ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 9' 35.3945"
17.1598318
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 9' 45.6718"
104.1626866
เลขที่ : 160450
ศาลเจ้าปู่-เจ้าย่า(ศาลเจ้าพ่อเสือ) จังหวัดสกลนคร
เสนอโดย สกลนคร วันที่ 24 กันยายน 2555
อนุมัติโดย สกลนคร วันที่ 24 กันยายน 2555
จังหวัด : สกลนคร
3 968
รายละเอียด

ศาลเจ้าปู่-เจ้าย่า(ศาลเจ้าพ่อเสือ)

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีชาวจีนอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารมากขึ้น

เรื่อยๆ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและง่ายต่อการดูแลชาวจีน พระมหากษัตริย์ในสมัยนั้นจึงทรงแต่งตั้งขุนนางเป็นคนจีนในตำแหน่งพระยาโชฎึกราชเศรษฐี มากำกับดูแลชาวจีนด้วยกัน ชาวจีนในเมืองไทยเมื่อมีความเดือดร้อนก็มักจะพากันไปหาพระยาโชฎึกราชเศรษฐีให้ช่วย เหลือ บ้านของพระยาโชฎึกราชเศรษฐีก็กลายเป็นศูนย์รวมเป็นสถานที่พบปะสังสรรค์ของชาวจีนทั้งหลาย เวลามีงานเลี้ยงมีงานสารทและพิธีกรรมต่างๆ ก็ใช้บ้านของพระยาโชฎึกราชเศรษฐีเป็นสถานที่จัดงาน เมื่อเวลาผ่านมา ชาวจีนเพิ่มจำนวนมากขึ้น จึงแบ่งกันเป็นชุมชนหลายๆ ชุมชน เห็นว่าบ้านของพระยาโชฎึกราชเศรษฐีคับแคบ ไม่เพียงพอกับการจัดงานสังสรรค์และจัดทำพิธีกรรมต่างๆ จึงได้ตกลงร่วมใจกันจัดสร้างศาลเจ้าของแต่ละชุมชนเพื่อประกอบพิธีกรรมอันเป็นมงคลต่างๆ แรกเริ่มได้สร้างเป็นศาลเจ้า เรียกกันว่า”ศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า” และได้นิยมสร้างเป็นศาลเจ้าเพื่อเผยแพร่ออกไปตามแต่ละชุมชนและแต่ละจังหวัด นอกจากนี้ก็ยังมีการสร้างศาลเจ้าของเทพเจ้าองค์อื่นๆ ตามมาด้วย เช่น ศาลเจ้าไต่ฮงกงโจวซือ ศาลเจ้าพ่อกวนอู ศาลเจ้าแม่กวนอิม เป็นต้น ปึงเถ่ากง-ม่า เป็นเทพเจ้าแห่งความศักดิ์สิทธิ์และมีความเชื่อกันว่า เมื่อผู้ใดได้กราบไหว้บูชา จะดลบันดาลให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข ประกอบกิจการงานใดๆ ลุล่วงไปด้วยดี เป็นเทพเจ้าที่คนจีนและคนไทยเชื้อสายจีนทุกคนมีความศรัทธาและสักการบูชา เป็นศูนย์รวมแห่งน้ำใจของชาวจีน อันแสดงถึงความรัก ความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ซึ่งเปรียบเสมือนศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สำหรับความเป็นมาของศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ปึงเถ่าม่า สกลนคร เมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๕๐๔ พ่อค้าชาวจีนในสกลนครมีประมาณ ๘๐ ครอบครัว มีพ่อค้าที่ได้พบปะสังสรรค์กันอยู่เป็นประจำได้ปรึกษา หารือกันที่จะสร้างศาลเจ้า”ปุงเถ่ากง-ปุงเถ่าม่า สกลนคร”ขึ้น เพื่อให้เป็นที่พึ่งทางใจของชาวจีนและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจในการดำรงชีวิต สร้างขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของบรรพบุรุษ สร้างความสามัคคีกลมเกลียวกันในหมู่คณะ จึงมีผู้ดำเนินการก่อสร้างศาลเจ้าในครั้งแรกอันประกอบไปด้วย (๑.)นายใบ แซ่เตีย(บิดานายเต็ก ตีรสวัสดิชัย (๒.)นายเต็ก ตีรสวัสดิชัย (๓.)นายเซี่ยวย้ง แซ่โง้ว(นายบุญยง แซ่โง้ว) (๔.)นายสุรินทร์ วรรัตนธรรม (๕.)นายวิเชียร อรุณเกียรติก้อง (๖.)นายคอยู้ แซ่เตีย (๗.)นายฉั่งเอี๋ยว แซ่คู (๘.)นายสุ่ยหยู แซ่คู (๙.)นายซุ่งกุ่ย แซ่อึ้ง (๑๐.)นายเซียมฮั้ว แซ่เอี้ยว (๑๑.)นายเซียมง้วน แซ่เจียม (๑๒.)นายวิศิษฐุ์ วัฒนะสุชาติ (๑๓.)นายปองศักดิ์ ว่องพาณิชเจริญ ในการสร้างศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ปึงเถ่าม่า ครั้งเริ่มแรกตั้งอยู่บริเวณสนามหญ้า ถนนสุขเกษม ตรงธนาคารทหารไทย สาขาสกลนครปัจจุบัน เมือคราวจัดงานสมโภชสักการบูชา คณะกรรมการจัดงานก็สร้างสิ่งเซี่ยง(ที่ประทับปึงเถ่ากง-ปึงเถ่าม่า) และเวทีงิ้วชั่วคราวที่บริเวณลานโพธิ์ วัดศรีบุญเรือง (เดิม) ถนนใจผาสุก ตรงร้านสเลเตและร้านมงคลพานิช ปัจจุบันได้อัญเชิญปึงเถ่ากง-ปึงเถ่าม่าแห่ทั่วเมือง เพื่อให้ชาวตลาดร้านค้าได้กราบไหว้และรับรูปของปึงเถ่ากง-ปึงเถ่าม่าไปปักไว้ที่กระถางรูปที่บ้านเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ครอบครัว เมื่อแห่ทั่วเมืองแล้วก็อัญเชิญไปประทับที่สิ่งเซี่ยง เพื่อจัดงานสมโภช ซึ่งสมัยแรกนั้น แสดงงิ้วเพียง ๓ วัน ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้สร้างศาลเจ้าหลังใหม่บนที่ดินของยายนาค วิทยาขาว ซึ่งเป็นแม่ยายของนายเซี่ยมฮั้ว แซ่เอี้ยว(ร้านสกลมิลเลอร์) เป็นบริเวณที่ดินที่มีระดับสูงมากอยู่ข้างโรงเรียนสกลนคร(วันครู ๒๕๐๑) ถนนสุขสวัสดิ์ ใกล้ศูนย์ราชการและในเวลาต่อมาคณะกรรมการจัดงานได้ย้ายสถานที่จัดงานสมโภชมาที่สนามโรงเรียนสกลราษฎร์อนุกูล ถนนเปรมปรีดา ซึ่งเป็นบริเวณห้างศรีสกลพลาช่า ปัจจุบัน ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้สร้างศาลเจ้าหลังใหญ่ มาตรฐานตามแบบของศาลเจ้าจีนในจังหวัดใหญ่ๆ ใช้เวลาเกือบ ๒ ปี ในการก่อสร้างมีสันลวดลายตามแบบตำราจีน งบประมาณในการก่อสร้างได้รับแรงศรัทธาจากพ่อค้าในจังหวัดสกลนครจำนวนมาก สร้างในบริเวณสนามเมตตาธรรมมูลนิธิสกลนครติดกับศาลไต่ฮงกงโจวซือ ในพื้นที่ ๓ ไร่ ถนน ต.พัฒนา ของนายเต็ก-นางเอ็ง

