ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 1' 12.576"
17.02016
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 44' 1.32"
99.7337
เลขที่ : 169024
กาบสาดข้าวยาว (พลั่ว)
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 1534
รายละเอียด
เครื่องมือการจัดเก็บข้อมูล 13 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ชื่อ กาบสาดข้าวยาว (พลั่ว) ประเภทและลักษณะ กาบสาดข้าวยาว (พลั่ว) ภาคเหนือเรียกว่า พากไม้ เป็นเครื่องมือสำหรับตักข้าวเปลือกสาดเพื่อแยกเมล็ดข้าว มีรูปร่างคล้ายพาย กาบสาดข้าวยาวจะเหมือนกาบสาดข้าวทั่วไปแต่จะต่างตรงบริเวณท่อนปลาบที่เป็นตัวพลั่วจะมีรูปทรงที่แคบและเรียวยาวกว่า กาบสาดข้าวยาวใช้ตักข้าวเปลือกสาดได้ระยะไกลกว่ากาบข้าวธรรมดา แต่จะตักสาดได้จำนวนน้อยกว่า การเลือกไม้มาทำพลั่วชาวบ้านมักจะเลือกทำจากไม้เนื้ออ่อนเพื่อให้มีน้ำหนัก เบาเช่นไม้มะกอก ไม้สัก ไม้สำหรับทำพลั่วจะมีความยาวประมาณ 2 เมตร กว้างประมาณ 15 -20 เซนติเมตร ตัวแผ่นพายจะทำการเจาะหรือขุดให้เป็นร่องลึก ตัวแผ่นพายมีความกว้างประมาณ 10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 35 เซนติเมตร ตัวด้ามยาวประมาณ 120 เซนติเมตร เหลาให้มีลักษณะกลมเหมือนด้ามพาย ทำจากไม้เนื้อแข็งที่มีน้ำหนักเบา ประวัติความเป็นมา กาบสาดข้าวเป็นเครื่องมือที่ใช้ทำความสะอาดเมล็ดข้าว เพื่อใช้แยกเศษฟางออกจากข้าว เป็นเครื่องมือที่ชาวนาใช้งานหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง - วัสดุที่ใช้ ไม้เนื้ออ่อนเพื่อให้มีน้ำหนัก เบา เช่นไม้มะกอก ไม้สัก เป็นต้น วิธีทำ กาบสาดข้าวยาวใช้ตักข้าวเปลือกสาด เพื่อคัดแยกเมล็ดข้าวเปลือกที่ต้องการ ออกจากเมล็ดข้าวลีบ เศษผง เศษฟาง เศษดินและสิ่งเจือปนอื่นๆ วิธีใช้พลั่ว มือจะจับที่ด้ามพลั่ว ใช้ปลายพลั่วที่เจาะหรือขุดให้เป็นร่องลึก ตักเมล็ดข้าวที่ได้จากการนวดกองรวมอยู่ในลานข้าว สาดขวางทางลม เพื่อให้ส่วนที่ไม่ต้องการปลิวไปตามลม คงเหลือแต่เมล็ดข้าวหล่นอยู่ในลาน หากในขณะนั้น ในกรณีไม่มีลมก็จะใช้พัดวี พัดให้เกิดลมแทนได้ แต่หากขณะนั้นมีลมแรงเกินไปจะไม่เหมาะสำหรับการสาดข้าว เพราะลมจะพัดเอาเมล็ดข้าวเปลือกไปด้วย บทบาทและหน้าที่ ความสำคัญในอดีต - วิธีการเรียนการสอน - ประโยชน์ของภูมิปัญญา การทำความสะอาดเมล็ดข้าว ใช้แยกเศษฟางออกจากข้าว สถานที่ พิพิธภัณฑ์ชาวนา ข้าวตอกพระร่วง เลขที่ 382/1 หมู่ 2 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์ชาวนาข้าวตอกพระร่วง
เลขที่ เลขที่ 382
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายเหล็ง จันทร์ฉาย
เลขที่ เลขที่ 382
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
โทรศัพท์ (055)633350, 087-201
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่