ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 45' 40.1976"
13.761166
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 30' 40.3524"
100.511209
เลขที่ : 163525
ภาพอสุภกรรมฐาน บนฝาผนังพระอุโบสถ วัดโสมนัสวิหาร ราชวรวิหาร
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 9 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 9 ตุลาคม 2555
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
0 2459
รายละเอียด

วัดโสมนัสวิหาร ราชวรวิหาร (วัดโสม) เป็นพระอารามหลวงชั้นโท โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2396 เพื่อเฉลิมพระเกียรติและอุทิศพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี พระบรมราชเทวี

พระอุโบสถมีหน้าบันเป็นศิลปะไทยกับจีนผสมกันภายในมีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 4มีภาพชุดปริศนาธรรม ที่เรียกว่า ภาพอสุภกรรมฐาน ที่ฝาผนังในระหว่างช่องหน้าต่างทั้ง 10 และที่ฝาผนังมุมทั้ง 8 ของพระอุโบสถ มีภาพอสุภกรรมฐาน 10 ประการ ตามที่ปรากฏในคัมภีร์พระสูตร ดังนี้ คือ

1. ซากศพที่เน่าพองขึ้น
2. ซากศพที่มีสีเขียว
3. ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลออก
4. ซากศพที่ขาดกลางตัว
5. ซากศพที่แร้งกาสุนัขเป็นต้นยื้อแย่งกัดกินแล้ว
6. ซากศพที่มือเท้าและศีรษะขาดไปอยู่คนละทาง
7. ซากศพที่ถูกสับบั่นเป็นท่อน ๆ
8. ซากศพที่ถูกฟันด้วยศัตรามีโลหิตไหลอาบอยู่
9. ซากศพที่มีหนอนคลาคล่ำอยู่
10. ซากศพที่มีแต่ร่างกระดูก

ซึ่งภาพเหล่านี้ถึงแม้จะดูน่ากลัว แต่ก็ถือเป็นหลักความเป็นจริงและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง แก่พระภิกษุ และผู้ที่ได้พิจารณา เพื่อมุ่งกำจัดราคะ

มีการสันนิษฐานว่า สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ ป.๙) เป็นผู้ที่เขียนภาพอสุภะทั้ง 10 อย่างนี้ และยังกล่าวกันว่า รูปพระเถระที่นั่งหรือพิจารณาอสุภกรรมฐานทั้ง 10 ภาพนี้ เป็นรูปของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม และภาพของสมเด็จพระวันรัต (ทับ) รวมอยู่ด้วย ซึ่งรูปภาพดังกล่าวเป็นรูปเหมือนของพระเภระกรรมฐานที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นทั้งสิ้น

หมวดหมู่
ทัศนศิลป์
สถานที่ตั้ง
วัดโสมนัสวิหาร ราชวรวิหาร
เลขที่ 646 ถนน กรุงเกษม
ตำบล วัดโสมนัส อำเภอ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย จังหวัด กรุงเทพมหานคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง อรวินท์ เมฆพิรุณ อีเมล์ orrawin@gmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่