ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 38' 4.3901"
15.6345528
ลองจิจูด (แวง) : E 105° 11' 14.5835"
105.1873843
เลขที่ : 165787
ผาฮูบ –ภูโลง
เสนอโดย rabbit วันที่ 28 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย อุบลราชธานี วันที่ 31 ตุลาคม 2555
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 2074
รายละเอียด

ผาฮูบ –ภูโลง ตำบลท่าหลวง อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี

ความเป็นมาของ ผาฮูบ-ภูโลง เมื่อก่อนมีคนโบราณได้สร้างโลงศพไม้คู่ไว้บนภูโลง (ถ้ำโลง) เนื่องจากการเดินทางไปสร้างพระธาตุพนม ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเจ้าเมืองจำปาสักที่เดินทางมาพร้อมกับบริวารแต่เมื่อเดินทางมาถึงภูโลงเกิดเจ็บป่วยอย่างรุนแรง ซึ่งอาการเจ็บป่วยนั้นก็คือโรคปวดศีรษะนั่นเอง เมื่อพระองค์ป่วยมากขึ้น ก็สั่งให้บริวารเตรียมโลงศพสำหรับใส่ท่าน เมื่อสิ้นพระชนแล้วให้นำไปฝังไว้ในถ้ำเสียไม่ต้องเป็นภาระในการเดินทางไปพระธาตุพนม ซึ่งสมัยนั้นเชื่อว่าใครที่เดินทางไปสร้างพระธาตุพนมได้ ให้นำของมีค่าที่ตนมีอยู่ไปฝังรวมกับพระธาตุพนม (สะดือพระธาตุ) จะทำให้ได้บุญมาก คณะที่เดินทางมาพักบนภูโลงมีความเชื่อเช่นนั้น แต่การเดินทางนั้นจะผ่านป่าไม้ ภูเขามากมาย จึงทำให้เกิดตำนานของภูแต่ละลูกแตกต่างกันไป เชื่อกันว่าเจ้าเมืองจำปาสักที่ป่วยนั้นหลังจากได้รับการรักษาและทำโลงศพเสร็จแล้วท่านก็หายป่วย แต่คณะเดินทางก็ไม่สามารถเดินทางต่อไปจนถึงพระธาตุพนมได้เพราะได้ยินเสียงฆ้อง เสียงกลองดังต่อๆ มาเป็นสัญญาณว่าพระธาตุพนมได้สร้างเสร็จแล้ว คณะเดินทางจากจำปาสักจึงไม่ได้ไปช่วยสร้างพระธาตุพนม แต่ในสมัยนั้นมีความเชื่อว่าถ้าใครมีจิตใจหรือตั้งใจจะไปสร้างพระธาตุพนม ถ้าเดินทางไปถึงไหน เมื่อได้ยินเสียงฆ้องเสียงกลองดังขึ้นก็ให้ฝังทรัพย์สมบัติของมีค่าที่เตรียมมานั้นฝังบริเวณที่มาถึง แล้วให้หาอาสาสมัครที่เดินทางมาด้วยกันว่าใครจะอยู่เฝ้าสมบัติที่ฝังไว้ เมื่อมีผู้อาสาก็จะมีพิธีกรรมบวงสรวงผู้รักษาสมบัติโดยการฆ่า แล้วเอาเนื้อหนังให้สัตว์กิน และเอากระดูกฝังรวมไว้กับสมบัติ ในสมัยนั้นคณะเดินทางมาจากเมืองจำปาสัก มีผู้อาสา ๑ คู่ ซึ่งเป็นคู่รักที่เดินทางมาด้วยกัน ชาวบ้านเรียกว่า ปู่พุ่ม และย่าเพ้ว ซึ่งเป็นคู่รักที่รักกันมากอาสาตายพร้อมกันเพื่อรักษาสมบัติที่ฝังไว้ แต่ก่อนตายก็มีการเลี้ยงฉลอง เซ่นไหว้ ตามพิธีกรรม มีการฟ้อนรำถวายอย่างรื่นเริง จึงเกิดผาฮูบ (คำว่าฮูบ เป็นภาษาอีสาน แปลว่า รูป) ซึ่งนั้นก็คือภาพต่างๆ ที่ได้เขียนจารึกไว้บนผนังถ้ำเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวที่เกิดขึ้นนั่นเอง ถ้าใครได้ไปผาฮูบแล้วจะเห็นว่ามีรูปของผู้หญิงที่กำลังฟ้อนรำชัดเจนมาก และมีแปลกอยู่อีกอย่างก็คือ รูปภาพที่อยู่บนผนังถ้ำนั้น ถ้าผนังถ้ำแห้งจะมองไม่ค่อยเห็น แต่ถ้าทำให้ผนังถ้ำเปียกน้ำก็จะเห็นชัดมาก ยังมีความเชื่ออีกอย่างคือ ถ้าใครขึ้นไปบนภูโลงนั้นจะต้องบอกกล่าวขอเจ้าของที่ที่เฝ้าสมบัติคือ ปู่พุ่ม และย่าเพ้ว ก่อนจะทำอะไรบนภูโลง ไม่อย่างนั้นก็จะไม่เห็นอะไรตามที่ต้องการ และมีความเชื่อว่าว่าหนุ่มสาวคู่ใดถ้าได้เดินขึ้นภูโลงไปด้วยกันจะได้แต่งงานกันทุกคู่ เพราะปู่ย่าบนภูโลงชอบให้คนรักกันและซื่อสัตย์ต่อกันจึงได้แต่งงานกันในที่สุดจากความเชื่อดังกล่าว เป็นความชื่อของคนในท้องถิ่น ท่านผู้สนใจโปรดใช้วิจารณญาณ ในการเชื่อถือ หรือศึกษาหาข้อมูลข้อเท็จจริงด้วยตนเองจึงจะรู้ว่า ผาฮูบ – ภูโลงนั้นเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามแปลกตา และเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติที่ควรอนุรักษ์ร่วมกันสืบไป

(หลักฐานอ้างอิง : หนังสือ มรดกอิสาน ซึ่งรวบรวมโดยชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และศิลปกรรมท้องถิ่นอำเภอตระการพืชผล)

(ที่มา : หนังสือที่ระลึกการเปิดสถานที่ท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ผาฮูบ-ภูโลง , จัดทำโดย องค์การบริหารส่วนตำบลท่าหลวง วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๕)

สถานที่ตั้ง
ผาฮูบ-ภูโลง
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านท่าหลวง
ตำบล ท่าหลวง อำเภอ ตระการพืชผล จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
หนังสือที่ระลึกการเปิดสถานที่ท่องเที่่ยวแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
บุคคลอ้างอิง ณพวรรณ จัมปะโสม อีเมล์ noppawan1971@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอตระการพืชผล
ถนน ประเทศธุรกิจ
ตำบล ขุหลุ อำเภอ ตระการพืชผล จังหวัด อุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ 34130
โทรศัพท์ 0872405152
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่