ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 51' 40.788"
13.86133
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 35' 8.0988"
100.585583
เลขที่ : 168017
บ้านตุ๊กตุ่นหุ่นกระบอกไทย
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 12 พฤศจิกายน 2555
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 20 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
2 5141
รายละเอียด

หุ่นกระบอกไทยแห่งบ้านตุ๊กกะตุ่น ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยคุณนิเวศ แววสมณะ (ลูกศิษย์ของครูชื้น สกุลแก้ว ศิลปินแห่งชาติสาขาการแสดงหุ่นกระบอกไทย) นอกจากจะเป็นแหล่งผลิต ตั้งแสดงงานและการซื้อขายหุ่นกระบอกไทยแล้ว ที่นี่ยังได้เปิดบ้านให้เป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปะการประดิษฐ์รวมไปถึงเรียนรู้การเชิดหุ่นกระบอกไทย และมีคณะการแสดงหุ่นกระบอกไทยเป็นของตนเองด้วย จากการศึกษาค้นคว้าคุณนิเวศพบว่าศิลปะด้านนี้ทรงคุณค่าแต่กลับเงียบหายมาเกือบ ๑๐๐ ปี ซึ่งหุ่นกระบอกไทยมียุคเฟื่องฟูอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีผู้ประดิษฐ์และคณะการแสดงอยู่หลายแห่ง ปัจจุบันเหลือเพียงไม่กี่คณะและมีผู้ที่ทำหุ่นกระบอกเพียงไม่กี่คน ซึ่งการประดิษฐ์หุ่นกระบอกไทยต้องใช้งานฝีมือหลายสาขาเช่น งานช่างปั้น ช่างรัก(ลงรัก) ช่างเขียน ช่างแกะ ช่างหล่อ รวมทั้งงานเย็บปักดิ้นทองเลื่อม โลหะ เหตุนี้เองจึงเป็นจุดเริ่มต้นอย่างแรงกล้าที่จะสานต่องานศิลปะแขนงนี้ให้คงอยู่และพร้อมถ่ายทอดให้แก่ผู้ที่สนใจ

ลักษณะของหุ่นกระบอกไทยเป็นหุ่นกระบอกที่เรียบง่าย ซึ่งหุ่นกระบอกเป็นเพียงหุ่นตัวเล็กๆทีมีแค่ครึ่งตัวเท่านั้น และส่วนใบหน้าของหุ่นกระบอกของที่นี่จะมีความพิเศษตรงที่จะวาดให้มีใบหน้าที่อ่อนหวานและมีรอยยิ้ม แต่หากหุ่นกระบอกที่ใช้สำหรับการแสดง ใบหน้าหุ่นจะเป็นใบหน้าที่อ่อนหวาน นิ่งๆ นอกจากนี้เครื่องประดับหุ่นตั้งแต่ศีรษะและเครื่องประดับตัวหุ่นและงานปักบนเสื้อผ้าหุ่นจะมีความละเอียดประณีตวิจิตร รวมถึงลายปักที่มีการคิดออกแบบขึ้นใหม่เพิ่มเติมจากลายเดิมในอดีต และมีการนำวัสดุที่มีคุณภาพ เช่น คริสตัลชวาลอฟกี้ ดิ้นทอง เลื่อมทองเงินแท้ หรืออัญมณีแท้(หากผู้สะสมต้องการ) มาประดับอยู่ในชุดหุ่นกระบอกเพื่อเพิ่มมูลค่าของงานศิลป์ไทย

ขั้นตอนหลักๆของการทำหุ่นกระบอกไทย

๑. เริ่มจากการทำหัวหุ่นกระบอก ในปัจจุบันได้เปลี่ยนจากการแกะสลักหัวหุ่นด้วยไม้ มาเป็นการปั้นหัวหุ่นด้วยดินและทำแม่พิมพ์ด้วยยางซิลิโคนแล้วหล่อด้วยเรซิ่น โดยขั้นตอนนี้จะได้เพียงหัวหุ่นที่เป็นทรงหน้ากะโหลกเท่านั้น หลังจากนั้นเตรียมประดิษฐ์ยอดชฎาหรือเครื่องประดับศีรษะตามแบบตัวละครนั้นๆ เริ่มจากการกลึงไม้ให้เป็นทรงยอดชฎาแล้วนำสีเฟลกส์ลักษณะคล้ายสีนำ้มัน (แต่ก่อนใช้ยางรัก) มากดลายบนแม่พิมพ์ลายไทยที่แกะสลักจากหินสบู่มาประกอบเป็นลายไทยตามแบบ หลังจากนี้ปล่อยให้สีแห้งสนิทแล้วเริ่มปิดกระดาษทาสีเขียนหน้าหุ่น อาจจะทำหลายชั้นเพื่อให้หน้าหุ่นมีความเรียบสวยงามก่อนจะเขียนหน้าหุ่น เมื่อเสร็จแล้วจะเริ่มทาใช้สีเฟลกส์ลักษณะคล้ายสีนำ้มัน (แต่ก่อนก็ใช้ยางรัก) บนเครื่องประดับศีรษะเพื่อตกแต่งประดับด้วยกระจก พลอยสีเพื่อให้เกิดการความระริบระรับยามโดนแสงไฟขณะกำลังเชิดแสดงหุ่น ขั้นตอนการทำหัวหุ่นนี้ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญเพราะหุ่นกระบอกจะสวยหรือไม่และบ่งบอกความแตกต่างแต่ละคณะ อยู่ที่หน้าตาความละเอียดและสวยงามของหัวหุ่น

