ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 17° 1' 12.576"
17.02016
Longitude : E 99° 44' 1.32"
99.7337
No. : 169032
เครื่องสีข้าว (สุโขทัย)
Proposed by. ศูนย์ข้อมูลกลาง Date ไม่ระบุ
Approved by. ศูนย์ข้อมูลกลาง Date 30 November 2012
Province : Sukhothai
0 1816
Description
เครื่องมือการจัดเก็บข้อมูล 13 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ชื่อ เครื่องสีข้าว (สุโขทัย) ประเภทและลักษณะ เครื่องสีข้าวโบราณแบบมือหมุน ทำจากไม้เนื้อแข็งและไม้ไผ่สาน ใช้แรงงานแบบคนหมุน เครื่องสีข้าว มีกระบวนการทำคือเอาข้าวเปลือกใส่ข้างบนฝาสีหรือถังหมุน จากนั้นหมุนจากทางด้านขวาไปทางด้านซ้าย ข้าวเปลือกจะถูกสีกะเทาะเปลือกมาอยู่ที่ถาดรองแล้วนำออกไปฝัดกระด้ง เอาเปลือกออก จากนั้นมาคัดข้าวปลายในตะแกรงคัดปลาย ก็จะได้ข้าวกล้องไปหุงได้ ประวัติความเป็นมา - ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง - วัสดุที่ใช้ ไม้เนื้อแข็ง ไม้ไผ่ วิธีทำ การสีข้าวมีวิธีการคล้ายโม่แป้ง เครื่องสีข้าวสานด้วยผิวไม้ไผ่เป็นรูปกระบอก มีขอบสูงทำเป็นถาดรองข้าวกล้อง ส่วนประกอบที่สำคัญ ๕ ส่วน คือ ท่อนฟันบน ท่อนฟันล่าง แกนหมุน ไม้คาน และ คันโยก ท่อนฟันบน สาน ด้วยผิวตอกไม้ไผ่เป็นรูปทรงกลมสูงประมาณ ๕๐ เซนติเมตร วัดเส้นผ่าศูนย์กลางยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ใช้ไม้เนื้อแข็งขนาดไม้แปรขวางเป็นไม้คาน ให้ปลายไม้ทะลุผิวไม้ไผ่ที่สานท่อนฟันบนออกมาข้างละ ๒๕ เซนติเมตร ไม้คานที่โผล่จะเจาะรูให้ทะลุเพื่อให้สลักคันโยก ซึ่งมีเดือยสอดไว้สำหรับโยกให้หมุนไปโดยรอบ ใช้ดินเหนียวอัดให้แน่นพรมด้วยน้ำเกลือเพื่อให้ดินรัดตัวแน่นขึ้น และป้องกันปลวกไม่ให้เข้าไปกัดเครื่องสีข้าวด้วย ตรงศูนย์กลางท่อนฟันบนทำเป็นรูกลวงไว้ เมื่อเทข้าวเปลือกลงไปภายในท่อฟันบน เวลาท่อนฟันบนหมุนข้าวเปลือกจะไหลลงไประหว่างท่อนฟันบนและท่อนฟันล่างซึ่งทำ ขบกันอยู่ ฟันบนและฟันล่างที่ใช้เสียดสีเปลือกข้าวแตกออกจากเมล็ดจะทำด้วยแผ่นไม้แข็ง บาง ๆ สลับกับดินเหนียวคลุกแกลบอัดจนแน่นหลาย ๆ ซี่จนรอบท่อนฟันบนและฟันล่าง ท่อนฟันล่าง สานด้วยผิวตอกไม้ไผ่ทำเป็นถาดขอบสูงรองรับข้าวกล้องที่สีแล้ว เจาะรูให้ไหลลงมาที่กระบุงหรือถังรองรับตรงกลางท่อนฟันล่างอัดดินเหนียว พรมด้วยน้ำเกลือเช่นกัน ทำฐานรองรับฟันล่าง แกนหมุน ทำด้วยไม้แกนหมุนไว้ตรงศูนย์กลางของท่อนฟันล่างอัดดินให้แน่น แกนหมุนจะเป็นเดือยสอดไม้คานที่ขวางไว้ ไม้คาน ทำด้วยไม้เนื้อแข็งขนาดไม้แปร ยาวประมาณ ๒ เมตร ขวางท่อนฟันบนเจาะปลายไม้เมื่อสอดสลัดคันโยก คันโยก ใช้ลำไม้ไผ่โต ๆ ทำเป็นคันโยกมีมือจับเจาะรูปลายไม้คันโยกทำสลักเดือยสอดกับรูไม้คาน บทบาทและหน้าที่ ความสำคัญในอดีต วิธีการเรียนการสอน ข ประโยชน์ของภูมิปัญญา ใช้ในการสีข้าวเปลือกเป็นข้าวกล้อง สถานที่ พิพิธภัณฑ์ชาวนา ข้าวตอกพระร่วง เลขที่ 382/1 หมู่ 2 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
Location
พิพิธภัณฑ์ชาวนาข้าวตอกพระร่วง
No. เลขที่ 382
Tambon เมืองเก่า Amphoe Mueang Sukhothai Province Sukhothai
Details of access
Reference นายเหล็ง จันทร์ฉาย
No. เลขที่ 382
Tambon เมืองเก่า Amphoe Mueang Sukhothai Province Sukhothai
Tel. (055)633350, 087-201
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่