ลาบเทา
ลาบเทา เป็นอาหารพื้นบ้านทางแถบอิสาน โดยการนำเทา ซึ่งเป็นสาหร่ายน้ำจืด ปรุงด้วยสูตรลาบอิสาน เรียกว่า " ลาบเทา "และเป็นที่นิยมรับประทานของชาวอิสานมาทุกยุคทุกสมัย เมนูลาบเทานี้จะเกิดขึ้นได้นั้นต้องอาศัยช่วงจังหวะที่น้ำมีสภาพอุณหภูมิ และระบบนิเวศของน้ำมีความสำพันธ์กันอย่างเหมาะสม จึงจะเกิดเทาขึ้นมาได้มากน้อยต่างกัน พบว่า... แหล่งน้ำในช่วงฤดูหนาว เป็นช่วงที่เกิดเทาได้มาก และพบเทาได้มากกว่าในช่วงฤดูอื่น (เดือนพฤศจิกายน - มกราคม)
ส่วนประกอบที่สำคัญในการทำลาบเทาได้แก่
1. เทา(พืชชนิดหนึ่ง มีสีเขียว หรือตระไตร่น้ำ)
2. ป่นปลา
3. น้ำปลาร้าต้มสุก
4. มะเขือ , ถั่วฝักยาว
5. หอมแดง
6. ต้นหอม , ยี่หร่า , ใบหูเสือ ( ยี่หร่า อิสานสนมเรียก หอมห่อ หรือ หอมเป )
7. พริกป่น , ข้าวคั่วบดละเอียด
การปรุงลาบเทา
1. ผสมน้ำปลาร้าต้มสุกกับเทา แล้วคนให้เข้ากันให้ได้รูปในลักษณะของเหลวหนืด
2. ใส่ส่วนประกอบอื่นๆ ตามกันไป ได้แก่ ป่นปลาทูนึ่ง , ถั่วฝักยาว และมะเขือ (หั่นแล้ว) , หอมแดง (หั่นแล้ว) บ้างก็ใส่กระเทียมเล็กน้อย สำหรับผู้ที่ชอบรับประทานกระเทียม , พริกป่น + ข้าวคั่วบดละเอียด , ต้นหอม + ยี่หร่า + ใบหูเสือ (ซอยแล้ว) แล้วคนให้เข้ากันทีเดียวอีกครั้ง ตักเสิร์ฟพร้อมรับประทาน
หมายเหตุ :เทาอาจมีไข่พยาธิ หรืออื่นๆ ปนมาด้วย เมื่อต้องการกำจัดไข่พยาธิด้วยวิธีการต้มเดือดลาบเทาที่ปรุงเสร็จแล้วนั้น ลาบเทาจะเหลวเป็นน้ำ แต่คุณค่าอาหารยังอยู่ หากต้องการรับประทานลาบเทาสดๆ ให้นำเทาไปแช่แข็งก่อนปรุงที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งประมาณ 10 - 20 นาที ไข่พยาธิก็จะแตก