ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 46' 49.3486"
13.7803746
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 32' 39.8033"
100.5443898
เลขที่ : 166072
อาจารย์ชนก สาคริก
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 29 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 29 ตุลาคม 2555
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
0 4065
รายละเอียด

อาจารย์ชนก สาคริก เกิดเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2489 เป็นบุตรคนสุดท้อง (คนที่ 10) ในสายสกุลสาคริก บิดาชื่อ พระมหาเทพกษัตรสมุห (เนื่อง สาคริก) มารดาชื่อ นางมหาเทพกษัตรสมุห (บรรเลง สาคริก) หากนับญาติทางมารดาของอ.ชนก สาคริกแล้วท่านเป็นหลานตาของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เนื่องจากมารดาคืออ.บรรเลง ศิลปบรรเลงนั้น เป็นบุตรสาวคนที่สองของหลวงประดิษฐไพเราะฯ อ.ชนกจึงมีโอกาสได้ศึกษาและเรียนรู้วิชาดนตรีไทยจากมารดาและญาติในสายตระกูลศิลปบรรเลงด้วยอ.ชนกจบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปี พ.ศ.2513 และได้เริ่มทำงานที่การไฟฟ้านครหลวงในปีเดียวกับที่จบการศึกษา โดยทำงานอยู่ในแผนกจัดหาต่างประเทศ ฝ่ายจัดซื้อและพัสดุเป็นเวลาประมาณ 15 ปี จากนั้นจึงลาออกมาทำธุรกิจส่วนตัวคือเป็นผู้อำนวยการบริษัทแฮนดส์แอคมี่ซัพพลาย จำกัด

สำหรับประวัติการทำงานด้านดนตรีไทย นอกจากจะไปสอนดนตรีตามสถาบันการศึกษาต่างๆรวมถึงหน่วยงานภาครัฐอื่นๆที่มีกิจกรรมเกี่ยวกับดนตรีไทยแล้ว ท่านยังดำรงตำแหน่งทางวิชาการและได้รับเชิญจากสถาบันและองค์กรต่างๆให้ไปร่วมทำงานทางด้านดนตรีไทยหลายแห่ง เช่น เป็นคณะอนุกรรมการจัดทำสารานุกรมศัพท์ดนตรีไทยของราชบัณฑิตยสถาน, เป็นที่ปรึกษาของกรมสามัญศึกษาในการจัดแสดงวงมหาดุริยางค์ไทยติดต่อกัน 3 ปี, เป็นกรรมการจัดประกวดดนตรีไทยศรทองชิงถ้วยพระราชทานจัดโดยธนาคารกสิกรไทยและมูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เป็นต้น อ.ชนกได้แต่งเพลงไทยขึ้นมาใหม่อีกหลายเพลงด้วยกัน ได้แก่ เพลงภูลาว เถา (แต่งร่วมกับมารดา), เพลงลาวน่านเจ้า ฯลฯ

