ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 1' 12.576"
17.02016
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 44' 1.32"
99.7337
เลขที่ : 169035
ไซดักกบ
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 3495
รายละเอียด
เครื่องมือการจัดเก็บข้อมูล 13 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ชื่อ ไซดักกบ ประเภทและลักษณะ ไซดักกบจะสานเป็นลายขัดตาสี่เหลี่ยมเล็ก รูปทรงกระบอกขนาดเล็กกว่าไซปลากระดี่ ยาวประมาณ 30 – 40 เซนติเมตร ดักน้ำไหลริน ๆ หรือน้ำนิ่งก็ได้ ใช้ดักกบ อาจใช้เหยื่อ เช่น ลูกปลา หรือลูกปูใส่ล่อไว้ กบจะเข้าไปกินเหยื่อล่อทางช่องงา และไม่สามารถออกมาได้ ประวัติความเป็นมา ไซดักกบเป็นเครื่องมือในการจับกบตามท้องนาชนิดหนึ่ง ซึ่งนิยมใช้กันมากโดยใช้หลักการล่อด้วยเหยื่อ ให้กบหลงกล และตกเข้าไปในตัวไซโดยผ่านทางช่องงา ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง - วัสดุที่ใช้ ไม้ไผ่ วิธีทำ ลักษณะการทำงานของไซดักกบ มีดังนี้ 1. ขั้นตอนการเตรียมวัสดุ ผู้สานไซดักกบต้องเตรียมวัสดุในการสานคือ 1.1 ตอกซั่ง ความยาวประมาณ 60-80 ซม. ลักษณะเส้นเหมือนเม็ดแตงโมตลอดความยาวปลายทั้งสองด้านทำให้เรียวเล็กน้อย เพื่อสะดวกในการทำส่วนคอให้คอดลงมีทั้งหมด 8 เส้น 1.2 ตอกสาน ความไม่จำกัดเส้นเหมือนตอกชั่ง แต่จะมีขนาดเล็กมีความอ่อนตัวกว่า 1.3 ตอกขัดกัน เป็นตอกซึ่งทำด้วยผิวไม้ไผ่ มีขนาดยาวเท่ากับตอก ซึ่งมีไว้สำหรับเป็นฐานในการก่อ มี 2 เส้น 1.4 ตอกสานปาก มีลักษณะเหมือนตอกสาน แต่เล็กกว่ามากใช้สานส่วนที่เป็นปากไซ 2. วิธีการผลิต 2.1 นำตอกซังจำนวน 4 เส้น แต่ละเส้นให้จัดสุดกึ่งกลางไว้ แล้วไปม้วนรอบตอกขัดกัน 1 รอบ จะได้ตอซิ่วเป็นจำนวน 2 เท่า โดยให้จุที่ม้วนของตอกซังห่างกันประมาณ 1 ซม. แล้วใช้ตอกสานมาสานตอกซิ่งทั้ง 8 เส้น สานลายขัดจำนวน 3 เส้นของตอกสาน 2.2 นำตอกซังจำนวนที่เหลืออีก 4 เส้น ทำลักษณะเดียวกันกับข้อ 2.1 จะได้ส่วนของไซแยกจากกัน 2 ด้าน ที่มีลักษณะเหมือนกัน 2.3 นำส่วนที่ได้ตามข้อ 2.2 มาประกบเข้ากัน แล้วนำตอกสานทั้ง 3 เส้นของแต่ละด้านมาสานลายขัดกัน 3 เส้น แล้วใช้ตอกเส้น ๆ มัดไว้ รอบด้านที่เหลือเข้าสานสายขัดอีก 3 เส้น มัดด้วยตอกเหมือนกันกับด้านตรงข้าม ตอกสานด้านละ 3 เส้นนี้ เมื่อสานรวมเข้ากันจะเป็นตอกซังทั้งหมด (12 เส้น) ในขณะที่จะมีตอกซิ่ว ในขณะที่มีตอกซิ่วรวม 28 เส้น และส่วนท้าย (ก้น) ของไซจะมีช่องโหล่ไว้เพื่อประโยชน์ในการนำเอากบออก 2.4 นำตอกสานมาสานตอกซังเป็นลายขัดให้ได้รูปทรงของไซ สานไปถึงแนวที่จะใช้เป็นส่วนคอ (ในขณะที่สานผู้สานต้องดึงตอกสานให้แน่นจะได้รูปร่างตามที่สาน) 2.5 เมื่อสานถึงส่วนที่จะเป็นคอ พยายามถึงตอกสานให้รูปทรงของไซมีลักษณะกิ่วเข้าแล้วใช้กะลามะพร้าวหรือไม้เนื้ออ่อนทำลักษณะเป็นรูปกรวย หรือก้นตอกมาเสียบเข้าส่วนตอกชั่งหรือเหลือจะบานออก 2.6 นำตอกสานปากซิ่วมีขนาดเล็ก สานตอกซังด้วยลายสอง (ยก 2 ข่ม) สานไปเรื่อย ๆ จนเห็นว่าส่วนปากได้ระดับละสวยงามตามความต้องการ 2.7 เมื่อได้ส่วนของปากตามต้องการแล้ว จะม้วนตอกซังในลักษณะเหมือนการม้วนปีกไก่จนรอบแล้วหักหรือตัดตอกซังส่วนที่เหลือทิ้งไป จะได้ใช้ตามที่ต้องการ บทบาทและหน้าที่ ความสำคัญในอดีต - วิธีการเรียนการสอน - ประโยชน์ของภูมิปัญญา ใช้หลักล่อให้กบเข้าไปในไซโดยผ่านงา ซึ่งทำด้วยอาหารหรือเหยื่อที่เหม็นหรือทำด้วยปลาเน่า สถานที่ พิพิธภัณฑ์ชาวนา ข้าวตอกพระร่วง เลขที่ 382/1 หมู่ 2 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์ชาวนาข้าวตอกพระร่วง
เลขที่ เลขที่ 382
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายเหล็ง จันทร์ฉาย
เลขที่ เลขที่ 382
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
โทรศัพท์ (055)633350, 087-201
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่