ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 28' 45.669"
17.4793525
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 58' 15.9445"
101.9710957
เลขที่ : 168493
บักค้อ (ลูกตะค้อ)
เสนอโดย MoCSpecial วันที่ 18 พฤศจิกายน 2555
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : เลย
0 1643
รายละเอียด

บักค้อ ลูกตะค้อ ผลไม้ ทางภาคอีสาน ที่เป็นที่ชื่นชอบ ในการนำมารับประทาน กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะ คนอีสาน จะชอบนำมารับประทาน กันทั้งนั้น บักค้อ หมากค้อ ที่เป็นชื่อเรียก ของคนในภาค อีสาน เพราะว่า ด้วยรสชาติที่มีความหวาน อมเปรี้ยว และอร่อยอีกด้วย เมื่อเรานำมารับประทาน กับ พริกเกลือ แถมยังได้ วิตามินซี อีกด้วย


ด้านสิ่งแวดล้อม

* เป็นพืชที่แมงแคงค้อ แมงแคงลาย แมงแคงแดงชอบอาศัยอยู่กินยอดอ่อน เป็นอาหาร

* เกิดเห็ด ตามราก กิ่งตาย ได้แก่ เห็ดซีน เกิดอยู่บริเวณใต้ร่ม ได้แก่ เห็ดปลวกไก่

* บ่างและหนูกินผลเป็นอาหาร

ด้านไม้ใช้สอย

* ลำต้น เนื้อแน่นเหนียวหนักทำสากตำข้าวดี,ใช้เลี้ยงครั่ง

* เมล็ด ทำน้ำมัน(จุดประทีป)

* เปลือก ใช้ย้อมผ้าให้สีน้ำตาล เปลือกค้อผสมกับเปลือกก่อ ให้สีกากี

ด้านอาหาร
* เปลือกต้น ขูดเอาเนื้อเปลือกตำใส่มดแดง(เปลือกนาง
กินกับตำเหมี่ยงโค่น กินกับใบส้มกบ,ส้มลม
ตำใส่เครื่องข่าตะไคร้ พริก)
* ผล นำมารับประทานจิ้มเกลือหรือนำมาซั่ว ลูกที่
หวานมากนำมากินกับข้าวได้ เปลือกผลส่วนก้น
นำตำใส่เปลือก ผสมกับเนื้อ
* เมล็ด กินได้ แต่อย่าเกิน3เม็ด เพราะจะเมา นำมาสกัด
น้ำมัน

ด้านยา

* เปลือก ใช้เปลือกนอก ขูดผสมเกลือ เป็นยารักษาสัตว์

* เปลือกต้น แก้บิด,ท้องร่วง ,มูกเลือด วิธีการ นำมาตำกิน
รักษาบาดแผลสด จากของมีคม วิธีการ
นำเปลือกบริเวณลำต้นที่วัดความสูงตาม
บาดแผลที่เกิด ขูดเปลือกค้อ นำมาผสมกับยา
ดำ(เส้นผม,ขนเพชร)แล้วนำมาพอกแผล
* ใบ แก้ไข้ โดยขยี้ใบแก่กับน้ำ นำมาเช็ดตัว
ห้ามเลือด ใช้ใบแก่ เคี้ยวให้ละเอียดใส่แผลสด
ปิดปากแผลไว้

* เนื้อผล เป็นยาระบาย
* ราก ใช้ถอนพิษ เช่น อยากหยุดเหล้า นำน้ำต้มรากมา
ผสมเหล้า และกินตอนเมา จะทำให้ไม่อยาก
กินอีกปริมาณการใช้ราก1กำมือผู้กิน เหล้า1 ก๊ง
* รสชาติ เปลือกฝาด, ผลเปรี้ยวหวาน, ใบอ่อนฝาด ,
ใบแก่รสมัน,เปลือกผลรสฝาด

อายุการใช้ประโยชน์

ต้นโตอายุ 80-100 ปี ทำเครื่องเรือน ฯลฯ อายุ 7 ปี ทำสาก ฯลฯ แล้วแต่การนำไปใช้ประโยชน์
ซึ่ง บักค้อ ที่มีมากในทางภาคอีสาน โดยเฉพาะช่วงหน้าฝน หน้าของการทำไร่ทำนา ที่มักจะนิยมนำมารับประทาน เพื่อเป็นผลไม้ ได้อีกด้วย

เพราะว่า อาจจะมีบางคน ที่ไม่รู้จัก กับผลไม้บ้านๆ แบบนี้กันสักเท่าไหร่ จึงอาจจะไม่รู้ว่า บักค้อ สามารถนำมารับประทานได้ ไม่ว่าเราจะทานข้างในผล ที่มีสีส้ม มีรสหวานอมเปรี้ยว ส่วนเปลือกของ บักค้อ เราอย่าทิ้ง เพราะว่า สามารถนำมาตำ รับประทาน เหมือนกับเรา ตำส้มตำ รับประทานได้อีกด้วย แถมยังมีรสชาติที่ อร่อยอีกด้วย สามารถทานได้ ทั้งหมดเลยล่ะ
ชื่อท้องถิ่น:หมากค้อ
ชื่อสามัญ:ตะคร้อ
ชื่อวิทยาศาสตร์: Schleichera oleosa (Lour.) Oken
ชื่อวงศ์: SAPINDACEAE
ลักษณะวิสัย/ประเภท:ไม้ยืนต้น

การใช้ประโยชน์

ส่วนที่นำ ไปใช้ประโยชน์:เนื้อไม้ ของต้น บักค้อ สามารถนำมา ใช้ในอุตสาหกรรม ทางไม้ได้อีกด้วย อย่างการ นำมาทำฟืน และถ่าน เพื่อนำมาใช้ เป็นเชื้อเพลิง

เปลือก สามารถนำมา ใช้ในการย้อมสี

ใบอ่อน สามารถนำมา กินเป็นผัก เพื่อนำมารับประทานกับแกล้ม กับอาหารอีสานได้อีกด้วย

สถานที่ตั้ง
อำเภอ นาด้วง จังหวัด เลย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่