ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 10' 49.0516"
17.1802921
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 31' 38.3164"
104.5273101
เลขที่ : 158018
พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร สำหรับผู้ที่เกิดวันพุธ(กลางวัน)
เสนอโดย นครพนม วันที่ 13 กันยายน 2555
อนุมัติโดย นครพนม วันที่ 13 กันยายน 2555
จังหวัด : นครพนม
0 126
รายละเอียด

เป็นประติมากรรมลอยตัว แบบปูนปั้นพระพุทธรูปประจำวันเกิด พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร สำหรับผู้ที่เกิดวันพุธ(กลางวัน) เป็นพระพุทธรูปที่อยู่ในอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประคองบาตรราวสะเอว มีประวัติความเป็นมาเมื่อพระพุทธเจ้า ได้สำแดงอิทธิปาฏิหารย์เหาะขึ้นไปในอากาศต่อหน้าพระประยูรญาติทั้งหลาย เพื่อให้พระญาติผู้ใหญ่ได้เห็น และละทิฐิถวายบังคมแล้ว จึงตรัสเทศนาเรื่อง พระมหาเวสันดรชาดก ครั้นแล้วพระญาติทั้งหลายก็แยกย้ายกันกลับ โดยไม่มีใครทูลอาราธนาฉันพระกระยาหารเช้า ในวันรุ่งขึ้น ด้วยเข้าใจผิดคิดว่าพระองค์เป็นราชโอรส และพระสงฆ์ก็เป็นศิษย์ คงต้องฉันภัตตาหารที่จัดเตรียมไว้ในพระราชนิเวศน์เอง แต่พระพุทธองค์กลับพาพระภิกษุสงฆ์สาวก เสด็จจาริกไปตามถนนหลวงในเมือง เพื่อโปรดเวไนยสัตว์ (ผู้ที่พึงสั่งสอนได้) อันเป็นกิจของสงฆ์ และนับเป็นครั้งแรก ที่ชาวเมืองกบิลพัสดุ์ได้มีโอกาสได้ชมพระจริยาวัตรขณะทรงอุ้มบาตรโปรดสัตว์ ประชาชนจึงต่างแซ่ซ้องอภิวาทอย่างสุดซึ้ง แต่ปรากฏว่า พระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดาทรงทราบเข้าก็เข้าใจผิดและโกรธพระพุทธองค์ หาว่าออกไปขอทานชาวบ้าน ไม่ฉันภัตตาหารที่เตรียมไว้ พระพุทธเจ้าจึงต้องทรงอธิบายว่า การออกบิณฑบาต เป็นการโปรดสัตว์มิใช่การขอทาน จึงเป็นที่เข้าใจในที่สุด วัดบ้านโคกกลาง หมู่ที่ ๑๗ ตำบลปลาปาก อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม จึงได้สร้างพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรไว้ ที่บริเวณ ประตูทางเข้าวัดทางขวามือ เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ผู้เกิดวันพุธ (กลางวัน) ได้สักการบูชา

หมวดหมู่
ทัศนศิลป์
สถานที่ตั้ง
วัดบ้านโคกกลาง
ตำบล ปลาปาก อำเภอ ปลาปาก จังหวัด นครพนม
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
วัดบ้านโคกกลาง
บุคคลอ้างอิง นางสาวพรมาลี ชาวหมู่
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครพนม
ถนน อภิบาลบัญชา
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองนครพนม จังหวัด นครพนม รหัสไปรษณีย์ 48000
โทรศัพท์ 042516050 โทรสาร 042516187
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่