ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 7° 10' 53.6801"
7.181577804061996
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 32' 35.2371"
100.54312141645505
เลขที่ : 166487
นกคุ่มในกรง
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 25 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สงขลา
0 2742
รายละเอียด

กิจกรรมจับนกคุ่มของคนพื้นเมืองปัจจุบันหาดูได้ยาก นกคุ่มเป็นนกที่แปลก มีสีน้ำตาล ลายสลับขาวขุ่น หางจะสั้นมาก ที่ว่าแปลกเพราะนกคุ่มไม่ชอบเกาะกิ่งไม้เหมือนนกทั่วไป แต่จะชอบเดินบนดิน เพราะเท้าของนกคุ่มมี3นิ้วหันไปทางหน้า ด้านหลังไม่มีนิ้วเท้า เหตุนี้เลยทำให้นกคุ่มไม่ถนัดที่จะเกาะกิ่งไม้ เลยลงมาเดินบนดินแทน ดังนั้นนกชนิดนี้เมื่อบินไประยะหนึ่งก็จะลงมาเดินบนดิน มีความเชื่อของนกชนิดนี้ว่า นกคุ่มจะช่วยในการรักษาทรัพย์สิน ช่วยคุ้มครองป้องกันภัยจากไฟไหม้ มีคาถาคุ้มครองป้องกันภัย เรียกว่า คาถานกคุ่ม

นกคุ่มยังแปลกตรงที่ไม่นิยมทำรังจากหญ้าแห้ง แต่จะวางไข่ไว้ใต้พุ่มไม้บนพื้นดิน ขนาดของนกคุ่มตัวผู้จะเล็กกว่าตัวเมีย วางไข่ครั้งละ3-4ฟอง

เมื่อนกมีชีวิตที่แปลกจากนกทั่วไป ดังนั้นการจับนกชนิดนี้จึงแปลกไปจากปกติเช่นกัน การจับหรือล่านกคุ่มไม่ได้ทำเพื่อเป็นอาหาร แต่เป็นการล่าเพื่อนำไปเลี้ยง เพราะความเชื่อที่ว่าสามารถคุ้มครองป้องกันทรัพย์สินได้ การล่านกคุ่มจะใช้การดักด้วยแร้วดักนก ใช้กรงต่อที่มีนกต่ออยู่ภายในที่เลี้ยงจนเชื่องให้ส่งเสียงร้องเพื่อเรียกตัวอื่นให้นกป่าเข้ามาหาในกรง นิยมให้นกคุ่มตัวเมียเป็นนกต่อเพื่อเรียกให้ตัวผู้เข้ามา

เมื่อได้นกมาแล้วจะขังไว้ในกรงเพื่อทำให้เชื่องก่อนโดยการใช้ผ้าคลุมกรงไว้ให้มีแสงน้อย นกจะได้ไม่ตกใจวิ่งชนซี่กรงนกหรือตกใจบินชนกรงได้รับบาดเจ็บ แต่การขังนกคุ่มไว้ในกรงจะต้องระมัดระวังเพราะนกคุ่มอาจจะเดินไปรอบๆกรงพยายามออกจากกรง ไม่ยอมทานอาหารจนหมดแรง หรืออาจจะใช้ปากแหย่ไปทุกซี่กรงจนเป็นแผล ทางที่ดีอย่าไปจับนกมาอยู่ในกรงจะดีที่สุด เพราะถึงจะเป็นนกที่นิสัยแปลกชอบเดินไม่ชอบบิน แต่ก็เป็นนกที่ชอบอิสระเช่นเดิม

คำสำคัญ
นกคุ่มในกรง
หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
สถาบันทักษิณคดีศึกษา
ถนน สาย 408 (เกาะยอ)
ตำบล เกาะยอ อำเภอ เมืองสงขลา จังหวัด สงขลา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่