ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 7° 2' 43.67"
7.0454639
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 28' 30.4662"
100.4751295
เลขที่ : 166472
ขนมลูกโดน
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย สงขลา วันที่ 10 มีนาคม 2556
จังหวัด : สงขลา
0 3046
รายละเอียด

ขนมลูกโดนหรือขนมดอกโดนเป็นสูตรขนมพื้นบ้านชาวปักษ์ใต้ ที่นิยมเพราะขนมลูกโดนจะทานกับชา กาแฟ อุปกรณ์หลักของขนมลูกโดนคือพิมพ์ขนมทองเหลือง เตาถ่าน ไม้แซะขนม ถาด ทัพพี ที่ร่อนแป้ง ส่วนผสมหลักที่ต้องใช้ในการทำตัวขนมก็มี... แป้งข้าวเจ้า, ไข่ไก่, น้ำตาลทราย, น้ำมะพร้าว, ผงฟู และเกลือ สำหรับไส้ขนมก็จะใช้มะพร้าวขูดเป็นเส้น

การเตรียมแป้งเริ่มจากการนำแป้งข้าวเจ้ามาผสมกับผงฟู แล้วทำการร่อนแป้งที่ผสมกับผงฟู 1 ครั้ง เพื่อให้อากาศผสมในแป้ง และทำให้ขนมเบาขึ้น จากนั้นจึงใส่น้ำตาลทราย คนให้เข้ากัน แล้วจึงบรรจงตอกไข่ไก่ใส่ลงไปทีละฟอง นวดเบา ๆ ให้น้ำตาลทรายละลาย จึงใส่น้ำกะทิ น้ำมะพร้าว คนให้เข้ากัน เสร็จแล้วเอาผ้าขาวบางกรองแป้งส่วนผสมทั้งหมด แป้งที่ผสมจะได้ละเอียด ไม่เป็นเม็ด แล้วพักไว้ 2 ชั่วโมง ให้แป้งคลายตัว ผงฟูทำงานเต็มที่

นำรางหรือพิมพ์ขนมดอกกระโดนมาตั้งไฟพอร้อน ทาน้ำมันพืชหรือเนยให้ทั่ว เพื่อช่วยให้ขนมร่อนไม่ติดพิมพ์ (ถ้าใช้พิมพ์ขนมใหม่ขนมมักจะติดพิมพ์ วิธีแก้ไขให้ใช้กากมะพร้าวขูดใส่แล้วตั้งไฟอ่อน ๆ สักพัก พิมพ์จะได้ลื่นไม่ติด) จากนั้นตักแป้งใส่กาน้ำ แล้วหยอดแป้งผสมเสร็จให้เต็มเลยหลุมขนม ใช้ผ้าจับหูพิมพ์ขนมกลิ้งละเลงไปมาให้ทั่ว ปิดฝาจนขนมสุก ใช้ไฟอ่อน ถ้าไฟแรงจะไหม้ พอขนมสุกก็แซะออกจากพิมพ์มาแผ่ไว้ในภาชนะที่เตรียมไว้ รอให้ขนมพออุ่น ๆ

ระหว่างรอให้ขนมพออุ่น ๆ ก็นำมะพร้าวที่เตรียมไว้มาขูดเป็นเส้นโรยด้วยเกลือป่นนิดหน่อย คลุกเคล้าให้เข้ากัน เสร็จแล้วจึงนำมะพร้าวขูดที่ได้ไปโรยในขนมให้ทั่ว แล้วพับครึ่งเป็นรูปวงกลม เพียงเท่านี้ก็พร้อมรับประทาน

ขอบคุณข้อมูลจาก http://ptcadvertising.blogspot.com/2011/01/blog-post_8480.html

คำสำคัญ
ขนมลูกโดน
หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
ตลาดน้ำคลองแห
ตำบล คลองแห อำเภอ หาดใหญ่ จังหวัด สงขลา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
เว็บไซต์ http://ptcadvertising.blogspot.com/2011/01/blog-post_8480.html
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่