ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 7° 14' 4.4077"
7.23455770157614
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 33' 22.7453"
100.55631814013668
เลขที่ : 166419
หลุมฝังศพของสุลต่าน สุลัยมาน – พระเจ้าเมืองสงขลาคนที่ 1
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 25 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สงขลา
0 1813
รายละเอียด

ถ้าขับรถไปตามถนนสงขลา-ระโนด เมื่อข้ามสะพานติณส่วนที่ 2แล้วจะเข้าสู่เขตบ้านหัวเขาแดง อำเภอสิงหนคร เมืองสงขลาเก่าตั้งแต่สมัยที่ 1โดยปกครองโดยกษัตริย์ที่มีเชื้อสายมุสลิมคือ สุลต่านสุลัยมาน (ตามรหุม) หรือเรียกว่าพระเจ้าเมืองสงขลาคนที่ 1ซึ่งได้ประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น พระเจ้าเมืองสงขลาครองอยุธยาในระหว่าปี 2162 – 2223ความรุ่งเรืองที่พระเจ้าเมืองสงขลาได้สร้างไว้ได้แก่ ความเจริญรุ่งเรืองทางการค้าขาย มีขยายตัวทางการค้ากับดัตซ์ อังกฤษและฝรั่งเศส โดยการบันทึกเรื่องราวในสมัยนั้นจะพบเฉพาะในเอกสารของชาวต่างชาติ แต่ไม่พบในเอกสารของไทย มีเพียงการกล่าวสั้นๆในพงศาวดารสงขลา

จากบันทึกของชาวต่างชาติพบว่าพระเจ้าเมืองสงขลาในช่วงต้นยังคงเป็นข้าหลวงของกรุงศรีอยุธยา ภายใต้การดูแลของนครศรีธรรมราช แต่เมื่อมีการเปลี่ยนบัลลังก์ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองซึ่งท่านไม่เห็นด้วยจึงได้ทำการประกาศเป็นรัฐอิสระตั้งแต่นั้นมา ตรงกับปี2173ในช่วงความวุ่นวายของเมืองที่ต่างแข็งข้อ ท่านก็ได้สร้างป้อมปราการและหอรบมากมาย ร่วมกับชาวต่างชาติ หลังจากนั้นก็ขยายอำนาจไปจนกระทั่งรวมเมืองพัทลุงและนครศรีธรรมราชได้สำเร็จ ทางอยุธยาพยายามยกทัพลงมาปราบแต่ก็ไม่สำเร็จ เมืองสงขลามีความเจริญรุ่งเรืองและเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นเมืองท่าการค้าที่สำคัญโดยสินค้าหลักที่สำคัญคือ พริกไทย และรังนกบริเวณรอบทะเลสาบสงขลาเป็นแหล่งปลูกพริกไทยที่สำคัญส่งผลให้เมืองสงขลาเป็นตาดการค้าพริกไทยที่สำคัญทำให้เศรษฐกิจการค้าของเมืองสงขลาเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมากนอกจากนี้ยังมีสินค้าจำพวกข้า ถ้วย จาน ชาม และอื่นๆอีกด้วย

แต่ในช่วงปี2202สมเด็จพระนารายณ์มหาราชขึ้นครองราชย์ ทางพระเจ้าเมืองยอมรับอำนาจโดยชอบธรรมจึงส่งทูตไปยังอยุธยา แต่ก็ยังคงมีการปกครองอย่างอิสระจนกระทั่งในปี 2223ทางอยุธยาได้ยกทัพมาปราบปรามโดยให้กลอุบายให้มีไส้ศึกในเมือง ทำให้สามารถลอบเข้าเมืองแล้วเผาเมืองได้ ทัพอยุธยาได้เผากำแพงและป้อม ทำลายเมืองจนราบเพราะเกรงว่าจะแข็งเมืองอีก เรื่องราวทั้งหมดได้ถูกลบและให้ถูกลืมไปจากพงศาวดารของไทย มีเพียงบันทึกของชาวต่างชาติเท่านั้น

เมื่อเปลี่ยนราชวงศ์จากปราสาททองเป็นบ้านพลูหลวง พระเพทราชามิได้วางตัวเป็นปรปักษ์ต่อเชื้อสายสุลต่าน สุลัยมาน แต่ว่าทรงมอบตำแหน่งเจ้าเมืองพัทลุงให้บุตรชายอีกคนหนึ่งของสุลต่านได้ครองอีกครั้ง ดำรงตำแหน่งพระยาจักรี( ฮุสเซน) เชื้อสายของท่านก็ได้เป็นขุนนางจนถึงสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น และเชื้อสายของท่านสุลต่าน สุลัยมาน ก็เป็นสมเด็จพระศรีสุลาไลย พระราชมารดาของ ร.3ในราชวงศ์ปัจจุบัน

สุสานของสุลต่าน สุลัยมานหรือพระเจ้าเมืองสงขลานี้มีการสร้างศาลาครอบหลุมฝังศพของท่าน ไม่ได้มีลักษณะใดโดดเด่น อยู่ด้านหลังอาคารร้างบนถนนสงขลา-ระโนด โดยทางเข้าสุสานจะมีอักษรภาษาอาหรับบันทึกไว้เพียงว่า สุลต่านสุลัยมานเป็นบุตรของดาโต๊ะโมกอลหรือโมกุล

หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
หลุมฝังศพของสุลต่าน
ตำบล หัวเขา อำเภอ สิงหนคร จังหวัด สงขลา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่