หมายเหตุ : ในอดีตจะแกะสลักมาจากไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้ทองหลาง ไม้นุ่นหรือไม้สัก ขั้นตอนนี้จะแกะส่วนหัวเป็นโครงหน้าและกระโหลกมาจนถึงลำคอเท่านั้น แล้วขัดแต่งให้เรียบร้อย หลังจากนั้นเตรียมประดิษฐ์ยอดชฎาหรือเครื่องประดับศีรษะตามแบบตัวละครนั้นๆ เริ่มจากการกลึงไม้ให้เป็นทรงยอดชฎา แล้วนำยางรักมากดลายบนแม่พิมพ์ลายไทยที่แกะสลักจากหินสบู่มาประกอบเป็นลายไทยตามแบบ ในขั้นตอนการทำหัวหุ่นนี้จะใช้เวลานาน บางหัวใช้เวลาร่วมเดือน หลังจากนี้ปล่อยให้ยางรักแห้งสนิท แล้วเริ่มปิดกระดาษทาสีเขียนหน้าหุ่น อาจจะทำหลายชั้นเพื่อให้หน้าหุ่นมีความเรียบสวยงามก่อนจะเขียนหน้าหุ่น เมื่อเสร็จแล้วจะเริ่มทายางรักบนเครื่องประดับศีรษะเพื่อทำการปิดทองคำเปลว 100 เปอร์เซ็นต์ แล้วประดับกระจก พลอยสีเพื่อให้เกิดการต้องแสงสวยงามเวลาเชิดแสดง สำหรับขั้นตอนการทำหัวหุ่นตามกรรมวิธีแบบฉบับดั้งเดิมนี้ จะใช้เวลานาน

๒.ขั้นตอนการประดิษฐ์ลำตัว เริ่มจากการเตรียมหาไม้ไผ่มาเป็นลำตัวหุ่น ต้องมีรูปทรงตรงได้ขนาดความสูงประมาณ ๑ ฟุตกว่าๆ เส้นผ่าศูนย์กลางให้เหมาะมือประมาณ ๑.๕ นิ้ว ขัดแต่งลบเสี้ยนไผ่ออกให้หมดและนำไม้สักเหลาเป็นไหล่หุ่นมาประกอบ จากนั้นเหลาไม้ไผ่ให้เป็นไม้ตะเกียบสองเส้นยาวประมาณฟุตครึ่งเพื่อเป็นไม้มือหุ่นทั้งสองข้าง โดยมือหุ่นแกะมาจากไม้เช่นเดียวกับหัวหุ่น จากนั้นขัดแต่งสีให้เรียบร้อย (แต่สำหรับหุ่นที่ใช้แสดงจริง ในส่วนมือจะทำมาจากกระดาษหรือหนังวัวและขัดแต่งให้สวยงาม เพราะเวลาแสดงบางตอนอาจมีการสู้รบ ซึ่งหากมือมีความแข็งก็อาจจะทำให้เกิดความเสียหายแก่หุ่นได้)

3.เตรียมเสื้อผ้าชุดหุ่น โดยจัดเตรียมผ้าลายไทย ในอดีตใช้ผ้าพิมพ์ลายที่เป็นผ้านุ่งโจงกระเบน ความกว้าง 52 ซม. ยาว 84 ซม. นำมาขึงด้วยสดึงใหญ่แล้วปักด้วยลูกปัดสี เลื่อม ดิ้นทองเงิน ตามลายที่ได้ออกแบบไว้ (บางสำนักมีการใช้ผ้าไหมทอลายมาแทนผ้าพิมพ์ลายเพื่อเพิ่มความสวยงามและมูลค้าของตัวหุ่น ซึ่งทางบ้านตุ๊กกะตุ่นหุ่นกระบอกไทยใช้ทั้งสองแบบนี้ตามความชอบของผู้สะสม) หลังจากปักลายผ้าเสร็จแล้วก็นำมาเย็บเป็นถุง โดยเจาะช่องปลายผ้าเพื่อเสียบไม้มือหุ่นทั้งสองข้าง นอกจากชุดหุ่นที่เป็นผ้าถุง ยังมีเครื่องประดับชุดหุ่นอีกมากมาย เช่น กรองคอหุ่น (ปกเสื้อ) อินธนูหุ่น (ไหล่แทนเกราะสำหรับนักรบชาย) หรือสไบห่มนาง ซึ่งตัดเย็บด้วยผ้าขึงสดึงแล้วปักดิ้นทองเงิน ลูกปัด เลื่อม ให้วิจิตรสวยงาม ถือได้ว่าเป็นการใช้ฝีมือเชิงช่างงานปักชั้นสูง โดยลายต่างๆ จะเป็นแบบแผนมาจากการปักผ้าในวังหลวง แต่ในปัจจุบันก็มีการออกแบบลายใหม่เพื่อให้เกิดความสวยงามมากขึ้น โดยขั้นตอนนี้บางชุดใช้เวลานานถึง 3 เดือนหรือเป็นปี เพราะด้วยลายที่มีความละเอียดสวยงาม ซับซ้อน

4.ตกแต่งด้วยเครื่องประดับอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ทับทรวง (สร้อย) อุบะ (ดอกไม้ทัดหู) แหวน กำไร

ข้อมือ ซึ่งประดิษฐ์เสมือนเครื่องประดับจริง แต่ย่อส่วนลงมา แล้วนำมาประดับในตัวหุ่น ซึ่งจะเพิ่มความวิจิตรสวยงามให้หุ่นกระบอกยิ่งขึ้น

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร 025798101, 0819346699 หรือ www.tookkatoon.com

สถานที่ตั้ง
เลขที่ 1/5 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3 ซอย วิภาวดี 60 ถนน วิภาวดีรังสิต
อำเภอ เขตหลักสี่ จังหวัด กรุงเทพมหานคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่