ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 23' 21.007"
16.3891686
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 9' 26.4766"
104.1573546
เลขที่ : 159942
การประดิษฐ์หุ่นสัตว์จำลองจากวัสดุธรรมชาติ
เสนอโดย ร้อยเอ็ด วันที่ 22 กันยายน 2555
อนุมัติโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด วันที่ 22 กันยายน 2555
จังหวัด : ร้อยเอ็ด
2 1986
รายละเอียด

การประดิษฐ์หุ่นสัตว์จำลองจากวัสดุธรรมชาติ
นายพรชัย กองอุดม อายุ ๔๒ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๙๑ หมู่ที่ ๘ บ้านหนองม้า ตำบลเมยวดี อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด โทรศัพท์ ๐๘๗-๒๓๓๓๙๒๐
นายพรชัย กองอุดม เป็นคนที่มีความรักธรรมชาติและชอบสังเกตสัตว์และแมลงที่อยู่ตามธรรมชาติ รวมกับ นายพรชัย กองอุดม ได้รักในศิลปะและมีความคิดสร้างสรรค์ในตัวอยู่และชอบใช้ชีวิตแบบลูกทุ่งตามท้องไร่นา หาเลี้ยงวัวและควายมาตั้งแต่เด็ก ไล่จับตั๊กแตน จักจั่น ตามประสาเด็กที่อยู่ในชนบท และสัมผัสชีวิตจริงของธรรมชาติ พวกมดแดง จินตนาการแมลง ผีเสื้อ จิ้งหรีด กบ เขียด หนู ปู ปลา จนเป็นภาพแห่งความทรงจำในจินตนาการมาตลอดไม่เคยลืม และได้เห็นการ์ตูนในสมัยยังเป็นเด็กเสริมความรู้เดิม นายพรชัย จึงได้คิดจินตนาการในการที่จะประดิษฐ์เศษวัสดุที่สามารถนำมาได้จากท้องถิ่นที่อาศัยอยู่นำมาคิดประดิษฐ์ให้เป็นตัวแมลงชนิดนั้น ๆ แต่ทำให้ดูแปลกใหม่ ถ้าดูแล้วจะคล้ายกับตัวแมลงที่ทำขึ้นมา เช่น จักจั่น กบ นก แมลง มด เต่า ตั๊กแตน เป็นต้น แล้วนำมาปรับประยุกต์ให้เหมือนกับธรรมชาติที่แมลงอาศัยอยู่เดิม จึงนำความรู้ดังกล่าวสร้างสรรค์งานศิลปะเชิงอนุรักษ์ไว้ เพื่อแสดงออกมาเชิงศิลปะจำหน่าย ซึ่งเป็นรายได้เสริมของครัวเรือน จนกระทั่งทุกวันนี้ สำหรับคุณค่าของการประดิษฐ์เศษวัชพืชมาประกอบเป็นแมลงเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้นำเศษวัชพืชและเศษวัสดุที่หาได้ตามท้องถิ่น นำมาเลือกสรรและจัดทำความสะอาด ดัดแปลงและต่อเติมโดยการใช้กาวแห้งเร็วและสว่างเป็นตัวช่วยในการประกอบ โดยการนำเอาวัสดุที่หาได้ไม่มีค่าแรงและราคาประกอบกันตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีราคาและเพิ่มมูลค่า สร้างรายได้ให้กับครอบครัว
ขั้นตอนการทำ
วัสดุ/อุปกรณ์ในการทำแมลงแต่ละชนิดจะขึ้นอยู่กับลักษณะรูปร่าง และการนำเศษวัสดุมาประกอบกัน
ขั้นตอนที่ ๑ การทำตัวแมลง ใช้เมล็ดมะค่า ๒ ชิ้น มาติดกันจะได้ส่วนตัวแล้วใช้เมล็ดสะบ้ามาต่อกันเป็นก้นโดยการเจาะรู โดยใช้ส่วนเล็กเจาะรูใส่สลักติดกาวให้แข็งแรง
ขั้นตอนที่ ๒ การทำหัวแมลงก้นโด่ง โดยเอาเม็ดมะค่ามาเจาะรูใสสลักติดกาวกับส่วนตัวแล้วเจาะใส่ฟัน ๒ เล่ม โดยได้จากหนามไม้ไผ่เล็ก ๆ หนวด ๒ เส้น โดยใช้ลวดทองแดง เจาะรูใส่สลักติดกาวให้แข็งแรง
ขั้นตอนที่ ๓ การทำขาแมงก้นโด่ง ใช้สว่านเจาะรูตรงซังไม้มะค่า (ตัวแมลง)ทั้ง ๒ ข้าง ๆ ละ ๓ ขา รวม ๖ ขา ใช้ลวดทองแดงทำขาแล้วหยอดกาวแห้งเร็ว จัดลีลาท่าทางและเคลือบเงา
ผลงานภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้ถูกบันทึกและเผยแพร่ในสื่อมวลชนหลายแขนง ท่านสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เยี่ยมชม ทัศนศึกษา ซื้อผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติได้ที่พรชัย (น้อย,ถิ่นป่า) บ้านเลขที่ ๙๑บ้านโป่ง หมู่ที่ ๔ ตำบลบุ่งเลิศ อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด โทรศัพท์หมายเลข ๐๘๗ - ๒๓๓๓๙๒๐

สถานที่ตั้ง
บ้านหนองม้า
เลขที่ ๙๑ หมู่ที่/หมู่บ้าน
ตำบล เมยวดี อำเภอ เมยวดี จังหวัด ร้อยเอ็ด
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นายพรชัย กองอุดม
ตำบล เมยวดี อำเภอ เมยวดี จังหวัด ร้อยเอ็ด
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่