ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 1' 0.1812"
17.016717
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 42' 16.7364"
99.704649
เลขที่ : 169019
พระอัฏฐารศ
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 1426
รายละเอียด
เครื่องมือการจัดเก็บข้อมูล 09 ศิลปวัตถุ ชื่อ พระอัฏฐารศ ที่ตั้ง อยู่ภายบริเวณมณฑปข้างเจดีย์ประธาน วัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ประวัติความเป็นมา พระอัฏฐารศ หมายถึง พระขนาด 18 ศอก เป็นชื่อที่มาจากจารึกหลัดที่ 1 ที่กล่าวถึงพระพุทธรูปองค์หนึ่งในเขตอรัญญิกว่า “พระอัฏฐารศลุกยืน” จึงนิยมนำชื่อนี้มาเรียกพระยืนขนาดใหญ่แบบสุโขทัย พระอัฏฐารศทั้งสององค์ประดิษฐานอยู่ภายในมณฑปที่ขนาบด้านข้างขององค์เจดีย์ประธาน แต่เดิมคงมีหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องครอบอยู่ ความสำคัญ เป็นพระพุทธรูปที่มีความสวยงามตามแบบพุทธศิลปะของสุโขทัย ลักษณะของสิ่งของ เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางประทับยืน สูง 18 ศอก ก่อสร้างด้วยอิฐและปูน มีลักษณะอ่อนช้อย งดงาม มีชีวิตชีวา มีพระพักตร์เรียวรูปไข่ ปราศจากไรศก พระขนงโก่ง พระกรรณยาว พระโอษฐ์เล็กบาง ลักษณะคล้ายยิ้มเล็กน้อย รูปลักษณ์ขององค์กระกอบทั้งส่วนพระพักตร์และพระวรกายแสงดถึงความหมายของพระพุทธเจ้าในอุดมคติที่เปี่ยมด้วยเมตตาและแฝงไว้ซึ้งความสงบอิ่มเอิบในสภาวะ สภาพเศรษฐกิจและสังคม - สถาปัตยกรรม (ยุค) ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 19-20 จัดอยู่ในหมวดพระพุทธรูปที่เรียกว่า หมวดใหญ่ ถือว่าเป็นยุคทองของศิลปะสุโขทัย ลวดลาย การใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน ผู้ครอบครองหน่วยงานที่ดูแล อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
หมวดหมู่
ศิลปวัตถุ
สถานที่ตั้ง
อุทธยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
เลขที่ วัดมหาธาตุ
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
เลขที่ วัดมหาธาตุ
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่