ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 16' 55.146"
14.2819850
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 37' 10.7976"
100.6196660
เลขที่ : 160204
การเพาะเห็ดตับเต่า
เสนอโดย anong123 วันที่ 23 กันยายน 2555
อนุมัติโดย พระนครศรีอยุธยา วันที่ 24 กันยายน 2555
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
9 24177
รายละเอียด

การเพาะเห็ดตับเต่าใต้ต้นโสน

ประวัติความเป็นมา

เห็ดตับเต่ามีลักษณะดอกขนาดใหญ่ หมวกเห็ดมน ผิวมันเนื้อแข็ง สีน้ำตาลเข็ม ก้านโคนใหญ่ เท่าที่พบดอกเห็ดตับเต่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีน้ำหนักเกือบ 2 กิโลกรัม มีขึ้นตามธรรมชาติตลอดแนวที่ลุ่มริมคลองโพธิ์ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชาวภาคเหนือและภาคอีสานจะนิยมรับประทาน ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู จะมีพ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อให้ราคาสูงกิโลกรัมละ 50-70-90 บาท มีความต้องการของตลาดสูงแต่เห็ดที่มีอยู่ในธรรมชาติไม่เพียงพอแก่ความต้อง การของตลาดมีเท่าไรขายหมดในหลายปีที่ผ่านมาชาวบ้าน ได้ลองผิดลองถูกพยายามเพราะเห็ดเต่าขายให้ทันตามความต้องการของตลาด เนื่องจากเห็ดตบเต่าไม่สามารถเพราะปลูกในโรงเรือนเหมือนกับเห็ดทั่วไป

เห็ดตับเต่าจะขึ้นตามธรรมชาติเฉพาะในพื้นที่ลุ่มริมคลองและต้องขึ้นปะปนอยู่ ในป่าโสนเท่านั้น ด้วยภูมิปัญญาของชาวบ้านเฝ้าศึกษาใช้พยายามกันอยู่นานหลายปี จนทราบเคล็ดลับการเพราะปลูกเห็ดตับเต่าวิธีธรรมชาติผสมผสานกับเทคนิค ที่เกิดจากความคิดของชาวบ้าน

สามารถบังคับให้เห็ดตับเต่าออกดอกสร้างกำไรได้สำเร็จเป็นแห่งแรก จากการสังเกตพบว่า เห็ดตับเต่าชอบขึ้นตามที่ลุ่ม ปะปนกับต้นโสนมีปริมาณน้ำฝนตกลงพอสมควร

ชาวบ้านจึงเริ่มด้วยการเก็บเผาวัชพืชตามพื้นที่ลุ่มริมคลองก่อน จากนั้นจะติดตั้งสปริงเกอร์ ให้น้ำสร้างความชื้นสันทัดเพื่อให้เมล็ดต้นโสน ที่จมฝังตามพื้นดินทีมีอยู่ตามธรรมชาติ งอกเจริญเติบโตเป็นป่าโสนเมื่อต้นโสนมีอายุประมาณ 1 เดือนเศษ จะมีความสูงท่วมหัว เป็นช่วงจังหวะที่ชาวบ้านจะเข้าทำความสะอาดกำจัดวัชพืชใต้ต้นโสน ด้วยการวิธีถอนหรือ ถากถางเท่านั้น จะไม่ใช้สารเคมี รอฝนตกลงมาสร้างความชื้นให้เห็ดเจริญเติบโต

ต่อมาชาวบ้านได้ทดลองติดสปริงเกอร์ให้น้ำแทนฝนตก พบว่าได้ผลเกิดคลาด เห็ดเจริญเติบโตออกดอกก่อนกำหนดฝนตก

ปัจจุบันชาวบ้านที่เพราะปลูกเห็ดตับเต่ามีรายได้จากเห็ดตับเต่ามากกว่าทำนำ ทำแปลงเห็ดตับเต่า 1 ไร่ มีกำไรมากและดีกว่าทำนา 50 ไร่ ราคาซื้อขายหน้าแปลงเห็ด กิโลกรัมละ 50-70- 90 บาท เกษตรกรที่ดูแลเอาใจใส่ดีใช้น้ำอุณหภูมิที่เหมาะสมสม่ำเสมอ

