ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 23' 35.2363"
13.3931212
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 56' 47.4277"
99.9465077
เลขที่ : 166167
หนังสือบทสวดพระมาลัย อักษรขอม
เสนอโดย pornthip วันที่ 30 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย สมุทรสงคราม วันที่ 3 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สมุทรสงคราม
0 867
รายละเอียด

ที่ตั้งวัดอลงกรณ์ หมู่ที่ ๑ ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

หนังสือบทสวดพระมาลัย เป็นหนังสือบทสวดพระมาลัยขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดสมุทรสงคราม มีความกว้าง 14.5 เซนติเมตร ความยาว 68.5 เซนติเมตร ความหนา 10 เซนติเมตร เมื่อคลี่ออกมีความยาวหลายเมตร และภาพเขียนภายในหนังสือบทสวดมีลวดลายสวยงามมาก มีสีสดชัดเจน มีลักษณะเป็นสมุดไทยขาว จำนวน 71 หน้า มีการเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี บรรจุไว้ในตู้พระธรรมลายรดน้ำที่สวยงาม

ตัวอักษรที่ใช้เป็นอักษรขอม เขียนด้วยลายมือ และใช้หมึกดำ ภาพประกอบอักษรขอมเป็นภาพวาดลายเส้นระบายด้วยสีสดใสชัดเจน และงดงามมากเป็นภาพวาดที่งดงามมาก

เนื้อหาภายในหนังสือจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับทศชาติ และเรื่องราวของพระมาลัย ที่รับดอกบัวจากชายเข็ญใจแล้วไปโปรดสัตว์ในนรก สวรรค์ แสดงให้เห็นบาปบุญคุณ โทษ ตามคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนา แทรกภาพวาดประกอบเป็นตอนๆ มีภาพวาดทั้งหมด 18 หน้า ส่วนที่เหลือก็เป็นบทสวดพระมาลัยหรือบทสวดมนต์ธรรมดา

หน้าแรกของหนังสือเป็นอักษรไทยโบราณมีข้อความเขียนไว้ว่า

เขียน ณ วัน ๕ ฯ ๑ ค่ำ ปีมะเมีย จัตวา ๑๕๑ หน้าต้นพระธรรมมาลัย ฉันเพิ่งหัดเขียน อย่าติเลยนะท่านเอย

ทางวัดได้เก็บรักษาหนังสือบทสวดพระมาลัยไว้อย่างดีมากโดยบรรจุอยู่ในตู้พระธรรมขนาดความยาว 80 เซนติเมตร ความกว้าง 25.5 เซนติเมตร ความสูง 33 เซนติเมตร ซึ่งสร้างขึ้นพร้อมกับหนังสือเล่มนี้

สถานที่ตั้ง
วัดอลงกรณ์ ต.บางช้าง
หมู่ที่/หมู่บ้าน 1
ตำบล บางช้าง อำเภอ อัมพวา จังหวัด สมุทรสงคราม
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
พระใบฎีกาขวัญชัย นนฺทิโย เจ้าอาวาสวัดอลงกรณ์
บุคคลอ้างอิง พรทิพย์ ไชยา อีเมล์ chaiya-021@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสงคราม อีเมล์ smk_culture@hotmail.co.th
ถนน เอกชัย
ตำบล แม่กลอง อำเภอ เมืองสมุทรสงคราม จังหวัด สมุทรสงคราม รหัสไปรษณีย์ 75000
โทรศัพท์ 034-751976 โทรสาร 034-718348
เว็บไซต์ http://province.m-culture.go.th/samutsongkhram
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่