พิธีกรรม:ประเพณีในการทำพิธีเซ่นสังเวยเจ้าปู่มเหสักข์ ในสมัยก่อนมักทำในช่วงเดือนมีนาคมของทุก ปี เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ชาวนาเก็บเกี่ยว เสร็จ มีเงินทองจับจ่ายอย่างสะดวก เป็นช่วงเวลาที่ เดินทางสะดวกก่อนถึงฤดูฝนและมักจะทำ พิธีสามปีต่อครั้ง ดังที่กล่าวกันว่า " สองปีฮาม สามปีคอบ" โดยการเซ่นสังเวย ในยุคนั้นเชื่อว่า วัว-ควาย ที่ถึงคราว หมดอายุขัยจะมาตายเองที่ศาลเจ้าปู่ ผู้คนเตรียมเครื่องปรุงอาหารไว้ให้พร้อมเพื่อทำลาบ แดง ลาบขาว เนื้อหาบ เนื้อคอน ถวายเจ้าปู่ก่อน หลังจากนั้น ลูกหลานเจ้าปู่จึงบริโภคให้หมด ให้สิ้นห้ามนำกลับบ้าน
อย่างไรก็ดี พิธีกรรมดังกล่าวในปัจจุบันก็เปลี่ยนไปตามกาล เวลา โดยเฒ่าจ้ำและผู้รับภารหน้าที่จะ จัดเครื่องเซ่นสังเวย อาหารคาว พานบายศรี ขันธ์ 5 ขันธ์ 8 ตามธรรมเนียมเพื่อไหว้เจ้าปู่ ในตอนเช้า มีการแสดงเช่นหมอลำให้ประชาชนชมใน ช่วงกลางวัน ส่วนในภาคกลางคืนเป็นการชุมนุม พี่น้องลูกหลานชาวผู้ไทย กะป๋องวาริชภูมิ หน้าศาลเจ้าปู่ มีการแสดงฟ้อนรำผู้ไทย กะป๋อง ฟ้อนบายศรีขณะเดียวกันก็จะมี การผูกข้อต่อแขนให้ศีลขอพรจากผู้ เฒ่าผู้แก่
สาระ
วันที่ 6 เมษายน ของทุก ปี จึงเป็นวันที่มีความหมายของชาวผู้ ไทยวาริชภูมิทั้งที่อยู่ใกล้และไกลที่จะ ต้องพยายามมา "ตุ้มโฮม" รวมพี่รวมน้อง ชาวผู้ไทยภาพที่ชาวผู้ไทยหลั่งไหลเข้า กราบไหว้บูชารูปปั้นเจ้าปู่มเหสักขำไม่ ขาดสายท่ามกลางเสียงอวยชัยอวยพรของตนนับ หมื่นคนกลางลานหน้าศาลเจ้าปู่มเหสักข์แสดงถึง ความพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อย่างหา ได้ยากของสังคมชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ที่มี เจ้าปู่มเหสักข์เป็นสายโยงใยให้ศรัทธาความเชื่อ ของผู้คนเหล่านี้มารวมกันได้อย่างน่า สรรเสริญ