ตีรสวัสดิชัย คู่สามีภรรยาย ผู้มีคุณูปการต่อเมตตาธรรมมูลนิธิสกลนครที่ได้บริจาคที่ดินแปลงนี้เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ เพื่อสร้างสำนักงานเมตตาธรรมมูลนิธิสกลนคร ในโอกาสนี้นายสุรินทร์-นางพรรณพิศ วรรัตนธรรม ได้บริจาคเงินสร้างประตูใหญ่ทางเข้าศาลเจ้าด้วยและได้จัดงานสมโภชที่บริเวณสนมเมตตาธรรมมูลนิธิสกลนคร ตั้งแต่ปี ๒๕๒๗ เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน ได้จัดงาน ๖ คืน ตั้งแต่วันที่ ๑๑ ถึงวันที่ ๑๖ เดือนธันวาคมทุกปี “ศาลเจ้าปู่-เจ้าย่า” และ “ศาลไต่ฮงกงโจวซือ” ตั้งอยู่เคียงคู่ในนั่นเอง แต่คนพื้นเมืองหรือชาวสกลนครดั้งเดิมจะเรียกบริเวณศาลเจ้าทั้งสองแห่งนี้ง่ายๆ ว่า “ศาลเจ้าพ่อเสือ” นั่นเอง (ผู้ให้ข้อมูลนายฮุย แต้ศิริเวชช์ อดีตประธานเมตตาธรรมมูลนิธิ ๙ สมัย อำเภอเมืองสกลนคร)

สถานที่ตั้ง
๑๗๘๐/๒๔
ถนน ต.พัฒนา
ตำบล ธาตุเชิงชุม อำเภอ เมืองสกลนคร จังหวัด สกลนคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นายฮุย แต้ศิริเวชช์ อดีตประธานเมตตาธรรมมูลนิธิ ๙ สมัย อำเภอเมืองสกลนคร
บุคคลอ้างอิง ว่าที่พันตรีประภาส สะท้านอิทธิฤทธิ์ อีเมล์ praphat2555@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร
รหัสไปรษณีย์ 47000
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่