ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 43' 43.5346"
16.7287596
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 34' 12.5652"
98.5701570
เลขที่ : 16007
ศาลเจ้าพ่อพะวอ
เสนอโดย Manop Chuenphakdi วันที่ 19 มกราคม 2554
อนุมัติโดย Pat วันที่ 21 มกราคม 2554
จังหวัด : ตาก
1 506
รายละเอียด
ดินแดนประจิมของไทยโดยเฉพาะ ๕ อำเภอชายแดนตะวันตกสุดของจังหวัดตาก ผู้คนทั่วไปส่วนมากเคารพนับถือ ท่านเจ้าพ่อพะวอ และ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสมือนหนึ่งเป็นศูนย์รวมใจของผู้คนทั่วไป ที่เคารพเทิดทูน ในดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของ ท่านเจ้าพ่อพะวอ และดวงวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ถึงพระวีรกรรมอันห้าวหาญและความเสียสละของท่านอย่างทรงพลัง ที่สมควรแก่การยกย่องเทิดทูนบูชา เมื่อสมัยเกือบร้อยปีมาแล้วมีการสร้างศาลเล็ก ๆ แล้วอัญเชิญดวงวิญญาณของท่านเจ้าพ่อพะวอสิงสถิต ณ เชิงเขาซึ่งอยู่ฟากฝั่งของขุนเขาซึ่งเป็นเส้นทางเดินทัพสมัยโบราณ กาลต่อมาในราวปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ทางหลวงสายตาก – แม่สอด กำลังก่อสร้างอยู่ พ่อค้าข้าราชการและประชาชนทั่วไปได้ร่วมกันสร้างขึ้นใหม่ เป็นศาลจตุรมุข โดยอัญเชิญดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของท่านเจ้าพ่อพะวอ และผู้กล้าหาญทั้งหลาย จากศาลเดิมเชิงเขาด้านทิศเหนือมายังเชิงเขาทางด้านทิศใต้ของขุนเขา ดังที่ทุกท่านเห็นในปัจจุบันนี้ พร้อมกันสร้างรูปจำลองของท่านขนาดเท่าองค์จริงด้วยทองสำริด อัญเชิญขึ้นประดิษฐาน ณ ศาลเจ้าพ่อพะวอมาตราบเท่าทุกวันนี้ ก่อนที่จะถึงอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ประมาณ ๑๗ กิโลเมตรก็จะเป็นสถานที่สำคัญยิ่งของชาวอำเภอแม่สอด คือ ศาลเจ้าพ่อพะวอ มงคลสถานศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กว่าสองร้อยปีมาแล้วที่ ศาลเจ้าพ่อพะวอ ตั้งตระหง่านอยู่บน ขุนเขาผาวอ เทือกเขาถนนธงชัยเป็นที่เคารพสักการะของชนทั่วไป ผู้ที่ผ่านสัญจรไปมาต้องแวะกราบไหว้เสมอ ศาลเจ้าพ่อพะวอ อนุสาวรีย์ที่สร้างขึ้น ด้วยความเคารพศรัทธาปสาทะอย่างแรงกล้า ต่อวีรบุรุษชาตินักรบชาวกะเหรี่ยงปกากะญอ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองอันเป็นที่เคารพอย่างสูงสุด ของชาวอำเภอชายแดนซีกตะวันตกสุดของจังหวัดตาก ศาลเจ้าพ่อพะวอ ตั้งอยู่บนเนินดินเชิงเขาพะวอ บนถนนสายตาก-แม่สอด บริเวณกิโลเมตรที่ ๖๒-๖๓ ศาลนี้เป็นที่เคาร พนับถือของชาว เมืองตากและแม่สอดมาก เล่ากันว่าท่านเป็นนักรบชาวกะเหรี่ยง สมเด็จพระนเรศวรทรง แต่งตั้งให้เป็นนายด่านอยู่ที่ด่านแม่ละเมาเพื่อคอย ป้องกันข้าศึกมิให้ข้ามเขามาได้ เดิมทีศาลเจ้าพ่อพะวอ อยู่อีกด้านหนึ่งของเขา แต่เมื่อตัดถนนไปทางใหม่จึงได้มาสร้างศาลขึ้นใหม่ มีผู้เล่าว่าศักดิ์สิทธิ์มาก ถ้าใคร ไปล่าสัตว์ในบริเวณเขาพะวอแล้วมักจะเกิดเหตุต่าง ๆ เช่น รถเสีย เจ็บป่วย หรือหลงทาง และเพราะเหตุที่ เจ้าพ่อ พะวอเป็นนักรบจึงชอบเสียงปืน ผู้ที่เดินทางผ่านนิยมยิงปืนถวายท่านเป็นการแสดงความเคารพ หรือมิฉะนั้นก็จะจุดประทัด หรือบีบแตรรถถวาย ชาวบ้านเล่ากันมาว่า “พอถึงฤดูฝนที่นี่จะได้ยินเสียงอาม๊อก (เสียงปืนใหญ่) เสียงนี้จะดังลั่นสนั่นไปทั่วทั้งเมืองและหุบเขา เชื่อกันว่าเป็นการเตือน จากเจ้าพ่อพะวอว่าเกิดอะไรขึ้น ถ้าเป็นต้นฝนก็หมายความว่า ลงพืชไร่ได้ แต่ถ้าเป็นฤดูแล้ง หมายความว่า จะเกิดอาเพศ” ผาวอขุนเขางามที่สูงเสียดฟ้า ป้อมปราการและหอคอย ที่สามารถมองเห็นการเดินทัพของข้าศึกในสมัยโบราณเป็นอย่างดี เป็นปราการหินที่สูงตระหง่าน ดุจประตูเมืองที่แข็งแกร่ง บริเวณศาลเจ้าพ่อพะวอหลังเดิม คือ ที่ตั้งของด่านแม่ละเมาที่ท่านและไพล่พลจำนวนหนึ่งคอยดูแลรักษา หาข่าวแจ้งเหตุไปยังเมืองตาก และเมืองระแหงอีกทอดหนึ่ง เมื่อมีเหตุหรือข้าศึกศัตรูรุกล้ำแดนมา ขุนเขาผาวอ ที่อาจจะเพี้ยนเสียงมาเป็น พะวอ ก็ได้เหมือนกัน ผาวอ เป็นขุนเขาที่ตั้งของด่านแม่ละเมา เป็นขุนเขาที่มีรูโหว่เป็นโพลงถ้ำ อาจจะเรียก ผาโหว่ ก็ได้ ชาวกะเหรี่ยงซึ่งเป็นเจ้าถิ่นเดิมแห่งนี้ อาจจะเรียกว่า พาวอ หรือ พะวอได้เหมือนกัน มานพ ชื่นภักดิ์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ อ้างอิง : สมศักดิ์ เชาวกีรติพงศ์.,๒๕๕๔.
สถานที่ตั้ง
ศาลพะวอ
หมู่ที่/หมู่บ้าน 4
ตำบล แม่ปะ อำเภอ แม่สอด จังหวัด ตาก
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สมศักดิ์ เชาวกีรติพงศ์
บุคคลอ้างอิง สมศักดิ์ เชาวกีรติพงศ์ อีเมล์ kloymai909@hotmail.com
รหัสไปรษณีย์ 63110
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่