ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 31' 26.1304"
14.5239251
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 23' 54.5633"
102.3984898
เลขที่ : 164934
หมอนฟักทอง
เสนอโดย นิ๊งหน่อง วันที่ 19 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย นครราชสีมา วันที่ 22 ตุลาคม 2555
จังหวัด : นครราชสีมา
1 6657
รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา

ปี ๒๕๔๐ นางนุ่ม สอนสูข ได้ไปอาศัยอยู่กับญาติที่บ้านละนาวพวง ต. โคกสนวน อ.ชำนิ จ.บุรีรัมย์ ขณะนั้นมีวิทยากรจากอำเภอมาสอนชาวบ้านทำหมอนฟักทอง ตัวเองมีความสนใจจึงได้เข้าร่วมอบรมทำหมอนฟักทอง ระยะเวลาอบรม ๑ สัปดาห์ จึงมีความรู้พอทำได้ และได้ลองทำมาเรื่อย ๆ จนฝีมือดี ทำได้สวยงาม ต่อมาปี ๒๕๔๕ ตนและครอบครัวได้กลับมาอยู่บ้านโนนแสนสุข และได้ทำหมอนฟักทองใช้เอง ญาติๆ และเพื่อนบ้านเห็นและชอบจึงขอให้นางนุ่มสอนการทำหมอนฟักทองให้ โดยรวมกลุ่มแม่บ้านที่มีความสนใจ จำนวน ๑๕ คน นางนุ่มจึงสอนการทำหมอนฟักทองให้และทำกันมาจนถึงปัจจุบัน

อัตลักษณ์/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์หมอนฟักทองมีลวดลายที่ละเอียด ฝีมือประณีต ใช้ผ้าดิ้นเงิน ดิ้นทอง จึงมีความแวววาว ระยิบระยับ สวยงามแบบไทยๆ

ลักษณะของชื่อผลิตภัณฑ์บ่งบอกถึงตัวผลิตภัณฑ์ “หมอนฟักทอง “ ลูกฟักทอง

มาตรฐาน และรางวัลที่ได้รับผลิตภัณฑ์หมอนฟักทอง ผลิตใช้กันเองในกลุ่มผู้ที่มีใจรักและสนใจ การรวมกลุ่มก็เป็นกลุ่มแบบธรรมชาติไม่มีกฏระเบียบข้อผูกพัน ผลิตเพื่อใช้ ประดับ ตกแต่งบ้านเรือนให้สวยงาม หรือใส่ตู้โชว์ มีผู้สนใจสั่งซื้อก็ทำขายให้ ปัจจุบันยังไม่มีการรับรองมาตรฐาน หรือโลห์รางวัลใดๆ

ความสัมพันธ์กับชุมชนบ้านโนนแสนสุข มีวัฒนธรรมประเพณี งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ งานบวช เป็นต้น ในงานประเพณีต่างๆ เหล่านี้ชาวบ้านจะนิยมใช้หมอนฟักทองประกอบการตกแต่งในพิธีเพราะมี สีสันสดใส มันวาวระยิบระยับ สวยงาม นอกจากใช้ในงานแล้ว หมอนฟักทองยังมีความสำคัญกับชุมชนหลายประการ คือทำให้ผู้ผลิตเกิดการพัฒนาฝึกฝนตนเอง มีความรู้ความสามารถด้านงานฝีมือ ประดิดประดอย ทำให้เกินสมาธิ ใจเย็น และจิตใจอ่อนโยน ทำให้มีรายได้เสริม การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สร้างความรู้รักสามัคคีในหมู่คณะ สร้างชื่อเสียงให้กับหมู่บ้าน

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

๑. ผ้าดิ้นเงิน ดิ้นทอง

๒. ปากกา และ ไม้บรรทัด

๓. เข็มสอยผ้า เบอร์ ๙

๔. ด้ายเย็บผ้าตามสีผ้า และด้ายวีนัส

๕. เส้นใยสำหรับยัดหมอน เช่น นุ่น ใยโพลี

๖. กรรไกร

๗. กระดุมปั๊บ

ขั้นตอนการผลิต

๑. เตรียมผ้า ( ดิ้นเงิน ดิ้นทอง ) ขนาดกว้าง ๕๐ ซม. ยาว ๑๑๐ ซม.

๒. ตีตาราง ขนาด ๑ ซม. ( นับตารางเป็นคู่) ลงบนผืนผ้า

๓. เย็บริมผ้ากันลุ่ย แค่ ๓ ด้าน

๔. ใช้เข็มร้อยด้ายแล้วเย็บสอยผ้าตามลายที่ตีตารางไว้ จนเสร็จทั้งใบ

๕. ใช้ด้ายวีนัสเย็บริมผ้า แล้วดึงรูดผ้าทำทั้งสองด้าน

๖. ยัดนุ่นหรือใยโพลีจนเต็มได้ที่พอดี แล้วเย็บปิดผ้า แล้วใช้กระดุมติดทับปิดรอยเย็บ

๗. ใช้พลาสติกใส่ห่อหุ้มกันเปื้อน และทำให้หมอนฟักทองดูเด่นขึ้น นำไปใช้ประโยชน์ตามต้องการ

เทคนิค / เคล็ดลับในการผลิต

๑. การตีตารางต้องเท่ากัน และเป็นตารางคู่เท่านั้น

๒. เวลาเย็บสอยผ้าต้องดึงด้ายไม่ตึง ไม่หย่อน จนเกินไป

๓. ผ้าที่ใช้ต้องมีสีสันสดใส มันวาวระยิบระยับ

กลุ่มผู้ผลิต / ผู้ประกอบการ

ชื่อกลุ่ม “ กลุ่มหัตถกรรมแม่บ้านโนนแสนสุข “

สมาชิก จำนวน ๑๕ คน

กรรมการ จำนวน ๙ คน

สถานที่ประกอบการ บ้านเลขที่ ๔๙ ม.๒ บ้านโนนแสนสุข ต.สระว่านพระยา อ.ครบุรี

จ. นครราชสีมา

ประธานกลุ่ม นางทองม้วน ชินแสน

เบอร์โทรติดต่อ ๐๘๑-๑๕๙๗๖๓๒

แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์

๑. ที่ทำการกลุ่ม

๒. อบต.สระว่านพระยา

๓. ศูนย์เทคโนโลยีบ้านบุหว้า ม.8 ต.สระว่านพระยา

๔. ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน OTOP สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอครบุรี

๕. ออกร้านแสดงและจำหน่ายสินค้าที่ทางราชการจัดให้ เช่น พัฒนาชุมชน กศน. อบต. เกษตร เป็นต้น

สถานที่ตั้ง
กลุ่มหัตถกรรมแม่บ้านโนนแสนสุข
เลขที่ บ้านเลขที่ หมู่ที่/หมู่บ้าน ม.๒ บ้านโนนแสนสุข
ตำบล สระว่านพระยา อำเภอ ครบุรี จังหวัด นครราชสีมา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอครบุรี
บุคคลอ้างอิง นางฝากฝัน อรรณพานุรักษ์
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอครบุรี
เลขที่ ๑ ที่ว่ากา หมู่ที่/หมู่บ้าน ๓ บ้านแชะ
ตำบล แชะ อำเภอ ครบุรี จังหวัด นครราชสีมา
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่