ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 44' 11.8068"
13.736613
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 29' 58.0992"
100.499472
เลขที่ : 167088
อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 5 พฤศจิกายน 2555
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 5 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
1 2407
รายละเอียด

เนื่องจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสรับสิ่งให้สำรวจสถานที่ที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เคยประทับครั้งยังทรงพระเยาว์ เมื่อประมาณเกือบ 100 ปีที่ผ่านมา ณ อาคารให้เช่าแห่งหนึ่งหลังวัดอนงคาราม ซึ่งเคยเป็น บ้าน ที่ประทับแห่งแรกที่สมเด็จย่าทรงจำความได้ และให้มีการสำรวจชุมชนในท้องที่บริเวณนั้น ซึ่งข่อนข้างจะแตกต่างจากชุมชนอื่น เพราะประกอบไปด้วยชาวไทย จีน มุสลิม และลาว เคยอาศัยอยู่ร่วมกันในบริเวณนั้นอย่างสงบสุขมาตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ปัจจุบันกิจกรรมที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชนรวมทั้งอาคารบ้านเรือนในชุมชนนับวันเปลี่ยนแปรไป สมควรจะได้ศึกษาเพื่อจะได้ฟื้นฟู หรืออนุรักษ์ให้คงอยู่สืบไป

ในระหว่างคณะที่สำรวจได้ทำการสำรวจบริเวณดังกล่าว เจ้าของที่ดิน คือ นายแดง นานาและนายเล็ก นานา ทราบเรื่องจึงน้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินบริเวณนั้นแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพื้นที่ 4 ไร่ ตอนกลางของพื้นที่เป็นที่ตั้งบ้านของเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี (แพ บุนนาค) อธิบดีกรมพระคลังสินค้า ในรัชกาลที่ 5 เป็นอาคารตึกแถวปนไม้ขนาดใหญ่ 2 ชั้น จำนวน 2 หลังตั้งขนานกัน ลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 5 ล้อมรอบตึกแถวบริเวณเรือนบริวารชั้นเดียวทางด้านขวาและด้านหลังของตึกใหญ่ ส่วนด้านซ้ายเป็นตึก 2 ชัน ลักษณะที่ล้อมลอบนี้ประยุกต์จากสถาปัตยกรรมแบบจีน อาจเก่าแก่ถึงสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นช่วงสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) บิดาเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ (แพ) เป็นผู้ปกครองชุมชนย่านนี้

ในปีพุทธศักราช 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้มีการอนุรักษ์และพัฒนาสถานที่ดังกล่าวให้เป็น “อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี”โดยมีการปรับปรุงอาคารที่เคยเป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นพิพิธภัณฑ์เทิดพระเกียรติสมเด็จย่า และให้จำลอง “บ้าน” ที่เคยเป็นที่ประทับขนาดเท่าของจริงเพื่อแสดงถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของบ้านช่างทอง คือพระชนกชูและพระชนนี

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ไว้เป็นพิพิธภัณฑ์เทิดพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และพัฒนาพื้นที่เป็นสวนสาธารณะระดับชุมชน สวนแบ่งเป็นสวนส่วนหน้าและส่วนใน สำหรับประชาชนทุกเพศ ทุกวัยใช้พักผ่อนหย่อนใจ ฟื้นฟูสุขภาพ ร่วมชุมนุมประกอบพิธีหรือ กิจกรรมรื่นเริงตามเทศกาล และเป็นแหล่งศึกษาพันธุ์ไม้ รวมถึงเป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการ อบรมศิลปะ และงานฝีมือ โดยจัดให้ผสมกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

ภายในมีสิ่งที่น่าสนใจมากมายเช่น อาคารพิพิธภัณฑ์ 2 หลัง ที่จัดแสดงเกี่ยวกับพระราชประวัติของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีและพระราชกรณียกิจพระราชจริยวัตรและงานฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

บ้านจำลอง ภายในสวนส่วนใน โปรดเกล้าฯ ให้จำลอง "บ้านเดิม" ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ครั้งเคยประทับที่ชุมชนแห่งนี้ ซึ่งอยู่ห่างไปทางวัดอนงคารามไม่เกิน 200 เมตร ตกแต่งภายในตามหนังสือ "แม่เล่าให้ฟัง" พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ศูนย์ศิลป์ศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค) เป็นอาคารโบราณ ที่ปรับปรุงขึ้นมาใหม่จากอาคารซึ่งเป็นสถาปัตยกรรม สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และได้ตั้งชื่ออาคารตามชื่อของท่านเจ้าของเดิมคือ เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี (แพ บุนนาค) อธิบดีกรมพระคลังสินค้าในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อจัดแสดงงานศิลปะหมุนเวียนทั้งในตัวอาคารและพื้นที่กลางแจ้งและจัดกิจกรรมให้ความรู้ทางศิลปะอย่างต่อเนื่องโดยจะเปิดกว้างสำหรับ ศิลปินทั่วไปในการใช้สถานที่แห่งนี้แสดงออกถึงผลงานทางศิลปะ

แผ่นหินแกะสลักแผ่นหินแกะสลักขนาดใหญ่แสดงพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี

เปิดให้บริการ ภายในอุทยานฯ : 6:00-18:00 น. (ทุกวัน)

อาคารพิพิธภัณฑ์ : 08:30-16:30 น. (ทุกวันยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

ศูนย์ศิลป์ศรีพิพัฒน์ :(แพ บุนนาค) 9:00-16:00 น. (ทุกวันยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

สถานที่ตั้ง
ซอย 3 ซอยสมเด็
อำเภอ เขตคลองสาน จังหวัด กรุงเทพมหานคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง อรวินท์ เมฆพิรุณ อีเมล์ orrawin@gmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่