ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 54' 11.8559"
15.9032933
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 43' 44.1001"
103.7289167
เลขที่ : 158346
การทำโหวด
เสนอโดย ร้อยเอ็ด วันที่ 14 กันยายน 2555
อนุมัติโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด วันที่ 15 กันยายน 2555
จังหวัด : ร้อยเอ็ด
1 1594
รายละเอียด

เครื่องมือที่ใช้ในการทำโหวด

๑. มีดตอก เป็นมีดที่ใช้สำหรับจักตอก มีลักษณะเป็นมีดสั้น ใช้สำหรับการเตรียมและตกแต่งกู่โหวดหรือลูกโหวด มีความคม เบา และปลายแปลม มีด้ามเล็กยาว เวลาใช้งานด้ามจะแนบกับลำตัวของผู้ใช้ ซึ่งทำให้การควบคุมมีดเป็นไปอย่างสะดวก ง่ายต่อการเกียนกู่

๒. มีดโต้ สำหรับการตัดแกนโหวด เพราะใหญ่และหนัก ใช้งานได้สะดวก

๓. ไม้แต่งโหวด เป็นไม้ไผ่ที่ทำขนาดพอเหมาะ สำหรับแต่งเสียงโหวด ให้เป็นเสียงสูง เสียงต่ำ ตามต้องการ

๔. กระดาษทราย
๕. เลื่อย

วัสดุในการทำโหวด
๑. ไม้ไผ่เฮี่ย หรือไม้กู่แคน

๒. ไม้ไผ่รวกหรือไม้ไผ่เชี่ยงไพ ใช้ทำแกนกลาง

๓. ขี้สูดเป็นตัวยึดไม้ลูกโหวดให้ตัดกับแกนกลองและทำจมูกโหวดและอุดรูไม้ไผ่เฮีย หรือไม้กู่แคนเพื่อให้เกิดเสียง

๔. พลาสติกอ่อนใช้ปิดขี้สูตที่หัวโหวด

๕. คีย์ ใช้สำหรับใช้ในการปรับของเสียงโหวด

ขั้นตอนการทำโหวด

๑. นำไม้เฮี่ยหรือไม้กู่แคน ซึ่งเป็นไม้ที่ทำลูกแคน ได้มาจากการไปตัดที่ภูเขาเขียวบนผาน้ำย้อย อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด ตัดในฤดูแล้ง เพราะถ้าตัดในฤดูฝนไม้จะขึ้นมอด เลือกเอาไม้ที่แก่ ไม้เฮี่ยจะมีลักษณะลำต้นเป็นปล้อง ๆ เหมือนไม้ไผ่ชนิดหนึ่ง (คำว่า "เฮี่ย" เป็นภาษาอีสานแปลว่า เรี่ยราด หรือ เกิดขึ้นอยู่ทั่วไป) หลังจากนั้นก็นำมาตากให้แห้ง ใช้มีดตอก (มีดที่ชาวอีสานทำขึ้น เพื่อทำตอกมัดกล้าโดยเฉพาะมีความคมมาก) ตัดเป็นท่อน ๆ จำนวน ๑๑-๑๓ ท่อน โดยปลายด้านบนจะตัดให้เฉียงได้มุมประมาณ ๔๕ องศา เพื่อให้สวยงาม ด้านล่างตัดให้มีข้อ ถ้าไม่มีข้อจะต้องใช้ขี้สูด อุดรู ถึงจะมีเสียง กรณีของพ่อบัญชา จะขึ้นอยู่กับขนาดโหวดโดยใช้ตั้งแต่ ๑๑-๑๓ ลูก

๒. การอุดขี้สูด นำไม้เฮี่ยที่ตัดแล้ว ซึ่งไม่มีข้อมาอุด เสียงที่เกิดจาการอุดขี้สูดและความสั้นยาวของไม้ ถ้าไม้สั้นอุดขี้สูดลึก เสียงจะแหลม ถ้าไม้ยาวอุดขี้สูดตื้นเสียงจะต่ำ ปัจจุบัน ได้มีการดัดแปลงแบบ เพื่อให้นำไม้เฮี่ยสวมใส่ในแบบ เพื่ออุดขี้สูดตามแบบที่สวมใส่ให้เต็ม วิธีการโดยใช้

น้ำลูบแบบที่จะสวมใส่ก่อน เพื่อไม่ให้ขี้สูดติดแบบ จากนั้นเอาขี้สูดใส่ใช้ไม้กดให้แนบสนิทไม่ให้ลมผ่านไปได้ จึงจะมีเสียงดังออกมา ทดลองเป่าดูใช้ความชำนาญในการฟังเสียง และแต่งขี้สูดใหม่ถ้ายังไม่ได้เสียงตามต้องการ ในช่วงแรก ๆ ใช้วิธีการกดขี้สูดให้สนิทขยับขึ้น – ลง ให้ได้เสียงตามต้องการ เสียงของโหวดในช่วงแรก ๆ ที่เป่าจะประกอบด้วย ๕ เสียง คือ โด เร มี ซอล ฟา เท่านั้น

๓. นำไม้แกนโหวดมาติดขี้สูด โดยปั้นให้เป็นยาว ๆ แล้วนำมาติดรอบ ๆ โหวด ปัจจุบันใช้

กาวลาเท็กซ์แทนเพราะขี้สูดหายาก จากนั้นก็นำลูกโหวดมาเรียงติดกับไม้แกนกลาง การติดจะติดวนซ้ายการเป่าจะเป่าวนขวา เวียนจนครบ ๑๑ - ๑๓ ลูก

๔. ใช้ขี้สูดติดหัวโหวดให้เต็มเท่ากับไม้แกนกลาง บางทีเรียกว่า "จมูกโหวด" และแต่งให้นูนคล้ายหมวก โดยใช้มีดเล็ก ๆ หรือไม้ไผ่ที่ผ่าเป็นซีกแล้วก็ได้ เพื่อให้เกิดความลาดลงใช้เป็นที่รองคางเมื่อเวลาเป่าส่งลมผ่านเข้าไปในท่อลูกโหวดจนทำให้เกิดเสียง และใช้พลาสติกอ่อนปิดบริเวณขี้สูดไว้ เพื่อกันขี้สูดติดคาง

สถานที่ตั้ง
ตำบล ผาน้ำย้อย อำเภอ หนองพอก จังหวัด ร้อยเอ็ด
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองร้อยเอ็ด จังหวัด ร้อยเอ็ด
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่