ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 34' 52.32"
17.5812
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 43' 56.244"
101.73229
เลขที่ : 168937
พิพิธภัณฑ์ประภัศร์ จันทโชติ วัดศรีจันทร์ อนุสรณ์ วิจารณ์สังฆกิจ
เสนอโดย MoCSpecial วันที่ 25 พฤศจิกายน 2555
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : เลย
0 3438
รายละเอียด

พิพิภัณฑ์พื้นบ้านวิจารณ์สังฆกิจ วัดศรีจันทร์ มีชื่อตามป้ายที่ติดไว้หน้าอาคารพิพิธภัณฑ์ว่า “พิพิธภัณฑ์ประภัศร์จันทโชติ วัดศรีจันทร์ อนุสรณ์วิจารณ์สังฆกิจ” วิจารณ์สังฆกิจเป็นการเรียกด้วยความเคารพศรัทธาที่มีต่อพระครูวิจารณ์สังฆกิจ เจ้าอาวาสนักพัฒนา ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวิจารณ์สังฆกิจ ตั้งอยู่ภายในวัดศรีจันทร์ เลขที่ 83 หมู่ที่ 1 พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ มาจัดเสนอในรูปแบบของวัฒนธรรมพื้นบ้าน โดยแยกจัดเป็นหมวดหมู่ ดังนี้
1. ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี และศาสนา ได้แก่ นิทรรศการบุญข้าวจี่ ประเพณีประทายข้าวเปลือก ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีบุญบั้งไฟ หีบพระธรรม หนังสือผูกใบลาน เครื่องอัฐบริขาร พระพุทธรูปเก่า
2. ด้านภาษาและวรรณกรรม จัดแสดงตู้พระธรรม วรรณกรรมใบลาน และสมุดไทย
3. ด้านศิลปกรรมและโบราณคดี ประกอบด้วย เครื่องจักรสาน รางรดน้ำรูปนาคตรงกลางรางแกะสลักเป็นนกหัสดีลิงค์ เรือนไทเลย
4. ด้านกีฬาและแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ จัดแสดงการแสดงและการละเล่นพื้นบ้าน ในเทศกาลงานประเพณีต่างๆ เครื่องดนตรีหมอลำไทเลย เครื่องดนตรีพื้นบ้าน
5. ด้านวิถีชีวิตและภูมิปัญญา ได้แก่ เครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร เครื่องมือจับสัตว์ เครื่องมือทอผ้า ผ้าทอพื้นบ้าน(ซิ่นหมี่) เงินโบราณ บุ่มใส่ผ้า เตารีด ตาชั่ง ตะเกียง เครื่องปั้นดินเผา ถาดใส่อาหารสังกะสี ชามตราไก่
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวิจารณ์สังฆกิจ ได้รับการสนับสนุนจากสภาวัฒนธรรมจังหวัดเลย กรมศิลปากร สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ตลอดจนคณะกรรมการวัดศรีจันทร์และชาวบ้านทุกคน โดยมีการตั้งสภาวัฒนธรรมขึ้นมาบริหารงานโดย นางจันทะนี คะมาดา ประธานสภาวัฒนธรรมหญิงคนแรกของตำบลนาอ้อ และยังมีคณะกรรมการร่วมทำงานอีกรวม 17 คน ส่วนใหญ่จะเป็นผู้นำชุมชนและกรรมการวัด พิพิธภัณฑ์วิจารณ์สังฆกิจมีเจ้าอาวาสวัดดูแลอย่างใกล้ชิด คือ ท่านอธิการสนธ์ ปภัสโล เจ้าคณะตำบลนาอ้อได้มีการพัฒนาและดูแลการสนับสนุน รักษากระทั่งเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่สมบูรณ์แบบ จนกลายเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ของนักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยว ผู้สนใจ ตลอดจนนักอนุรักษ์วัฒนธรรม ได้อย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์ เป็นโบราณสถานที่ชาวนาอ้อภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวิจารณ์สังฆกิจ เป็นแบบอย่างพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น เนื่องจากในสภาพปัจจุบัน บ้านเมืองมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว อันเป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มีการประดิษฐ์วัตถุใหม่ๆ ขึ้นใช้แทนของเดิม ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ เป็นเหตุให้เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน และวัตถุพื้นบ้านต่างๆ อันเป็นงานฝีมือที่ผลิตขึ้นใช้เองตามท้องถิ่น เริ่มหมดไปโดยมิได้คาดคิดว่าของพื้นบ้านเหล่านั้นหาได้มีประโยชน์เพียงเพื่อใช้สอยอย่างเดียวเท่านั้น หากมีคุณค่าในงานฝีมือซึ่งเป็นศิลปะด้วย ทั้งผลิตขึ้นในยามว่างเสียเงิน เสียทองแต่อย่างใด เป็นการดำรงชีพอย่างพึ่งพาตนเอง เครื่องจักรสานที่ทำขึ้นจากหวายและไม้ไผ่ ซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น หากมีเหลือใช้ก็ส่งไปจำหน่ายในท้องตลาด เป็นผลผลิตของท้องถิ่น แต่เมื่อมีการผลิตพลาสติกขึ้นได้เองในประเทศ ก็มีโรงงานผลิต ตะกร้า กระมุง กระชอน ฝาชี และถังน้ำพลาสติก มีสีสันฉูดฉาด ส่งออกมาขายในเมือง และแพร่หลายไปตามชนบท ผลก็คือชาวบ้านพากันหันมาใช้สิ่งของที่ทำจากพลาสติกกันมากขึ้น ชุมชนเลิกผลิตและเลิกใช้ของพื้นบ้านเดิมของตนเอง ความรู้เรื่องของการจักรสานก็ค่อยๆ เจือจางไปเพราะไม่มีผู้สนใจเรียนและต่างถ่ายทอดสืบต่อ การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้มีผลกระทบกระเทือนต่อวัฒนธรรมและเศรษฐกิจของคนชนบทเป็นอย่างมาก
ในทางวัฒนธรรมถือเป็นการสลายตัวของศิลปะและคุณค่าความสำคัญของท้องถิ่น ส่วนทางเศรษฐกิจเป็นการเปลี่ยนแปลงจากการที่ชาวบ้าน ซึ่งเป็นผู้ผลิตกลายมาเป็นผู้ซื้อหาไปจากเมือง ทำให้สิ้นเปลืองรายได้อย่างไม่สมควร ผลที่ตามมาก็คือ สังคมชนบทนับวันจะเสียความเป็นอิสระในการดำรงอยู่ กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของเมือง ต้องพึ่งพาเมืองในหลายๆ ด้าน และเงินทองก็กลายเป็นสิ่งสำคัญเหนือความสัมพันธ์ที่เคยเป็นกันเอง และการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน อันเป็นวิถีชีวิตแต่เดิมของท้องถิ่น มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมในที่สุด ดังนั้นการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวิจารณ์สังฆกิจ วัดศรีจันทร์ บ้านนาอ้อ ตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลยขึ้น จึงเป็นการสื่อความหมายของคุณค่าในการมีวิถีชีวิตธรรมดาแบบพื้นบ้านตลอดจนช่วยเสริมสร้างประสบการณ์การศึกษานอกระบบในการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านได้อย่างกว้างขวาง และสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

หมวดหมู่
พิพิธภัณฑ์
สถานที่ตั้ง
อำเภอ เมืองเลย จังหวัด เลย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่