ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 1' 12.576"
17.02016
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 44' 1.32"
99.7337
เลขที่ : 169026
ขอเกี่ยวข้าว
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 1352
รายละเอียด
เครื่องมือการจัดเก็บข้อมูล 13 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ชื่อ ขอเกี่ยวข้าว (ขอฉาย) ประเภทและลักษณะ ขอเกี่ยวข้าว เป็นเครื่องมือของชาวนาชาวไร่ในการสงฟาง สงต้นถั่วในเวลานวด ขอโยงฟางทำจากลำไม้ไผ่ลำเล็ก ๆ มือจับได้รอบ ลำไม้ไผ่จะต้องแก่จัด ตัดไม้ไผ่ยาวประมาณ 2 เมตร หาลำไม้ไผ่ที่มีแขนงโค้ง ๆ และแข็งแรง เพื่อจะได้ดัดเป็นขอใช้สงฟางหรือสิ่งต่าง ๆ ได้ ส่วนแขนงที่แตกออกมาตามข้อไม้ไผ่ข้ออื่น ๆ จะเหลาให้เรียบ เหลือเพียงแขนงที่ทำเป็นขอเท่านั้น เหลาปลายขอสำหรับสงฟางหรือเกี่ยวให้แหลม การที่ทำให้ขอโค้งขอตามความต้องการ ชาวนาจะใช้ขอลนไฟแล้วค่อย ๆ ดัด จนขอไม้ไผ่นั้นโค้งตามต้องการ แขนงไผ่ที่แตกมาตามข้อเพื่อทำเป็นขอ ประวัติความเป็นมา ขอเกี่ยวข้าว มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น ขอโยงฟาง คันฉาย ไม้สงฟาง กระดองหาย ดองหาย หรือดองฉาย เป็นเครื่องมือของชาวนาชาวไร่ในการสงฟาง สงต้นถั่วในเวลานวด ปัจจุบันการใช้ขอเกี่ยวข้าว สำหรับสงฟางไม่ค่อยมีใช้กันแล้ว เพราะมีเครื่องจักรกลทันสมัย พอใส่ฟ่อนข้าวเปลือกลงไป จะแยกเมล็ดข้าวเปลือกออกจากรวงข้าวได้เลย ข้าวเปลือกจะไหลมากองรวมอีกที่หนึ่ง ส่วนฟางข้าวจะปลิวไปกองอีกส่วนหนึ่ง ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง - วัสดุที่ใช้ ไม้ไผ่ วิธีทำ การใช้ขอเกี่ยวข้าว จะใช้ในเวลานวดข้าว หรือนวดถั่ว การนวดในสมัยก่อนจะใช้ควายหลาย ๆ ตัว เดินวนไปตามฟ่อนข้าวหรือฟ่อนถั่ว พอจะคาดคะเนว่าเมล็ดข้าวเปลือกหรือถั่วร่วงหล่นจากรวงมากแล้ว ก็จะใช้ขอเกี่ยวข้าวส่วนเป็นขอสงฟางสงตัวถั่วกลับไปมา เพื่อให้เมล็ดข้าวเปลือกหรือเมล็ดถั่วหล่นมากองที่ลาน หากควายเดินเหยียบจนเมล็ดออกจากรวงหมดแล้ว ก็ใช้ขอเกี่ยวข้าวสงฟางออกให้หมด จะเหลือข้าวเปลือกกองในลานเท่านั้น บทบาทและหน้าที่ ความสำคัญในอดีต - วิธีการเรียนการสอน - ประโยชน์ของภูมิปัญญา เครื่องมือของชาวนาชาวไร่ในการสงฟาง สงต้นถั่วในเวลานวด สถานที่ พิพิธภัณฑ์ชาวนา ข้าวตอกพระร่วง เลขที่ 382/1 หมู่ 2 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์ชาวนาข้าวตอกพระร่วง
เลขที่ เลขที่ 382
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายเหล็ง จันทร์ฉาย
เลขที่ เลขที่ 382
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
โทรศัพท์ (055)633350, 087-201
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่