ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 42' 57.852"
13.71607
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 31' 19.5492"
100.522097
เลขที่ : 167837
มุสลิมยะวา
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 11 พฤศจิกายน 2555
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 11 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
0 3141
รายละเอียด

ชาวยะวา (ยะหวา) เป็นมุสลิมเชื้อสายชะวาจากเกาะชะวาในอินโดนีเซีย ตามประวัติที่สามารถสืบค้นหาหลักฐานยืนยันตัวบุคคลได้นั้นกล่าวไว้ว่าได้เริ่มเข้ามาในประเทศไทยสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 (ประมาณปี พ.ศ. 2405) โดยเป็นชาวยะวาจากเมืองสุราบายาและเป็นคนในบังคับของฮอลันดา (ซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมที่ยึดครองอินโดนีเซียในตอนนั้น) สันนิฐานว่าชาวยะวาเดินทางเข้ามาประเทศไทยในขณะนั้นด้วยสาเหตุทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นในเกาะชะวา ภายใต้การปกครองของฮอลันดา (ส่วนหนึ่งน่าจะมีสาเหตุมาจากค่าจ้างแรงงานมีอัตราสูงกว่าที่ชะวา เพราะจากหลักฐานที่พบในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นปรากฏว่าค่าจ้างชนชั้นแรงงานในไทยสูงกว่าค่าจ้างแรงงานในชะวาถึง 3 เท่า) จึงเป็นเหตุชาวยะวาจำนวนไม่น้อยอพยพเข้าสู่เมืองต่างๆ รวมถึงประเทศไทย แต่ถ้ากล่าวถึงในแง่ประวัติศาสตร์ชาติไทย มีหลักฐานระบุถึงชาวจาม ชะวา มลายูว่าเข้ามายังประเทศสยามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์ท่านเสด็จประพาสชะวาเป็นจำนวน 3 ครั้งด้วยกัน โดยการเสด็จประพาสชะวาครั้งที่ 3 พระองค์ทรงนำนายเอเลนบาส ผู้เชี่ยวชาญในการเพาะปลูกชาวฮอลันดา พนักงานตรวจการเพาะปลูกและชาวยะวาอีก 2 คน มาตกแต่งสวนในพระราชวังดุสิต (สร้างขึ้นหลังจากเสด็จกลับจากชะวาครั้งที่ 2) จึงทำให้ชาวยะวาที่มีฝีมือในการตกแต่งสวนได้เข้ารับงานด้านตกแต่งสวนในบริเวณพระบรมมหาราชวังและสถานที่สำคัญอีกหลายแห่ง ซึ่งงานตกแต่งสวนถือเป็นอาชีพหลักของชาวยะวาในสมัยนั้น (รวมถึงการตกแต่งไม้ประดับในแนวถนนราชดำเนินและปลูกต้นมะขามบริเวณท้องสนามหลวงอีกด้วย) ชาวยะวาที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 5 ระยะแรกได้กระจายกันอยู่ทั่วไปในกรุงเทพฯและตามหัวเมือง จนถึงสมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีชาวยะวาเข้ามาเมืองไทยมากขึ้น เนื่องจากมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พุทธศักราช 2470 ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสแก่คนต่างด้าวให้เข้าเมืองได้โดยสะดวก ทำให้จำนวนของชาวยะวาในเมืองไทยเพิ่มขึ้นหลายพันคน โดยมีอัตราประชากรเป็นอันดับที่สองรองจากชาวมุสลิมเชื้อสายมลายู (มาเลย์-ตานี) ต่อมาชาวยะวาบางส่วนที่ไม่ประสงค์จะตั้งหลักแหล่งอยู่ในเมืองไทยก็พากันเดินทางกลับมาตุภูมิ ส่วนผู้ที่ตั้งหลักแหล่งอยู่ในเมืองไทยที่มีฐานะดีพอได้ซื้อที่ดินเป็นของตนเองและช่วยกันก่อตั้งมัสยิดขึ้นเพื่อประกอบศาสนกิจ ซึ่งความร่วมมือกันก่อสร้างศาสนสถานนี้เองเป็นจุดเชื่อมความสัมพันธ์อันดีกับพี่น้องมุสลิมเชื้อสายอื่นๆ นอกจากนี้ชาวยะวายังมีความสัมพันธ์กับสังคมอื่นอีกเช่น ในระบบของการแต่งงานกับคนไทย คนจีน แต่อยู่ในขอบเขตที่ว่าบรรดาคนไทย คนจีนที่แต่งงานกับชาวยะวานั้นจะต้องเปลี่ยนแปลงศาสนามาเป็นมุสลิมเสียก่อน

ปัจจุบันชาวมุสลิมยะวาอาศัยอยู่ในหลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร เช่น ซอยทุ่งครุ 69, บางลำภู, ตรอกจันทร์ เป็นต้นรวมถึงชุมชนใหญ่ในย่านยานนาวา

หมวดหมู่
ชาติพันธุ์
สถานที่ตั้ง
ชุมชนมุสลิมยะวา
ซอย ซอยเจริญร ถนน เจริญราษฎร์
อำเภอ เขตสาทร จังหวัด กรุงเทพมหานคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง อรวินท์ เมฆพิรุณ อีเมล์ orrawin@gmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่