปตามธรรมชาติและกาลเวลาก็ ตาม มาจนถึงยุคปัจจุบันนี้ ยังคงปรากฏร่องรอยและสิ่งที่บ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองหลงเหลืออยู่ และเป็นที่ น่าภาคภูมิใจว่า มรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของเมืองพะเยาที่ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของเมืองพะเยาและ จะต้องมีการศึกษาค้นคว้าวิจัยในองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องก็คือ ประติมากรรมหินทราย ที่สำคัญที่สุด ต้องเป็นพระพุทธรูปหินทรายสกุลช่างพะเยา ซึ่งเป็นประติมากรรมที่เกิดขึ้นมากที่สุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 - 21โดยมีการน าหินทรายจากหลากหลายแหล่งมาแกะสลักเป็นพระพุทธรูปแล้วนำไปถวายให้วัดวาอาราม ต่าง ๆ เพื่อเป็นพุทธบูชาซึ่งเป็นคติความเชื่อมาแต่โบราณว่าถ้าได้อุทิศถวายสิ่งใดเพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนาแล้ว ก็จะท าให้ชีวิตมีแต่ความปกติสุข เกิดความเป็นสิริมงคล ท าให้การด าเนินชีวิตราบรื่น เมื่อล้มหายตายจากไปแล้ววิญญาณก็จะได้ขึ้นสู่สรวงสวรรค์วิมานชั้นฟ้า จากการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดี พบว่าพระพุทธรูป หินทรายที่มีลักษณะแบบอย่างจนถือว่าเป็นศิลปะสกุลช่างพะเยา มีเป็นจำนวนมาก โดยกระจัดกระจาย ตามเมืองโบราณและวัดร้าง จากหลักฐานดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่าเกิดความเจริญรุ่งเรืองทางด้านพุทธศาสนา เพราะพระพุทธรูปเปรียบเสมือนกับเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนขององค์พระศาสดาในศาสนาพุทธ เพื่อให้คนที่ เคารพนับถือได้มากราบไหว้บูชา เมื่อได้สักการบูชาแล้ว ก่อให้เกิดความสุขทางจิตใจและส่งผลให้ผู้คนที่นับถือ ได้เรียนรู่และปฏิบัติตามหลักธรรมค าสอนของศาสนาพุทธ ในที่สุดจึงมีการส่งต่อความเชื่อที่ให้ปฏิบัติดีปฏิบัติ ชอบไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน นอกจากนี้ยังพบประติมากรรมหินทรายรูปแบบอื่นที่มีความเชื่อมโยงกับคติความเชื่อ ของศาสนาพุทธ เป็นต้นว่า ประติมากรรมที่เป็นรูปช้างประดับใต้ฐานพระพุทธรูป ลักษณะเป็นช้างล้อม มีทั้ง หมอบหรือยืน ประติมากรรมรูปสิงห์ที่ใช้ประดับทางเข้าพระวิหาร บ้างก็แกะเป็นสถูปเจดีย์เล็กๆ รวมไปถึงมี การแกะเป็นรูปบัวที่ใช้ประดับบนหัวเสาเป็นต้น ซึ่งหลักฐานที่กล่าวมานี้ ขณะนี้ได้ถูกจัดเก็บและจัดแสดง ณ หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมค า และพิพิธภัณฑ์เวียงพยาว วัดลี เหตุสำคัญที่มีการนำเอาหินทรายมาท าเป็นประติมากรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปนั้น น่าจะมีสาเหตุมาจากพื้นที่ในเมืองพะเยาตามที่ได้กล่าวไว้ในหัวข้อพื้นที่ปฏิบัติ ที่พบว่ามีแหล่งหินทรายอยู่เป็น จำนวนมาก เป็นหินทรายที่มีคุณภาพ มีลักษณะเป็นสีอมชมพูและมีสายแร่ออกสีทองผสมผสานอยู่ด้วย ง่ายต่อ การแกะสลัก และเมื่อน ามาแกะสลักแล้วก็เกิดความงดงาม ละเอียดประณีต ประกอบกับในยุคนั้น เมืองพะเยา มีช่างฝีมือที่เชี่ยวชาญการแกะสลักหินทรายอยู่เป็นจำนวนมาก และสอดคล้องกับหลักฐานข้อมูลทาง ประวัติศาสตร์ที่นักวิชาการเชื่อกันว่า ในสมัยที่ขุนเจืองธรรมิกราช กษัตริย์ที่ครองเมืองพะเยาสืบต่อจากพ่อขุน ศรีจอมธรรม ได้ขยายอิทธิพลไปครองครองดินแดนถึงอาณาจักรขอมและเมืองแกวเมืองญวน หรือประเทศ เขมรและเวียตนามในปัจจุบัน ได้กวาดต้อนและน าช่างฝีมือที่มีความสามารถส่งกลับมายังเมืองพะเยา จึงทำให้ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านประติมากรรมหินทราย

หมวดหมู่
โบราณวัตถุ
สถานที่ตั้ง
หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ
ถนน พหลโยธิน
ตำบล เวียง อำเภอ เมืองพะเยา จังหวัด พะเยา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
พระพุทธรูปหินทราย
บุคคลอ้างอิง นราภรณ์ มหาวงศ์ อีเมล์ dpum08@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา(อ.เมืองพะเยา)
เลขที่ 73/1 ถนน ดอนสนาม
ตำบล เวียง อำเภอ เมืองพะเยา จังหวัด พะเยา รหัสไปรษณีย์ 56000
โทรศัพท์ 054485781-2 โทรสาร 054485783
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่