นอกจากนี้ยังเป็นผู้ริเริ่มนำเอาเครื่องดนตรีต่างชาติหลายชนิดมาบรรเลงเพลงไทยรวมทั้งริเริ่มจัดรูปแบบวงดนตรีไทยที่แปลกใหม่ออกไปทั้งการบรรเลงวงพิณจีนหมู่ เพลงลาวเสี่ยงเทียน เถา จำนวน 14 ตัว ณ โรงละครแห่งชาติ, การบรรเลงเดี่ยวขิมสองตัวเพลงลาวแพน โดยมีผู้บรรเลงคนเดียว ฯลฯ เนื่องจากอ.ชนกเป็นนักประดิษฐ์คิดค้นและพัฒนา ดังนั้นจึงได้สร้างสรรค์สื่อการเรียนการสอนดนตรีในรูปแบบที่ทันสมัยขึ้น อาทิ เป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องวิชชุบอร์ด ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับสอนผู้เรียนขิมจำนวนมาก, เป็นผู้คิดค้นฉิ่งไฟฟ้า (ใช้ระบบไฟกระพริบ เปิด-ปิด แทนจังหวะ ฉิ่ง-ฉับ) และท่านยังเป็นหัวหน้าทีมงานไทยคิดซอฟต์แวร์กรุ๊ป จัดตั้งโฮมเพจชื่อ Thaikids (www.thaikids.com) ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนการสอนและนำเสนอสาระที่น่ารู้ต่างๆเกี่ยวกับดนตรีไทย โดยนำเสนอผ่านการ์ตูนแอนนิเมชั่นประกอบเสียงดนตรี และยังได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) จัดทำเว็บไซท์ระนาดเอก เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงมีพระชนมายุครบ 72 พรรษาอีกด้วย ไม่เพียงเท่านี้อ.ชนกยังมีผลงานด้านงานเขียนตำรา บทความเกี่ยวกับดนตรีไทยและหนังสือเผยแพร่ธรรมะอีกหลายเล่ม เช่น คู่มือการอ่านโน้ตซอด้วง, คัมภีร์ฝึกตีขิม, ทฤษฎีภายในดนตรีไทย, อุปมาอุปไมยในธรรมะ เป็นต้น ถือได้ว่าอาจารย์ชนกคือบรมครูที่สำคัญอีกท่านหนึ่งแห่งวงการดนตรีไทยและท่านมีความตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะอนุรักษ์และพัฒนาดนตรีไทยให้แพร่หลายสืบไป นอกจากมีส่วนร่วมมากมายในกิจกรรมเกี่ยวกับดนตรีไทยแล้ว อาจารย์ยังได้ทำงานเพื่อสังคมด้านอื่นๆอีกไม่น้อยเช่นกัน ปัจจุบันอ.ชนก สาคริก ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการมูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง), เป็นผู้อำนวยการบริษัทแฮนด์แอคมี่ซัพพลาย จำกัด, หัวหน้าทีมงานไทยคิดซอฟต์แวร์กรุ๊ปและเป็นครูดนตรีไทยสังกัด ชมรมดนตรีไทยมูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)

เกียรติคุณและรางวัลที่ได้รับ

1. ได้รับพระราชทานเข็มนักอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีฯ เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย เมื่อปี พ.ศ.2534 (เสนอโดยกรมศิลปากร)

2. ได้รับโล่บุคคลดีเด่นด้านวัฒนธรรม จากสภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ.2542

3. เป็นหัวหน้าทีมงาน “ไทยคิดซอฟต์แวร์กรุ๊ป” คิดประดิษฐ์ซอฟต์แวร์ชื่อ ประดิษฐ์ไพเราะ 1 ได้รับรางวัลชมเชยจากสภาวิจัยแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ.2539

4. เป็นหัวหน้าทีมงาน “ไทยคิดซอฟต์แวร์กรุ๊ป” คิดประดิษฐ์ซอฟต์แวร์ชื่อ พิณผีเสื้อ เป็นซอฟต์แวร์สำหรับฝึกเรียนตีขิมในระบบปฏิบัติการ Windows โดยได้รับรางวัลที่ 1 ด้านสาขาปรัชญาจากสภาวิจัยแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ.2540

5. เป็นหัวหน้าทีมงาน “ไทยคิดซอฟต์แวร์กรุ๊ป” คิดประดิษฐ์ เครื่องจังหวะไทย ซึ่งเป็นอุป

กรณ์อีเล็คทรอนิคที่ช่วยตีฉิ่งและกลองให้กับนักดนตรีไทยได้อย่างไพเราะสมจริง โดยได้รับรางวัลชมเชยสาขาปรัชญาจากสภาวิจัยแห่งชาติในปี พ.ศ.2543

หมวดหมู่
ศิลปิน
สถานที่ตั้ง
เลขที่ 47 ถนน เศรษฐศิริ
ตำบล สามเสนใน อำเภอ เขตพญาไท จังหวัด กรุงเทพมหานคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง อรวินท์ เมฆพิรุณ อีเมล์ orrawin@gmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่