ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 12' 48.2623"
14.2134062
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 56' 31.1435"
100.9419843
เลขที่ : 165115
ตำบลโพธิ์แทน
เสนอโดย นครนายก วันที่ 22 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย นครนายก วันที่ 22 ตุลาคม 2555
จังหวัด : นครนายก
0 683
รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา(เช่นความเป็นมา,สถานที่ค้นพบ,ตำนานที่ค้นพบ)

ตำบลโพธิ์แทน จากคำบอกเล่า มีประวัติความเป็นมา ๒ เรื่อง

- สันนิษฐานดั้งเดิมชื่อตำบลโพธิ์แทน นั้นน่าจะมาจากลักษณะภูมิศาสตร์ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง ประชาชนจะกระจาย กันอยู่ตามพื้นที่เนินสูงที่น้ำไม่สามารถท่วมถึง ซึ่งในอดีตมีเรื่องเล่ากันต่อมาว่า ในฤดูน้ำหลากเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ ทำให้ชาวบ้าน และสัตว์ป่าต้องอพยพขึ้นไปอยู่บนที่สูงเหนือน้ำ ในจำนวนนั้นมีช้างโขลงใหญ่หนีขึ้นไปอยู่บนสันดอนซึ่งมีต้นโพธิ์และโบสถ์เก่า เมื่อระยะ เวลาผ่านไปน้ำยังไม่ลดโขลงช้างเกิดความหิวโหยจึงอาละวาดโค่นล้มกัดกินต้นโพธิ์ ต่อมาช้างทั้งหมดได้ตายโดยที่ ชาวบ้านไม่สามารถ ช่วยเหลืออะไรได้ หลังการฤดูฝนผ่านไป น้ำลดลงเป็นปกติ ชาวบ้านได้ระลึกถึงโขลงช้างดังกล่าวจึงได้นำ ต้นโพธิ์ไปปลูกแทนไว้ ณ ที่เดิม ต่อมาประขาชนได้ขยายที่อยู่อาศัยลงมาเรื่อย ๆ จึงได้ตั้งชื่อตำบลโพธิ์แทนจนถึงปัจจุบัน

- เดิมตำบลโพธิ์แทนขึ้นอยู่กับตำบลบางปลากด และแยกมาเป็นตำบลโพธิ์แทน เมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๑๑และที่เรียกตำบลว่า ตำบลโพธิ์แทน ตามชื่อวัดโพธิ์แทน ที่วัดโพธิ์แทนมีต้นโพธิ์ต้นหนึ่ง และต่อมาต้นโพธิ์ได้ล้มตายลง และได้มีต้นโพธิ์ต้นใหม่เกิดขึ้นแทนต้นโพธิ์ต้นเก่าจึงเรียกว่า โพธิ์แทน

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การปรับปรุงเขตตำบล ในท้องที่อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๙ โดย นายสุจริต ปัจฉิมนันท์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๕๔ ง หน้า ๗๘ ลงวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๔๙)

ปัจจุบันตำบลโพธิ์แทน เป็นตำบลในเขตการปกครองของอำเภอองครักษ์ ซึ่งประกอบด้วย ๙ หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ ๑ บ้านเขมรฝั่งใต้, หมู่ ๒ บ้านคลอง ๑๔, หมู่ ๓ บ้านมหาวงษ์,หมู่ ๔ บ้านโพธิ์แทน,หมู่ ๕ บ้านลาดสะเอ็ดหมู่ ๖ บ้านปากแบน, หมู่ ๗ บ้านเขมรฝั่งเหนือ,หมู่ ๘ บ้านองพาด, หมู่ ๙ บ้านคลองต้นตาล มีกำนัน
ปกคลองท้องที่ตามลำดับ ดังนี้
๑. นายเชน เจริญนา พ.ศ.๒๕๑๑ – พ.ศ.๒๕๓๐ กำนันคนแรก

๒. นายประจวบ หอมลำดวน พ.ศ.๒๕๓๐ – ปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๕)

สภาพทั่วไปของตำบลโพธิ์แทน มีแม่น้ำไหล่ผ่าน ๒ สาย แม่น้ำบางปลากด กับแม่น้ำนอง และมีคลองชลประทานคลอง ๓๑ โดยทั่วไปพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม ส่วนใหญ่อยู่ริมชายคลองระดับน้ำขึ้นสูงในช่วงฤดูฝนทำให้เกิดภาวะน้ำท่วม และการที่ตำบล โพธิ์แทนมีพื้นที่ราบลุ่มนั้นจึงเหมาะแก่การทำการเกษตร ลักษณะดินเป็นดินปนทรายและดินเหนียว สภาพพื้นที่สามารถปลูกข้าวนาหว่าน ไม้ผล พืชผัก ไร่นาสวนผสม และที่อยู่อาศัย อาชีพหลัก ทำนา อาชีพเสริม ทอเสื่อกก , ปลูกผักกะเฉด

ตำบลโพธิ์แทน ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ของอำเภอองครักษ์ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอองครักษ์
ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครนายกประมาณ ๓๗ กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลหนองหมู อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี
และตำบลบ้านพริก อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลบางปลากด อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลบ้านพริก ตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลศาลาครุ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี

ความสำคัญ

๑. ชุมชน ได้รู้ประวัติความเป็นมาในถิ่นฐานของตน โดยมี วัฒนธรรมประเพณี พิธีกรรมทางศาสนา และความเชื่อ ที่ปฏิบัติร่วมกันมาอย่างยาวนาน หล่อหลอมให้คนในชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุขเสมอมา

๒. การบันทึกได้สร้างความรู้สึกความเป็นเจ้าของวัฒนธรรมของคนในชุมชนนั้น

๓. การบันทึกเป็นการปกป้องรักษา ฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่นมิให้สูญหายหรือถูกครอบงำจากวัฒนธรรมที่ไม่พึงประสงค์

คำสำคัญ
ตำบลโพธิ์แทน
หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
ตำบลโพธิ์แทน
ตำบล โพธิ์แทน อำเภอ องครักษ์ จังหวัด นครนายก
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๕๔ ง หน้า ๗๘ ลงวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๔๙)
บุคคลอ้างอิง ส.ต.ต.หญิง กนกกาญจน์ ลอยพงศ์ศรี
ชื่อที่ทำงาน สนง.วัฒนธรรมจังหวัดนครนายก
ถนน สุวรรณศร
ตำบล โพธิ์แทน อำเภอ องครักษ์ จังหวัด นครนายก รหัสไปรษณีย์ 26000
โทรศัพท์ 037-315050
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่