ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 45' 8.086"
13.7522461
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 29' 53.3695"
100.4981582
เลขที่ : 166516
โขน
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 ตุลาคม 2555
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
0 3006
รายละเอียด

โขน เป็นมหรสพชั้นสูงที่ใช้แสดงในงานสำคัญๆ มาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา จัดเป็นนาฏกรรมที่มีความเป็นศิลปะเฉพาะของตนเองที่มีความสง่างาม อลังการ ขึงขังและอ่อนช้อย ผสมกันอย่างลงตัว

โขนเป็นที่รวมของศาสตร์และศิลป์หลากหลายแขนงเช่น นาฏศิลป์ คีตศิลป์ วรรณกรรม วรรณศิลป์ หัตถศิลป์ กล่าวคือ โขนนำวิธีเล่นและการแต่งตัวบางอย่างมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ โขนนำท่าต่อสู้โลดโผน ท่ารำท่าเต้นมาจากท่าปฐมในการไหว้ครูของกระบี่กระบอง และการนำศิลปะการพากย์ การเจรจา หน้าพาทย์และเพลงดนตรีเข้ามาประกอบการแสดงสำหรับการแสดงโขน ผู้แสดงต้อง สวมหัวโขน ซึ่งเป็นเครื่องสวมครอบหุ้มตั้งแต่ศีรษะถึงคอ เจาะสองรูบริเวณดวงตาเพื่อให้สามารถมองเห็น แต่ตัวละครที่เป็น เทวดา มนุษย์ และมเหสี ธิดา จะไม่ปิดหน้า เรื่องที่นิยมนำมาแสดงคือ เรื่องรามเกียรติ์และอุณรุฑ และดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงโขนจะใช้วงปี่พาทย์

โขนแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ

1.โขนกลางแปลง เป็นการเล่นโขนกลางสนาม ใช้ธรรมชาติเป็นฉากในการแสดง

2. โขนหน้าจอ เป็นโขนที่ผู้แสดงจะออกมาแสดง สลับกับการเชิดตัวหนัง มีศิลปะสำคัญในการแสดงคือการพากย์และเจรจา และผู้เชิด ตัวหนังจะต้องเต้นตามจังหวะดนตรีและลีลาท่าทางของตัวหนัง

3.โขนโรงนอกหรือโขนนั่งราว เป็นการแสดงโขนบนโรงไม่มีเตียงสำหรับตัวนายโรงนั่ง แต่มีราวพาดตามส่วนยาวของโรง ตรงหน้าฉากออกมามีช่องทางให้ผู้แสดงเดินได้รอบราวไม่มีการขับร้อง มีแต่การพากย์ - เจรจา ดนตรีก็บรรเลงเพลงหน้าพาทย์

4.โขนโรงใน เป็นศิลปะการผสมผสานระหว่างโขนกับละครใน คือ มีการออกท่ารำ เต้น สำหรับผู้ที่แสดงเป็นตัวพระไม่ต้องสวมหัวโขน และมีการพากย์ เจรจาตามแบบโขนและนำเพลงขับร้องมาประกอบ อีกทั้งมีการ ระบำ รำ ฟ้อน เข้าผสมด้วย จึงเรียกว่า โขนโรงใน

5.โขนฉาก เกิดขึ้นราวรัชกาลที่ 5 โดยมีฉากมาประกอบการแสดงโขนบนเวทีขึ้นคล้ายกับการแสดงละครดึกดำบรรพ์ประกอบตามท้องเรื่อง แบ่งเป็นฉากเป็นองก์ เข้ากับเหตุการณ์และสถานที่

ปัจจุบันนิยมแสดงเพียง 3 ประเภท คือโขนกลางแปลง โขนหน้าจอ
และโขนฉากโดยสามารถชมการแสดงโขนได้ที่โรงมหรสพแห่งชาติ เช่น ศาลาเฉลิมกรุง ฯลฯ และโรงละครอื่นๆ ที่เปิดการแสดงเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของชาติ หรือตามงานพิธีสำคัญต่างๆ เป็นต้น

สถานที่ตั้ง
จังหวัด กรุงเทพมหานคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง อรวินท์ เมฆพิรุณ อีเมล์ orrawin@gmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่