จุดเด่น

เห็ดตับเต่ามีลักษณะดอกขนาดใหญ่ หมวกเห็ดมน ผิวมัน เนื้อแข็ง สีน้ำตาลเข็ม ก้านโคนใหญ่ เท่าที่พบดอกเห็ดตับเต่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีน้ำหนักเกือบ 2 กิโลกรัม มีขึ้นตามธรรมชาติตลอดแนวที่ลุ่มริมคลองโพธิ์ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

เคล็ดลับในการผลิต

เทคนิคผลิตเห็ดตับเต่านอกฤดูนี้ลุงออด ได้มาจากคุณลำไพซึ่ง ขั้นตอนการปฏิบัติเริ่มจากการโกยดินที่อยู่ในคลองจะนำเอาเมล็ดต้นโสนที่แช่น้ำอยู่ขึ้นมาด้วยเมล็ดโสนที่แช่น้ำอยู่พอเอาขึ้นมาก็จะขึ้น หว่านปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก (มูลโค มูลไก่) กระจายบางๆ ด้านบนทับทับดินที่ลอกคลองขึ้นมา รดน้ำให้ดินชุ่มชื้นเสมอ เมื่อรดน้ำต่อเนื่อง 10-15 วัน ดอกเห็ดจะเริ่มแทงดอกขึ้นจากดิน การออกดอกเห็ดจะเร็วหรือช้าขึ้นกับความชื้นในดิน ถ้าดินแห้งเห็ดจะไม่ออกดอกเลย ดอกเห็ดตับเต่านอกฤดูมีคนมาซื้อถึงในสวน ดอกตูม กก.ละ 70-90 บาท ดอกบาน กก.ละ 50 บาท ไร่หนึ่งได้เห็ด 10-20 กก. ห้ามใช้สารกำจัดวัชพืชโดยเด็ดขาด เพราะเห็ดจะไม่ออกดอกเลย และมีผลต่อเนื่องอยู่นาน อนึ่งการผลิตเห็ดตับเต่าปีหนึ่งทำได้หลายรุ่น จึงกลายเป็นรายได้หลักไปแล้ว

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

-การเตรียมฐานที่

-นำเมล็ดพันธุ์ต้นโสนหว่าน

- พอต้นโสนขึ้นประมาณ ๗๐ เซนติเมตร ก็เอาเชื้อเห็ดไปลาดให้ทั่วพื้นที่

- การหมักเชื้อเห็ด นำเห็ดที่ดอกบานแล้วนำมาใส่ในกระป๋องแล้วเติมน้ำใส่ลง

ไปแล้วปิดฝาทิ้งไว้อย่างน้อย ๑ เดือน

- เห็ดตับเต่าจะขึ้นโดยอาศัยรากของต้นไม้

กลุ่มผู้ผลิต : การเพาะเห็ดตับเต่าใต้ต้นโสน

สถานที่ผลิต : บ้านเลขที่ ๑๑ หมู่ที่ ๔ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

๑๓๑๖๐

หมายเลขโทรศัพท์ : ๐๘ ๒๙๕๓ ๙๘๑๑

สถานที่ตั้ง
ตำบลตลิ่งชัน
เลขที่ ๑๑ หมู่ที่/หมู่บ้านซอย - ถนน 2953-
ตำบล ตลิ่งชัน อำเภอ บางปะอิน จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ตุณเมธญา ชูชัยยะ
บุคคลอ้างอิง anong ananrattanasuk อีเมล์ anong_anan@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอบางปะอิน
เลขที่ ๑๑/๑๑ หมู่ที่/หมู่บ้าน ๑๑ ซอย - ถนน บางปะอิน - บางไทร
ตำบล บ้านเลน อำเภอ บางปะอิน จังหวัด พระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13160
โทรศัพท์ 082 9539811 08769190 โทรสาร 035 261001
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่